ตรุษจีน ผัก 7 อย่าง อาหารมงคล เมนูตรุษจีน เมนูมงคล

16 ก.พ. 67 วันชิวฉิก กิน ผัก 7 อย่าง เมนูมงคลหลังวันตรุษจีน

ในไทยเรานั้นนิยมและรู้จักผัก 7 อย่างมากกว่า จากหลักการเลือกผักมาปรุงเป็น ต้มผัก 7 อย่างนั้นล้วนเป็นผักที่มีชื่อเป็นสิริมงคลเป็นหลัก เมื่อปรุงเสร็จแล้วจึงรับประทานเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย

Home / FOOD / 16 ก.พ. 67 วันชิวฉิก กิน ผัก 7 อย่าง เมนูมงคลหลังวันตรุษจีน

วันชิวฉิก กิน ผัก 7 อย่าง

วันชิวฉิก หรือวันรับประทาน “ผัก 7 อย่าง” คือ วันที่ 7 ของเดือน 1 หรือ วันที่ 7 ของเทศกาลตรุษจีนตามปฏิทินจันทรคติของจีน เป็นวันที่กำหนดให้มีการรับประทานอาหารประเภทผัก 7 อย่าง ซึ่งโดยมากจะนำเอาผักต่างๆ มา 7 อย่างมาปรุงแล้วล้อมวงรับประทานกันในครอบครัว หรือบางแห่งจะมีการเปลี่ยนแปรชนิดผักไปบ้าง ตามแต่รสนิยม หรือความเชื่อ หรือผลิตผลในแต่ละท้องถิ่น ด้วยชาวจีนนั้นจะถือว่าเลข 7 เป็นเลขแห่งความมานะอุตสาหะ เลขแห่งความอดทนอดกลั้น หรือเรียกง่ายๆ ว่าเลขแห่งประสบการณ์ความยากลำบากในชีวิตที่ทำให้เรากล้าแกร่งมาเป็นผู้ใหญ่ ที่สมบูรณ์ในทุกวันนี้ บ้างก็จะถือเอาวันที่ 6 เรียกว่า วันรับประทานผัก 6 อย่าง แต่ในไทยเรานั้นนิยมและรู้จักผัก 7 อย่างมากกว่า จากหลักการเลือกผักมาปรุงเป็น ต้มผัก 7 อย่างนั้นล้วนเป็นผักที่มีชื่อเป็นสิริมงคลเป็นหลัก เมื่อปรุงเสร็จแล้วจึงรับประทานเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย

อาหารมงคล

ผักมงคล 7 อย่างผักแต่ละอย่างจะมีชื่อที่มีความหมายในทางที่ดี และเป็นมงคลโดยมากจะประกอบด้วยผักดังนี้

  1. ต้นขึ้นฉ่าย 芹菜 คำว่า “芹” (ฉิน) มีเสียงคล้องจององกับคำว่า “勤” (ฉิน) แปลว่า มีความเพียร อุสาหะวิริยะ และขยันขันแข็ง
  2. ผักโขมจีน 春菜 คำว่า “春” (ชุน) คือ ฤดูใบไม้ผลิ หมายถึง ความสดชื่น มีชีวิตชีวา วันเริ่มต้นชีวิตที่แสนสดชื่น และมีเสียงคล้องจองพ้องกับคำว่า “伸”(เซิน) แปลว่า ยืด หรือยื่น ที่ดึงเข้าไปมีความหมายว่า มีโอกาสยืดหน้า ยืดตากับเขา
  3. เก่าฮะ 厚合 คำว่า “厚” (เก๋า) มีความหมายว่า หนา มาก มากมาย อย่างยิ่งยิ่งใหญ่ เข้ม จัด ส่วนคำว่า“合”(เฮ๋อ) มีความหมายว่า รวม รวมกัน ร่วม ร่วมกัน และ ยังมีเสียงคล้องจองพ้องกับคำว่า “和” (เฮ๋อ) ความหมายว่า สมานฉันท์ รักใคร่กัน ปรองดองกัน เข้าได้หมด ไร้ปัญหา
  4. ต้นกระเทียม “蒜”คำว่า “蒜” (ซ่วน) มีเสียงคล้องจองพ้องกับคำว่า “算” แปลว่า “นับ” คนจีนถือว่าคนนับเลขเป็น ก็จะเป็นพ่อค้าพ่อขาย รู้จักการคิดเลข คิดราคา สินค้าเป็น มีเงินทองให้นับมากมาย จะต้องเป็นคนร่ำรวย 富(ฟู่)
  5. ผักกาดเขียว 大菜 คำว่า “大” (ต้า) มีความหมายว่า ใหญ่โต ยิ่งใหญ่ สื่อความหมายว่า ทำงานก็จะงานในหน้าที่ ที่ได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าคนนายคน ทำการค้า ก็จะได้ทำในกิจการรุ่งเรืองใหญ่โต
  6. หัวผักกาด 萝卜头 ในภาษาพูดแต้จิ๋วจะใช้ว่า “菜头” (หัวไช้เท้า) คำว่า “菜” (ไช่) มีเสียงคล้องจองพ้องกับคำว่า “财” แปลว่า โชคลาภ มีลาภ “คำว่า“头”” (โถว) มีความหมายว่า เป็นหัวหน้า จะได้เป็นเจ้าคนนายคน เป็นผู้นำ
  7. คะน้า甲蓝 คำว่า“甲”(เจี่ย) มีความหมายว่า อยู่ในอันดับที่ 1 จะเปรียบได้เช่นเดียวกับ ก ในภาษาไทย หรือ A ในภาษาอังกฤษ ส่วนคำว่า“蓝” (ล๋าน) มีเสียงเดียวกันกับคำว่า “篮” (ล๋าน) มีความหมายว่า ตะกร้า กระเช้า เมื่อรวมกันแล้วก็จะมีความหมายว่า เป็นที่ 1 ในตะกร้าหรือกระเช้า คำว่า “甲” (เจี่ย) เมื่อนำไปผสมกับประเทศหรือโลก ก็จะแปลว่า ยอดเยี่ยม เป็นที่ 1 ในประเทศหรือในโลก

นับเป็นกุศโลบายทางสุขภาพที่ชาวจีนโบราณคิดค้นขึ้นมาผสานกับความเชื่อในขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมทางอาหารเพื่อให้ เมนูอาหารที่มีกากใยอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอย่างผัก 7 อย่าง ช่วยย่อยอาหาร ขับล้างลำไส้ ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น หลังจากที่บริโภคเนื้อสัตว์มื้อหนักๆ มาอย่างต่อเนื่องในช่วงเทศกาลตรุษจีน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สูตรขนมยอดฮิต วันตรุษจีน ขนมเทียน ขนมเข่ง เสริมมงคล

แจกสูตร ขนมเต่า อังกู๊ ขนมมงคลของชาวจีนฮกเกี้ยน

เริ่มแล้ว ‘ตรุษจีน’ นี้คึกคัก จัดเต็ม ช้อป ชิม ชิลล์ แชะ ถนนสีแดง ไชน่าทาวน์ เยาวราช