ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ อาการ วิธีรักษา และการป้องกัน ติดต่อง่ายกว่าที่คิด!!

ไข้หวัดใหญ่ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า influenza เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (influenzavirus) เป็นโรคที่สามารถระบาดได้ทั่วโลก ซึ่งมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง กลุ่มเสี่ยงที่สุดคือเด็กวัย 0-4 ปี โดยเฉพาะ เด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป,…

Home / HEALTH / ไข้หวัดใหญ่ อาการ วิธีรักษา และการป้องกัน ติดต่อง่ายกว่าที่คิด!!

ไข้หวัดใหญ่ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า influenza เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (influenzavirus) เป็นโรคที่สามารถระบาดได้ทั่วโลก ซึ่งมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง กลุ่มเสี่ยงที่สุดคือเด็กวัย 0-4 ปี โดยเฉพาะ เด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป, หญิงมีครรภ์, ผู้มีโรคเรื้อรังประจำตัว เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่จะมีอาการป่วยมากกว่าผู้อื่น

ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสแบบเฉียบพลัน ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ด้วยกัน โดยสายพันธุ์ A จะมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์ B

 

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่เป็นอย่างไร

องค์การอนามัยโลก แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่

  1. ไวรัสสายพันธุ์ A/H1N1
  2. ไวรัสสายพันธุ์ A/H3N2
  3. ไวรัสสายพันธุ์ B/Victoria
  4. ไวรัสสายพันธุ์ B/Yamagata

การติดต่อไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่จะแพร่เชื้อไวรัสผ่านทางน้ำลายและทางเดินหายใจ เมื่อผู้ติดเชื้อไอ จาม นอกจากนี้เชื้ออาจมีการแพร่โดยตรงจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งจากจมูกหรือการสัมผัสสิ่งต่างๆที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

  • ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1–3 วัน
  • มีไข้สูง 39-40 องศา
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียอย่างมาก
  • ไอแห้งๆ เจ็บคอ คอแดง
  • ปวดกระบอกตา ตาแดง
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก
  • บางรายอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย

การดูแลรักษาไข้หวัดใหญ่

  • เมื่อมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว
  • ถ้ามีน้ำมูกให้ใช้ยาลดน้ำมูกและยาละลายเสมหะ
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ งดการดื่มน้ำเย็น หากมีเสมหะและไอควรดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ จะช่วยให้เสมหะใส ลดอาการระคาย และลดการคัดจมูก
  • รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น ไข่ต้ม ไข่น้ำ ไข่ตุ๋น โจ๊ก ข้าวต้ม แกงจืดวุ้นเส้น ดื่มนมถั่วเหลือง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

กลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่

  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
  • ผู้ป่วยโรคปอด
  • ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย
  • ผู้สูงอายุ
  • เด็กทารก
  • ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ

5 วิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่

  1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด ก่อนรับประทานอาหารเสมอ หรือใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือทุกครั้ง
  2. สวมหน้ากากอนามัย สำหรับผู้ที่ดูแลผู้ป่วยควรจะสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อโรค
  3. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อนอาหาร ควรหมั่นใช้ช้อนกลาง
  4. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ กลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีด ได้แก่ ผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไป, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด วัคซีนจะป้องกันโรคได้ต่อปีเท่านั้น
  5. เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้มีอาการป่วย มีไข้ และเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีคนอยู่จำนวนมากในช่วงที่มีการระบาดของโรค