วัดสังเวช วัดสังเวชวิศยาราม สะพานฮงอุทิศ

วัดสังเวชวิศยาราม  ชมเจดีย์ทรงปรางค์ศิลปะสมัยต้นรัตนโกสินทร์

เที่ยววัดสังเวชวิศยาราม วัดเก่าแก่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ พร้อมชมเจดีย์ทรงปรางศ์ศิลปะสมัยต้นรัชกาลที่ 3 ที่ยังคงความสวยงาม ความเก่าแก่ และประวัติศาสตร์ไว้เพียบ!

Home / กรุงเทพมหานครฯ / วัดสังเวชวิศยาราม  ชมเจดีย์ทรงปรางค์ศิลปะสมัยต้นรัตนโกสินทร์

เที่ยววัดสังเวชวิศยาราม วัดเก่าแก่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ พร้อมชมเจดีย์ทรงปรางศ์ศิลปะสมัยต้นรัชกาลที่ 3 ที่ยังคงความสวยงาม ความเก่าแก่ และประวัติศาสตร์ไว้เพียบ!

วัดสังเวชวิศยาราม 

วัดสังเวชวิศยาราม

วัดสังเวชวิศยาราม เดิมเรียกว่า วัดสามจีน ตามตำนานเล่าว่า ชาวจีน 3 คน ร่วมกันสร้างวัด ต่อมาเรียกชื่อวัดว่า วัดบางลำพูตามชื่อตำบล จนกระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดบางลำพูพระราชทานแก่นักชี พระอัยยิกาของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำพุชฉัตร พระธิดา นักชีเป็นพระมารดาของเจ้าจอมมารดานักองค์อี พระธิดาในสมเด็จพระนารายณ์ราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้บูรณะวัดใหม่ ได้ย้ายพระอุโบสถไปสร้างในสถานที่ตั้งปัจจุบัน ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงโปรดให้นายสุด ปลัดกรมช่างหล่อ บูรณะพระประธานในพระอุโบสถแล้วพระราชทานนามวัดว่า “วัดสังเวชวิศยาราม”

วัดสังเวช

ชาวบ้านย่านบางลำพูมักเรียกสั้นๆ ว่า วัดสังเวช ซึ่งไม่ได้แปลว่า สลดหดหู่ ในคำไทย แต่คำว่า “สังเวช” มาจากภาษาบาลี โดยคำว่า “สํ” แปลว่า พร้อม, ด้วยกัน + “เวช” หรือ “เวค” แปล เร็ว, ด่วน, พลัน ยกตัวอย่างข้อความว่า “อยํ อิตฺถี นิสินฺนา เวเคน นิกฺขมิ” แปลว่า ผู้หญิงคนนี้นั่งแล้วออกไปโดยพลัน โดยนัยนี้ คำว่า “สังเวช/สังเวค” มีความหมายว่า ความรู้สึกตระหนักถึงความรีบด่วนนั่นเอง

วัดสังเวช

จนกระทั่งปีพ.ศ. 2412 วัดสังเวชวิศยารามประสบอัคคีภัย เหลือเพียงพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอระฆังล่าง หอไตรคณะล่าง ศาลาหน้าพระวิหารที่เป็นโรงเรียนปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบัญชาการดับเพลิงที่สะพานข้ามคลองบางลำพู (สะพานฮงอุทิศ) และโปรดให้รื้อพระเมรุที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปสร้างเป็นกุฏิและเสนาสนะต่าง ๆ แล้วโปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาลดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์อาคารเสนาสนะให้สมบูรณ์ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฏิสังขรณ์พระอารามใหม่ทั้งหมด มีปรับปรุงและก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างภายในวัดเพิ่มเติม พร้อมกับมีการสร้างสะพานข้ามคลองบางลำพู จากประตูช่องกุดเดิมเชื่อมต่อถนนทางเข้าวัด ตามที่เห็นในปัจจุบัน

พระอุโบสถ

อุโบสถ
อุโบสถ
วัด
วัดสังเวช
อุโบสถ
อุโบสถ

พระอุโบสถของวัดสังเวชวิศยาราม เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีพาไลด้านหน้าและด้านหลัง หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันปูนปั้นลายดอกไม้จีน ผนังภายในเขียนเป็นลายประแจจีน ดอกไม้ร่วง เพดานล่องชาดลอยดาวฉลุทอง บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ ภายในเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระประธานประจำวัดที่ได้มีการลงรักปิดทอง ฝีมือช่างสมัยทวารวดี ขนาดสูง 3 เมตร หน้าตักกว้าง 4.35 เมตร

อุโบสถ
อุโบสถ
หน้าต่าง
พระวันรัต

สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสกมหาเถร)
อดีตเจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม

อดีตเจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยารามเคยดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ถึงระดับ “สมเด็จ” มาแล้ว….ปี พ.ศ. 2515 พระเดชพระคุณพระธรรมวโรดม พระราชาคณะชั้น หิรัญบัฏ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรด สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสกมหาเถร)

สมเด็จพระวันรัต


เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม ได้บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์แก่ประเทศชาติศาสนา มาเป็นอเนกอนันต์ ได้ดำรงตำแหน่งคณะสงฆ์ที่มีความสำคัญมากมาย ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (18 เมษายน ถึง 1 พฤษภาคม 2518) เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองและสมาชิกสังฆสภา เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นเจ้าคณะใหญ่หนใต้ เป็นเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 12 และภาค 9 เป็นเจ้าคณะกรุงเทพธนบุรี เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ศ.ต.ภ. เป็นประธานกรรมการโรงพยาบาลสงฆ์ เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาศาสนสมบัติกลาง (พ.ศ.ป.) เป็นต้น จากเกียรติประวัติดังกล่าวมา นับเป็นความภาคภูมิใจของคณะสงฆ์ตลอดถึงพุทธศาสนิกชนศิษยานุศิษย์ ของชาววัดสังเวชวิศยารามเป็นอย่างยิ่ง

วัดสังเวช
สะพานฮงอุทิศ

สะพานฮงอุทิศ

พระแม่อุมา
ใบเสมา
พระอุมาเทวี
พระวิหาร
พระสิวลี
หอไตร
พระปางมารวิชัย
หน้าต่าง
หน้าต่าง
หอไตร
พวงมาลัย
หอระฆัง
พระพุทธรูป
พระพุทธรูป
เสมา
เจดีย์ทรงปรางค์

เจดีย์ทรงปรางค์

เจดีย์ทรงปรางค์
เจดีย์ทรงปรางค์

เจดีย์ทรงปรางค์ ภายในวัดสังเวช เป็นศิลปะสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ลักษณะเจดีย์ทรงปรางค์วัดสังเวชฯ ที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน มีจำนวน 9 องค์ เป็นกลุ่มเจดีย์ ที่ตั้งอยู่พื้นที่ระหว่างบริเวณด้านหลังพระอุโบสถกับพระวิหาร ได้รับ การบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง โดยยังคงรักษาและสืบทอดลักษณะรูปแบบเจดีย์ทรงปรางค์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ไว้ค่อนข้างดี การวางตำแหน่งองค์เจดีย์ในลักษณะผังสี่เหลี่ยมสมมาตรอย่างเป็นระเบียบประกอบด้วย เจดีย์ปรางค์ประธานองค์ใหญ่อยู่ตรงกลาง เจดีย์ปรางค์บริวาร จำนวน 8 องค์ ตั้งอยู่บนแนวกำแพงแก้วล้อมรอบเจดีย์ปรางค์ประธาน โดยมีเจดีย์ประจำมุม 4 องค์ เจดีย์ประจำด้าน 4 องค์ นอกจากนี้ยังมีพระวิหารพระศรีอาริยเมตไตรย์ หอพระไตรปิฏก หอระฆัง ให้ได้เที่ยวชม

เจดีย์ทรงปรางค์
เจดีย์ทรงปรางค์
ลวดลายไทย
ลวดลายไทย
ปรางค์
ปรางค์
ปรางค์

บอกเลยว่าถ้ามีโอกาสได้ไปเยือนในเกาะรัตนโกสินทร์ อย่าลืมหาเวลาว่างไปเยี่ยมชมความสวยงามของวัดสังเวชวิศยาราม เพื่อกราบไหว้ขอพรพระประธานประจำวัด เพิ่มความเป็นสิริมงคลให้แก่ตัวเองและครอบครัว

ภาพโดย MTHAI TEAM

ที่ตั้ง : 110 ซอย สามเสน 1 แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 

Google map : https://goo.gl/maps/ZKEpN56YNzqx1QkC9 

เวลาเปิด – ปิด : 06.00- 21.00 น.

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

จัดทริปมู วัดสุทัศนเทพวราราม ตำนานความศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร วัดสุดท้ายในรัชกาลที่ 4

พระแม่อุมาเทวี เทพแห่งความสมบูรณ์ หนึ่งใน 8 เทพราชประสงค์