ล่าสุด
- ประเทศไทยสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 จาก sinovac เพิ่มเติม จำนวน 2 ล้านโดส โดยจะเริ่มส่งมอบกันในเดือน ก.พ. นี้
- วัคซีนของ AstraZeneca จะส่งมอบให้กับไทย ในช่วง พ.ค. 64 จำนวน 26 ล้านโดส และอยู่ในระหว่างการเจรจาขอซื้อเพิ่มอีก 35 ล้านโดส รวม 63 ล้านโดส
ท่ามกลางกระแสของการระบาดไปทั่วโลก ของโควิด-19 และยังคงระบาดรุนแรงในอีกหลายประเทศในขณะนี้ ซึ่งหลายประเทศกำลังเผชิญการระบาดในระลอกใหม่หลังจากเข้าสู่ฤดูหนาวในระยะนี้
วัคซีนโควิด-19 จึงเป็นเหมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์ที่หลายประเทศยังคงมุ่งเป้าหมาย และเร่งในการค้นคว้า วิจัย ทดสอบ รวมถึงการจัดหาวัคซีนอย่างเร่งด่วน เพื่อให้มีวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนในประเทศ เพื่อหวังจะลดระดับความรุนแรง อัตราการระบาด และผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 นี้ไปให้เร็วที่สุด
วัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก
วัคซีนโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังเดินหน้าเร่งค้นคว้า วิจัยกันอยู่ในขณะนี้ ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก ในขณะนี้ มีวัคซีนที่กำลังอยู่ในกระบวนการทดลอง-ทดสอบอยู่ทั้งสิ้น 214 รายการ โดยมี 60 รายการที่เข้าสู่การทดลองทางคลินิก หรือมมีการทดสอบในมนุษย์แล้ว ที่เหลืออีก 172 รายการยังอยู่ในขั้นทดลองในแล็บส์ หรือการทดลองในสัตว์
จากจำนวนวัคซีนที่มีการทดลองในมนุษย์ทั้งหมด มี 13 รายการที่อยู่ในการทดลองในมนุษย์ขั้นสุดท้าย ซึ่งในจำนวนนี้ มีการอนุมัติให้มีการใช้งานจริงแล้ว 5 รายการด้วยกันคือ
- วัคซีนโควิด-19 ของ Pfizer – BioNTech
(ประสิทธิภาพ 95% – ฉีดจำนวน 2 โดสห่างกัน 21 วัน) - วัคซีนของบริษัท Moderna
(ประสิทธิภาพ 94% – ฉีดจำนวน 2 โดสห่างกัน 28 วัน ) - วัคซีนของบริษัท AstraZeneca
(ประสิทธิภาพ 62-90% – ฉีดจำนวน 2 โดสห่างกัน 28 วัน) - Beijing Institute of Biological Products
(ประสิทธิภาพ 79% – ฉีดจำนวน 2 โดส) - Sinovac, จีน
- (ประสิทธิภาพ 79% – ฉีดจำนวน 2 โดสห่างกัน 21 วัน)
5 ชนิดที่มีการอนุญาตให้มีการใช้งานในวงจำกัด ประกอบไปด้วย
- Sputnik V, รัสเซีย
(ประสิทธิภาพ 92% – ฉีดจำนวน 2 โดสห่างกัน 14-21 วัน) - BEKTOP, รัสเซีย
- CanSinoBIO ของจีน
- Wuhan Institute of Biological Products, จีน
ในขณะที่วัคซีนโควิด-19 ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ และบริษัท CSL ในออสเตรเลีย ต้องยุติการพัฒนา หลังจากที่เข้าสู่การทดสอบในมนุษย์ แล้วพบว่า วัคซีนดังกล่าวส่งผลให้ผู้ทดลองสร้างภูมิคุ้มกันคล้ายกับภูมิคุ้มกันเชื้อ HIV ทำให้เกิดผลบวกลปลอมเมื่อมีการตรวจ HIV ซึ่งผู้ทดสอบไม่ได้ติดเชื้อ HIV แต่อย่างใด ทำให้ทางรัฐบาลต้องสั่งยุติการพัฒนาวัคซีนดังกล่าวไป
| What We Know : วัคซีนโควิด-19 โดย SinoVac >>
วัคซีนโควิด-19 ของไทย
สำหรับวัคซีนโควิด-19 ของไทยในขณะนี้ มีด้วยกัน 2 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนแรกที่รัฐบาลสั่งซื้อจาก AstraZeneca โดยเป็นการสั่งซื้อล็อตแรก 30 ล้านโดส เพื่อใช้กับกลุ่มเสี่ยงจำนวน 15 ล้านคน และเป็นการสั่งซื้อวัคซีน ร่วมกับเทคโนโลยี-องค์ความรู้ ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถผลิตวัคซีนชนิดนี้ใช้งานเพิ่มเติมได้ โดยมีบริษัทสยามไบโอไซน์ เป็นผู้รับหน้าที่ในการผลิตใช้งานต่อไป
ส่วนการคิดค้น-วิจัยเพิ่มเติม ของไทยเองล้วน ๆ นั้นในขณะนี้ จะมีอยู่ 2 รายการด้วยกันคือ
- องค์การเภสัชกรรม ร่วมกับ Dynavax และ PATH ซึ่งในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทดลองในห้องทดลอง กับสัตว์
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด โดยมีกำหนดทดลองในมนุษย์ ระยะที่ 1 ในช่วงกลางปี 2564
ดังนั้นในขณะนี้ สถานะวัคซีนในประเทศไทยจึงเป็นการซื้อมาใช้งาน ควบคู่กับการพัฒนาร่วมไปด้วยในประเทศ
| What We Know : วัคซีนโควิด-19 ของ AstraZeneca ที่ไทยสั่งซื้อ >>
ซึ่งในขณะนี้ รัฐบาลไทยได้สั่งวัคซีนเพิ่มเติมจาก
- ShinoVac อีก 2 ล้านโดส สามารถส่งมอบได้ในช่วง ก.พ. – เม.ย. นี้
- สั่งซื้อเพิ่มจาก AstraZeneca อีก 35 ล้านโดส
กำหนดการในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ในประเทศไทย
- ต้นเดือน ก.พ. – จะทดสอบและเสนอ อย. อนุมัติใช้งานวัคซีน พร้อมรับวัคซีนโดสแรกจำนวน 2 แสนโดส
- กลางเดือน ก.พ. – เริ่มให้วัคซีนกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรกก่อน โดยจะเป็นวัคซีนจาก sinovac
- เดือน มี.ค. – ฉีดวัคซีนโดสที่สองให้กับกลุ่มแรก ร่วมกับการฉีดเข็มแรกให้กับกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมในพื้นที่เสี่ยง
- เดือน เม.ย. – ฉีดวัคซีนเพิ่มอีก 1 ล้านโดส โดยโดส 2 สำหรับกลุ่มที่ได้รับโดสแรกไปแล้ว พร้อมกับโดสแรกในกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติม
- เดือน พ.ค. – วัคซีนซีนจากของ AstraZeneca จะมีการส่งมอบและเริ่มฉีดให้กับประชาชน
กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับวัคซีนในล็อตแรก
- บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง เบาหวาน
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
- เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด 19 เช่น อสม. ทหาร ตำรวจ ที่จะต้องคัดกรองผู้ที่เข้ามาจากต่างประเทศ และในพื้นที่ที่มีการระบาด
โดยเริ่มในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี จันทบุรี ระยอง และตราด ฉีดคนละ 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน
ประเทศที่มีการใช้วัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชน
จากวัคซีนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในขณะนี้จึงมีหลายประเทศที่เริ่มประกาศใช้งานวัคซีนในวงกว้างกับประชาชนทั่วไปแล้ว โดยเป็นการให้วัคซีนกับประชาชนกลุ่มเสี่ยงแล้วในบางประเทศ คือ
อังกฤษ
ถือได้ว่าเป็นประเทศแรกในโลก ที่มีการอนุมัติให้มีการใช้งานวัคซีนโควิด-19 โดยวัคซีนที่มีการอนุมัติใช้งานนั้นเป็น วัคซีนของ Pfizer – BioNTech และของ Oxford- AstraZeneca ซึ่งทางการอังกฤษได้สั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 จาก Pfizer- BioNTech ไปแล้ว 40 ล้านโดส สำหรับประชาชน 20 ล้านคน ที่จะได้รับวัคซีน โดยจะฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยงก่อนเป็นลำดับแรก และได้จัดเตรียมซื้อของ AstraZeneca สำหรับประชากรอีก 50 ล้านคน
ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ว่าคือ กลุ่มผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข-บุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ที่มีโอกาสเสียชีวิตสูง และหลังจากนั้นจึงจะเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป
สหรัฐฯ
สหรัฐฯ นับเป็นประเทศที่สองที่มีการอนุมัติให้มีการใช้วัคซีนโควิด-19 เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งทันทีที่ได้มีการอนุมัติให้ใช้งานก็มีการจัดส่งวัคซีนไปยังสถานพยาบาลหลายแห่งทั่วประเทศ โดยทาง Pfizer-BioNTech จะส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ให้กับสหรัฐฯ ราว 20 ล้านโดส ภายในสิ้นเดือนนี้
นอกจากนี้ ทางการสหรัฐฯ ยังได้อนุมัติใช้งานวัคซีนโควิด-19 ของ Moderna แล้ว ซึ่งคาดว่าจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เป็นความหวังของสหรัฐฯ เนื่องจากอัตรการระบาดอย่างหนักในระลอกที่ 3 นี้
ซึ่งในขณะนี้ มี 2 ประเทศที่มีวัคซีนฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในประเทศ ส่วนที่เหลือยังคงเป็นการอนุมัติใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน – ในวงจำกัด และยังคงเป็นการทดสอบในระยะที่ 3
จีน
สำหรับในประเทศจีน มีอาการอนุมัติใช้งานวัคซีนแล้วจำนวน 3 ตัวคือ
- CoronaVac ของบริษัท Sinovac
- วัคซีนโควิด-19 ของ Wuhan Institute of Biological Products ร่วมกับ Sinopharm
- BBIBP-CorV ของ Beijing Institute of Biological Products ร่วมกับ Sinopharm
ซึ่งในส่วนของวัคซีนป้องกันโควิด-19 BBIBP-CorV ของ สถาบันผลิตภัณฑ์ทางชีววิทยาปักกิ่ง (Beijing Biological Products Institute) สังกัดกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติจีน (CNBG) ในเครือซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ได้รับการอนุญาติให้ใช้งานและจัดจำหน่ายได้แล้ว ในแบบกำหนดเงื่อนไข
ในขณะนี้มณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกของจีน ได้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนกลุ่มสำคัญ เช่น ผู้ที่ทำงานในโลจิสติกส์, จนท.ด้านสาธารณสุข, เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเป็นต้น จำนวนกว่า 85,000 รายแล้ว
รัสเซีย
ประเทศรัสเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการให้วัคซีน Sputnik V ซึ่งเป็นวัคซีนโควิด-19 ของทางการรัสเซีย ที่ในช่วงระยะแรกดูจะเป็นวัคซีนที่มีความก้าวหน้ารวดเร็ว มีการใช้ในกรณีฉุกเฉินร่วมกับการทดสอบในระยะที่ 3 ควบคู่กันไป
แต่ในขณะนี้ วัคซีนตัวนี้ของรัสเซียกำลังประสบปัญหาในเนื่องจากวัคซีนทั้ง 2 โดสนั้นมีความแตกต่างกันไปในไลน์ผลิต ส่งผลต่อการผลิตจำนวนมาก ๆ รวมทั้งหลายประเทศยังคงกังขาในผลการทดลองที่เกิดขึ้นอยู่
ซึ่งในขณะนี้นักวิจัยของ Astrazeneca และรัสเซีย กำลังอยู่ในการทดสอบร่วมกันโดยใช้วัคซีนของทั้ง Sputnik V ของรัสเซีย ร่วมกับ วัคซีนโควิด-19 ของ Astrazeneca เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น
อิสราเอล
หลังจากที่วัคซีนของบริษัท Pfizer- BioNTech มีแนวโน้มประสบความสำเร็จ ทางอิสราเอลได้มีการสั่งซื้อวัคซีนจำนวน 8 ล้านโดส ในล็อตแรกสุดของไฟเซอร์
ซึ่งทาง Pfizer- BioNTech ได้จัดส่งวัคซีนโควิด-19 ให้กับทางอิสราเอลตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ธ.ค. 63 ที่ผ่านมา เพื่อทดสอบการใช้งาน และหลังจากนั้น ในช่วงราววันที่ 20 ธ.ค. ที่ผ่านมา ทางการอิสราเอล ก็ได้เร่งฉีดวัคซีน ให้กับประชาชนในประเทศ
โดยในช่วง 11 วัน อิสราเอลสามารถฉีดวัคซีนให้กับประชาชนแล้วเกือบ 8 แสนราย หรือวันละเกือบ 1 แสนราย
ซึ่งอิสราเอลตั้งเป้าหมายว่า ภายในวันที่ 2 ม.ค. 64 จะฉีดให้ได้ 9 แสนคน คิดเป็น 10% ของจำนวนประชากรในประเทศ
นอกจากนี้ อิสราเอลยังสั่งซื้อ วัคซีนโควิด-19 จาก Astrazeneca อีกราว 6 ล้านโดส ในต้นปี 2021 นี้ด้วย
รัสเซีย ได้มีการเริ่มฉีดวัคซีนให้กับประชาชนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แล้ว
ชนิดของวัคซีน
ในกรรมวิธีของเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคนั้น มีจะมีการพัฒนาวัคซีนวิธีการด้วยกันที่ใช้ในการสร้างวัคซีนโควิด-19 ที่มีการทดลอง ค้นคว้าวิจัยกันอยู่นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ คือ
mRNA
วัคซีนชนิดนี้ เป็นแนวทางใหม่ที่ทั่วโลกเพิ่งมีการนำมาใช้ในการผลิตวัคซีคเนื่องจากทำได้ง่าย และรวดเร็ว โดยใช้ชิ้นส่วนของ RNA ของไวรัสโคโรนา สายพันธ์ุใหม่ 2019 มาทำเป็นวัคซีน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกัน
ซึ่งการสร้างวัคซีนโควิด-19 ในขณะนี้ มีวัคซีนที่ใช้ใช้วิธีการนี้ 7 แคนดิเดตด้วยกัน
Inactivated Virus
วัคซีนชนิดนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งคือ วัคซีนชนิดเชื้อตาย คือการเอาเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธ์ุใหม่ 2019 มาทำให้ตาย และใช้เป็นวัคซีน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นวิธีที่ง่ายแต่จำเป็นต้องมีความปลอดภัยสูงมาก ในการเพาะเชื้อ เพราะเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธ์ุใหม่ 2019 นี้เป็นเชื้อใหม่ ทำให้ต้องมั่นใจในความปลอดภัยมากขึ้น
ซึ่งการสร้างวัคซีนโควิด-19 ในขณะนี้ มีวัคซีนที่ใช้ใช้วิธีการนี้ 7 แคนดิเดตด้วยกัน
Protein subunit
เป็นการนำเปลือกของเชื้อไวรัสที่เป็นโปรตีน หรือ Spike protein ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มีความสามารถในการแพร่เชื้อ มาใช้ในการทำวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
ซึ่งการสร้างวัคซีนโควิด-19 ในขณะนี้ มีวัคซีนที่ใช้ใช้วิธีการนี้ 18 แคนดิเดตด้วยกัน
Viral Vector
เป็นการนำเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆ ให้อยู่ในสภาวะที่ไม่ก่อให้เกิดโรค นำมาตัดต่อใส่สารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ลงไปแทน และนำไวรัสที่ได้รับการตัดต่อนี้ ฉีดกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
ซึ่งการสร้างวัคซีนโควิด-19 ในขณะนี้ มีวัคซีนที่ใช้ใช้วิธีการนี้ 16 แคนดิเดตด้วยกัน (VVnr 8 candidates, VVr 8 candidates)
Live Attenuated
เป็นการนำเชื้อไวรัสมาทำอ่อนฤทธิ์ลง อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่ยังคงมีปริมาณที่เพียงพอต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน มีวัคซีนที่ใช้ใช้วิธีการนี้ 1 แคนดิเดต
Virus Like Particle
เป็นการนำโปรตีนของไวรัสมาประกอบโครงสร้างให้คล้ายคลึงกับไวรัส และใช้กระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีวัคซีนที่ใช้ใช้วิธีการนี้ 2 แคนดิเดต
ผลข้างเคียงของวัคซีน
ในบรรดาวัคซีนที่มีการฉีดให้กับประชาชนในหลายประเทศในขณะนี้ หลังจากที่มีการฉีดจำนวนมากขึ้น รายงานการมีผลข้างเคียง ก็เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นโอกาสที่พบเห็นได้ตามปรกติ เช่นเดียวกับวัคซีนโรคอื่น ๆ ที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ก็ยังคงมีรายงานผลข้างเคียงได้เช่นกัน
อาการข้างเคียงของวัคซีนทุกตัวในขณะนี้
ในขณะนี้วัคซีนโควิด-19 ที่มีการใช้งานกันมีรายงานผลข้างเคียงหลายประเทศใกล้เคียงกัน เช่น ปวด-บวม บริเวณที่ได้รับวัคซีน, มีอาการอ่อนเพลีย, มีไข้ต่ำๆ หรือปวดศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดขึ้นนี้ มีรายงานพบใน “วัคซีนโควิด-19 ทุกตัว” ที่มีการฉีดให้กับประชาชนแล้ว ซึ่งเป็นอาการเบาทั้งสิ้น
นอร์เวย์ – มีรายงานผู้ที่ได้รับวัคซีนจำนวน 29 ราย มีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรง รวมถึงในจำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิตจากการได้รับวัคซีนจำนวน 13 ราย จากจำนวนผู้ได้รับวัคซีน 3 หมื่นราย (ทั้งของ Pfizer และ Moderna) ในผู้ที่มีอาการข้างเคียงรุนแรงส่วนใหญ่ เป็นการปวด ไม่สบายและมีไข้อย่างสูง รวมถึงอาการป่วยบริเวณที่ฉีดวัคซีนอย่างมาก
ทางการนอร์เวย์ ได้ปรับเปลี่ยนคำแนะนำ โดยให้พิจารณาความพร้อมของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
สหรัฐฯ มีรายงานการพบผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 จำนวน 6 รายที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง (จากผู้รับวัคซีนทั้งหมดกว่า 2.7 แสนราย) โดยคาดว่า อาการแพ้นั้นจะเกิดจาก สารประกอบโพลิเอทิลีนไกลคอล หรือ พีอีจี (PEG)
ในการทดสอบพบว่า มีผู้ป่วยบางรายมีอาการของโรคใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก จำนวน 4 ราย มีอาการคือ มีอาการเปลือกตาและมุมปากตกลง ทำให้ไม่สามารถควบคุมตาและปากได้ตามปรกติ เนื่องจากระบบเส้นประสาทมีอาการอักเสบ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของอาการของโรคนี้ จะมาจากการติดเชื้อไวรัส แต่ยังคงไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนมากนักว่ามาจากไวรัสทั้งหมดหรือไม่
อิสราเอล หลังจากที่มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วพบว่า มีประชาชนราว 1 ใน 1000 หรือประมาณ 650 ราย จากจำนวนผู้ที่ฉีดไปแล้วกว่า 650,000 ราย
โดยแบ่งเป็นมีอาการเล็กน้อย เช่น มีอาการไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ท้องเสีย บางส่วนมีอาการบวมแดง ซึ่งในจำนวนทั้งหมด มีราว 50 ราย ที่มีการขอเข้ารับการดูแลจากแพทย์ แต่ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยอาการรุนแรงแต่อย่างใด
เช่นเดียวกันที่ สก็อตแลนด์ ก็มีรายงานผู้ข้างเคียงเล็กน้อย เช่น ตึงที่บริเวณที่ได้รับการฉีดวัคซีน, ปวดศรีษะ, ปวดเมื่อยตามตัว, รู้สึกเพลีย รวมถึงบางรายมีไข้ต่ำ ๆ
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนตัวใดก็ตาม เมื่อมีการใช้งานในประชาชนกลุ่มใหญ่ ก็จะพบอาการข้างเคียงได้ เป็นเรื่องปรกติที่เกิดขึ้นได้ แม้ในวัคซีนที่มีการใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ที่ผ่านมาพัฒนาต่อเนื่องมาหลายปี และฉีดให้กับประชาชนหลายล้านคนทั่วโลก
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนจากทั้ง Pfizer-BioNTech, Oxford-AstraZeneca หรือ ตัวอื่น ๆ แม้ว่าจะมีการอนุมัติให้ใช้งานแล้ว ก็ยังคงต้องมีการประเมิน ติดตามผลถึงประสิทธิภาพของวัคซีนต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในต่างประเทศ
ม.ค. – เม.ย. 63 – ช่วงเริ่มต้น
คณะกรรมการสาธารณสุขและสุขภาพแห่งชาติจีน ประกาศว่าจะพัฒนาวัคซีน ตั้งแต่ในช่วงปลายเดือน ม.ค. 2563 เป็นชาติแรก พร้อมลงทุนในการพัฒนาวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ WHO เริ่มติดต่อ-ประสานงานกันประเทศต่าง ๆ เพื่อร่วมลงทุนใน COVAC เพื่อร่วมกันลงทุนค้นคว้าวิจัยวัคซีนโควิด-19
หลังจากนั้นในช่วง ก.พ. 2563 บริษัท Moderna ในสหรัฐฯ ได้เสนอของทดสอบวัคซีนโควิด-19 ซึ่งในช่วงเวลานั้น มีราว 20 ชนิดที่กำลังเร่งพัฒนาอยู่ทั่วโลก และหลายประเทศหลายหน่วยงาน ก็ได้เริ่มลงทุนในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19
จนกระทั่งในช่วงปลายเดือน มี.ค. 63 Johnson & Johnson ประกาศทดสอบวัคซีนในมนุษย์เป็นครั้งแรก และต่อมาในช่วงปลายเดือน เม.ย. 2563 ได้มีการฉีดวัคซีนในมนุษย์เป็นครั้งแรกในยุโรป เพื่อทดสอบวัคซีน
พ.ค. – ส.ค. 63 – ช่วงเริ่มทดสอบในมนุษย์
ผลการทดสอบวัคซีนที่ได้เริ่มต้นทดสอบในมนุษย์ หลายตัวเริ่มมีรายงานผลการทดสอบออกมา โดยส่วนใหญ่พบว่า มีผลดี และมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะทดสอบต่อในขั้นถัดไป ซึ่งทั้ง Pfzer-BioNTech, Oxfords-AstraZeneca, Moderna ฯลฯ ส่วนใหญ่เริ่มเข้าสู่การทดสอบในมนุษย์
และหลายๆ ประเทศก็ได้เริ่มลงทุนและทำสัญญาจองซื้อวัคซีนในหลายๆ ตัวที่มีแนวโน้มมีความสำเร็จ เช่น Pfizer-BioNTech, AstraZeneca
ในช่วงต้นเดือน ส.ค. 63 รัสเซีย ประกาศอนุมัติใช้งานวัคซีนโควิด-19 เป็นการฉุกเฉินเป็นชาติแรก ๆ ให้กับกลุ่มเสี่ยง ตามมาด้วยในช่วงปลายเดือน AstraZeneca เปิดทดสอบวัคซีนในกลุ่มใหญ่ในอาสาสมัครกว่า 3 หมื่นราย
ก.ย. – ธ.ค. 63 – ช่วงเริ่มใช้งานจริง
ซึ่งเป็นช่วงปลายปีที่ผ่านมา มีวัคซีนราว 6 ชนิด ที่ได้เข้าสู่การทดสอบในมนุษย์ ในระยะที่ 2-3 ทั้ง AstraZeneca-Oxfords, Pfizer – BioNTech, sinovac ตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ก.ย. 63
ทำให้ในช่วงเดือน ต.ค. 63 เข้าสู่ช่วงการสรุปผลการทดสอบวัคซีนหลาย ๆ ตัว ทำให้พอเข้าสู่ช่วงเดือน พ.ย. 63 ทำให้รายงานผลการทดสอบวัคซีนของ Pfizer-BioNTech ได้สรุปประสิทธิภาพสูงถึง 90% ตามด้วย Moderna, Sputnik V ที่ล้วนแล้วแต่รายงานผลประสิทธิภาพสูงกว่า 90%
ทำให้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในหลายประเทศต่าง ๆ เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งถือว่า เป็นหนึ่งในการพัฒนาวัคซีนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยใช้เวลาไม่ถึง 1 ปีก็มีวัคซีนโควิด-19 มาใช้งานกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19
◾️ฉีดวัคซีนแล้ว ปลอดภัย ไปไหนก็ได้
สำหรับการฉีดวัคซีนนั้น จะได้ผลดี ปลอดภัยนั้นจะต้อง ฉีดให้ครบทั้ง 2 เข็ม และร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงพอจะป้องกัน หรือต่อต้านเชื้อโควิด-19 ได้ หากเราได้รับวัคซีนเข็มแรกเพียงเข็มเดียว ยังไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นให้ป้องกันโควิด-19 ได้เต็มที่
ดังนั้นหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว ก็ยังจำเป็นจะต้องมีมาตรการป้องกันอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น การสวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่างเช่นเดิม
◾️ถ้ามีวัคซีนแล้ว โควิด-19 จะหมดไป
เป็นการเข้าใจที่ “ผิด” วัคซีนไม่ได้มีหน้าที่ “กำจัดโรค” หรือ “กำจัดเชื้อโรค” ให้หมดไปแต่อย่างใด แต่วัคซีนเป็นการทำให้ร่างกายของเรา “สามารถป้องกัน” โรคได้ หากเปรียบเทียบง่าย เหมือนกับการที่เรามีเสื้อกันฝน แต่ไม่ได้หมายความว่า ฝนจะหมดไป หรือ เราไม่เปียกฝน วัคซีนก็เช่นกัน
- ช่วย “ลด” ความรุนแรงของโรค ให้มีความอันตรายต้องลง เนื่องจากร่างกายเรามี “ภูมิคุ้มกัน” แล้ว
- ช่วย “ลด” การระจายของโรค เนื่องจากเมื่อเรามีภูมิคุ้มกัน ก็จะทำให้ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรคออกได้เร็วขึ้น ดีขึน ทำให้การระบาดน้อยลง
ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่, โรคหัด ฯลฯ ที่ในอดีตเคยคร่าชีวิตคนไปเป็นจำนวนมาก หลังจากที่มีวัคซีนแล้วก็ทำให้อัตราย/ความรุนแรง ลดลง จนในปัจจุบันทุกคน ไม่ได้กลัวไข้หวัดใหญ่อีกต่อไปแล้ว ดังนั้น การมีวัคซีนจึงไม่ได้ทำให้โควิด-19 หมดไป แต่จะลดความรุนแรงของโรคลงไป
◾️ถ้ามีวัคซีนแล้ว จะไม่ติดโควิด-19
เป็นการเข้าใจที่ “ผิด” เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ก็ยังคงอยู่ เมื่อเรา รับเชื้อ ก็มีโอกาสที่จะติดโควิด-19 ได้เช่นกัน แต่ระดับความรุนแรงจะถูกลดลงไป จนอยู่ในระดับที่หายได้เอง และไม่อันตราย หรือลดโอกาสการแพร่เชื้อลง
ซึ่งในขณะนี้ มีตัวอย่างแล้วเช่นในสหรัฐฯ ที่มีการพบผู้ที่ได้รับวัคซีน ตรวจพบเชื้อในร่างกาย (ผลตรวจหาเชื้อเป็นบวก)
◾️ถ้าฉีดวัคซีนแล้ว ไม่ต้องใส่หน้ากากอนามัย
“ผิด” – เนื่องจากในข้อที่ผ่านมา แม้ว่าเราจะฉีดวัคซีนไปแล้ว ก็ยังคงมีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้น การป้องกันเบื้องต้นก็ยังคงจำเป็นอยู่เช่นเดิม หากไม่อย่างเสี่ยงที่จะติดเชื้อเพิ่ม
◾️ถ้าฉีดวัคซีนแล้ว จะป้องกันโควิด-19 ได้ตลอดไป
“ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน” – เนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาราว 1 ปีที่ผ่านมา และวัคซีนโควิด-19 ก็เพิ่งค้นพบได้ไม่นาน ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาประสิทธิภาพหลังจากการได้รับวัคซีนแล้วอยู่เช่นกัน
ดังนั้น ในขณะนี้จึงยังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะระบุว่าได้ วัคซีนโควิด-19 ได้รับนั้นจะสามารถป้องกันได้นานเท่าใด แต่อย่างไรก็ตาม ก็เพียงพอในการป้องกันการระบาดที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ได้เป็นอย่างดี
◾️ถ้าฉีดวัคซีนแล้ว ไม่ปลอดภัย เพราะผลิตมาเร็วมาก
“ผิด” – แม้ว่า วัคซีนโควิด-19 จะสามารถคิดค้น ผลิตได้รวดเร็วมาก แต่ก็มีความปลอดภัยมากเพียงพอ เนื่องจากการทดสอบต่าง ๆ ยังคงอยู่ในระบบมาตรฐานเช่นเดียวกับวัคซีนอื่น ๆ
ส่วนความเร็วที่เกิดขึ้นในการผลิตนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการลดขั้นตอนทางเอกสารเช่น เมื่อเข้าทดสอบในระยะที่ 1 ก็มีการเตรียมเอกสาร-ขั้นตอนต่าง ๆ รอไว้ถึงระยะที่ 3 แล้ว รวมถึงการเร่งรัดขั้นตอนในการอนุมัติ – ตรวจสอบข้อมูล ที่รวดเร็วขึ้น
อีกส่วนหนึ่งมาจากเทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถคาดการณ์ – ช่วยเหลือการทำงานได้เร็วขึ้นมากกว่าในยุคที่ผ่านมา
◾️ถ้าเคยป่วยเป็นโควิด-19 แล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
“ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจน” – แม้ว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายแล้วจะมีภูมิคุ้มกันแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากยังเป็นโรคใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ทำให้ยังคงต้องอยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม รวมถึงโอกาสการติดเชื้อซ้ำ ที่ยังมีรายงานพบในผู้ป่วยบางราย และสาเหตุยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษา
แต่จากการที่ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยแล้วมีภูมิคุ้มกัน จึงทำให้การได้รับวัคซีนมีความสำคัญน้อยลง เพราะการรับวัคซีนนั้น คือการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายผู้ที่ไม่เคยป่วยมาก่อนนั้นเอง
ดังนั้นในประเด็นนี้จึงยังคงต้องอยู่ในการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
ข่าวลืออื่น ๆ ที่พบในประเทศที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนแล้ว ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่เป็นความจริง เช่น
- การฉีดวัคซีนจะทำให้ DNA ของคนเราเปลี่ยนไป (ไม่จริง เพราะ mRNAเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็ก ๆ แค่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภุมิคุ้มกันเท่านั้น จึงมีความปลอดภัยเพียงพอ)
- ในวัคซีน มีเครื่องติดตามตัวขนาดเล็ก – ไม่จริง เทคโนโลยีเหล่านี้ ยังคงพบในภาพยนตร์ไซไฟเท่านั้น
- การฉีดวัคซีนโควิด-19 ทำให้มีบุตรยาก – ในขณะนี้ยังไม่มีผลการทดสอบยืนยัน หรือข้อบ่งชี้ใด ๆ ที่จะยืนยันในข้อเท็จจริงนี้ได้
- การฉีดวัคซีน เป็นเพียงเกมการเมืองเท่านั้น – ผิด เพราะในการทดสอบ-ทดลองนั้น เป็นไปตามขั้นตอนและผลการทดสอบยืนยัน ประสิทธิภาพแล้ว จึงมีการอนุมัติ และรับรองการใช้งาน
- การฉีดวัคซีนทำให้เป็น ออทิสติก – ผิด เพราะวัคซีนไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ก็ป้องกันได้ – ผิด รถยนต์ดีเซลไม่สามารถใช้น้ำมันเบนซิลได้ฉันใด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ฉันนั้น เนื่องจากเป็นเชื้อคนละชนิดกัน
- วัคซีนโควิด-19 ทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ – ผิด เพราะส่วนประกอบของวัคซีนส่วนใหญ่ เป็นน้ำ และมีส่วนประกอบอื่นๆ จำนวนไม่มากนัก เพียงแค่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเท่านั้น อาการที่เกิดขึ้นเป็นเพียงอาการแพ้ในสารประกอบบางส่วนที่พบในวัคซีน
- Margaret Keenan ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 คนแรกของโลกอยู่ในอาการโคม่า – ผิด ทุกวันนี้เธอสบายดี กินข้าวได้ นอนหลับ