CoronaVac SinoVac วัคซีน โควิด-19

What We Know : วัคซีนโควิด-19 SinoVac

ปมวัคซีนโควิด-19 ของ SinoVac ที่เรารู้และอยากให้คุณรู้

Home / TELL / What We Know : วัคซีนโควิด-19 SinoVac

จากกรณีที่ประเทศไทยมีการสั่งซื้อวัคซีน SinoVac ป้องกันโควิด-19 ของ SinoPharm จากประเทศจีน ซึ่งทำให้หลายคนมีความกังวลถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหลังจากที่วานนี้ ทาง

การประสิทธิภาพวัคซีน

ในขณะนี้ ผลการทดสอบวัคซีนจากหลาย ๆ ชนิดได้มีรายงานออกมา โดยระบุประสิทธิภาพของวัคซีน เช่น ของ Pfizer ระบุว่า ประสิทธิภาพสูง 90% ซึ่งในการทดสอบนั้น จะใช้การนำกลุ่มอาสาสมัคร จำนวน 1,000 – 10,000 คน ขึ้นไป โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับยาหลอก, กลุ่มหนึ่งได้รับวัคซีนจริง จากนั้นจึงดูจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ติดเชื้อว่า ทั้งกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจริง และยาหลอกนั้น มีอัตราการติดเชื้อมากน้อยเพียงใด นำยอดมาคำนวนหาประสิทธิภาพของวัคซีน

โดยการทดสอบวัคซีน CoronaVac ของบริษัท SinoVac นั้นได้มีการทดสอบในกลุ่มอาสามัครจำนวน 13,000 ราย และพบว่า กลุ่มที่ได้รับยาหลอก มีผู้ป่วย 167 ราย, กลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนมีอัตราการติดเชื้อ 85 ราย

CoronaVac ของ SinoVac

ผลการทดสอบประสิทธิภาพวัคซีน SinoVac

สำหรับวัคซีนโควิด-19 ของ SinoVac นั้น มีการทดสอบวัคซีนของ SinoVac ในขณะนี้อยู่ในหลายประเทศด้วยกัน รวมอาสาสมัครกว่า 6 หมื่นราย มีรายงานผลการทดสอบออกมาบางส่วนแล้ว คือ

  • ตุรกี รายงานประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ของ SinoVac อยู่ที่ 91.25% (อาสามัครราว 7,300 ราย)
  • บราซิล รายงานประสิทธิภาพที่ 50.4% (อาสาสมัครเกือบ 13,000 ราย)
  • อินโดนีเซีย รายงานประสิทธิภาพที่ 65.3% (อาสาสมัคร 1,600)
  • UAE รายงานประสิทธิภาพที่ 86% (อาสาสมัคร 31,000 ราย)
  • ฟิลิปปินส์ ยังไม่มีรายงานยืนยันผล (แต่รายงานเบื้องต้น ไม่ค่อยดีนัก)

โดยประสิทธิภาของวัคซีนโควิด-19 ที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของวัคซีนโควิด-19 ไว้ว่า จะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 ที่ 50%

อย่างไรก็ตาม หากประเมินตัวเลขของผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง ก็มีข้อสรุปที่บ่งชี้ได้ว่า วัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการช่วยลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 และจากผลการทดสอบผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีน Coronavac คือ อาการปวดหัว อ่อนเพลีย หรือปวดที่บริเวณจุดที่ฉีดวัคซีน แต่ไม่พบภาวะอาการข้างเคียงที่รุนแรงอื่น ๆ

SinoVac – วัคซีนชนิดเชื้อตาย

SinoVac วัคซีนป้องกันโควิด-19 นั้นเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย ซึ่งใช้วิธีการคือการนำเชื้อโควิด-19 มาเพาะเลี้ยง เมื่อได้จำนวนที่มากพอ ก็จะฆ่าเชื้อให้ตาย จากนั้นจึงนำมาผลิตเป็นวัคซีนเพื่อใช้ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ซึ่งวิธีการทำวัคซีนในรูปแบบนี้ เป็นวิธีการดั้งเดิม ที่ใช้ในการทำวัคซีนอื่น ๆ ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น วัคซีนพิษสุนับ้า อหิวาตกโรค โปลิโอ ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ และเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตาย หรือ หมดฤทธิ์ จึงมีความปลอดภัย ที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากเชื้อตายไปแล้ว สามารถใช้กับกลุ่มคน

ในขณะเดียวกัน เนื่องจากเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายจะมีข้อจำกัดคือ ความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ต่ำกว่า วัคซีนจากของ Pfizer หรือ Moderna ซึ่งใช้ mRNA ของไวรัส ทำให้กระตุ้นได้ดีกว่า (เราจึงเห็นประสิทธิภาพของทั้งสองค่ายสูงกว่า 90%)

ส่วนวัคซีนจากของ AstraZeneca ที่ไทยสั่งไปตั้งแต่เริ่มต้นนั้น รวมถึง Sputnik V ของรัสเซีย ใช้วิธีการนำสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ไปใส่ไปในเชื้อไวรัสชนิดอื่นที่ไม่ทำให้เกิดโรค (vector) ซึ่งวิธีการนี้ก็ยังคงทำให้วัคซีนที่ได้นั้น มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง

แม้ว่า การผลิตแบบใช้ mRNA อย่าง Pfizer หรือ Viral Vector อย่างของ AstraZeneca นั้น จะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า แต่ทั้งสองแบบนี้ ก่อให้เกิดผลของอาการข้างเคียงได้ง่ายกว่า

ในขณะที่วัคซีนแบบเชื้อตายของ SinoVac มีผลข้างเคียงน้อยกว่า รวมถึงสามารถให้วัคซีนกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำได้ แต่ก็ต้องแลกกับประสิทธิภาพที่ต่ำกว่า

ประเทศที่มีการประกาศใช้วัคซีน CoronaVac ของ SinoVac

จีน – สำหรับในประเทศจีนได้มีการอนุมัติให้ใช้งานวัคซีน CoronaVac ของ SinoVac กับประชาชนแล้ว โดยยอดล่าสุดที่ทางการจีนรายงานคือจำนวน 1 ล้านรายที่ได้รับวัคซีนโควิด-19

อินโดนีเซียได้รับวัคซีนชุดแรกจาก SinoVac มาแล้วจำนวน 3 ล้านโดส และในวันนี้ (13 ม.ค. เป็นวันแรกที่มีการฉีดวัคซีน CoronaVac ของ SinoVac ให้กับกลุ่มเป้าหมายแล้ว

นายโจโค วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เข้ารับวัคซีนโควิด-19
ซึ่งเป็นวัคซีนที่ได้รับมาจาก SinoVac

ตุรกี – สำหรับประเทศตุรกี ได้มีกาำหนดการที่จะฉีดวัคซีนโควิด-19 จาก SinoVac ในวันที่ 14-15 ม.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งตุรกีได้รับมอบวัคซีนชุดแรก จำนวน 3 ล้านโดส

ในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายประเทศที่มีการสั่งวัคซีนจาก SinoVac ไม่ว่าจะเป็นไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และคาดว่าจะใช้งานในเร็ว ๆ นี้

โรงงานวัคซีนโควิด-19 ในปักกิ่ง

สำนักข่าวซินหัว ได้เผยแพร่ภาพ โรงการผลิตวัคซีน CoronaVac ของ SinoVac โดยเป็นกระบวนการผลิตและบรรจุวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ภายในโรงงานของบริษัท การวิจัยและพัฒนาซิโนวัค จำกัด (Sinovac Research and Development) ในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน

ที่มาภาพ – ซินหัว