AstraZeneca Oxford วัคซีน โควิด-19

What We Know : วัคซีนโควิด-19 ที่รัฐบาลไทยลงนามจองซื้อ

วันนี้ (27 พ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะมีการลงนามจองซื้อวัคซีนโควิด-19 จากรบริษัทแอสตร้า เซนเนก้า จากประเทศสวีเดน ซึ่งคาดการณ์กันว่า ในช่วงกลางปีหน้า คนไทยจะมีวัคซีนได้รับวัคซีนโควิด-19 เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ที่ไทยกำลังจองซื้อ วัคซีนโควิด-19…

Home / NEWS / What We Know : วัคซีนโควิด-19 ที่รัฐบาลไทยลงนามจองซื้อ

ประเด็นน่าสนใจ

  • วันนี้ ประเทศไทยจะมีการลงนามจองซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 กับทาง Oxford/AstraZeneca
  • ในการจัดหาวัคซีนจำนวน 26 ล้านโด๊ส สำหรับคนไทย 13 ล้านคน ได้ใช้กันในกลางปีหน้า
  • มูลค่าการสั่งซื้อในครั้งนี้เป็นเงินกว่า 6 พันล้านบาท ซึ่งคิดเป็นค่าวัคซีนต่อคนประมาณ 460 บาท
  • ในการจองซื้อในครั้งนี้ จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตด้วย เพื่อผลิตใช้เองในประเทศไทยต่อไป

วันนี้ (27 พ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะมีการลงนามจองซื้อวัคซีนโควิด-19 จากรบริษัทแอสตร้า เซนเนก้า จากประเทศสวีเดน ซึ่งคาดการณ์กันว่า ในช่วงกลางปีหน้า คนไทยจะมีวัคซีนได้รับวัคซีนโควิด-19

เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ที่ไทยกำลังจองซื้อ

วัคซีนโควิด-19 ที่ประเทศไทยลงนามจองซื้อนั้น เป็นวัคซีนวิจัย AZD1222 ของ มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดพัฒนาร่วมกับแอสตร้าเซนเนก้า โดยวัคซีนของ AstraZeneca เป็นวัคซีนที่ใช้ไวรัสที่มีชีวิตชนิดอื่นในการนำยีน หรือ DNA ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย

FYI : เทคนิคการใช้เชื้อไวรัสชนิดอื่นเป็นตัวนำยีน/DNA ของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 เข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายตัวด้วยกัน โดยในกลุ่มนี้ที่เข้าสู่การทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3 แล้วประกอบด้วย วัคซีนของ

  • Cansino Biologics (มีการใช้งานในวงจำกัดแล้ว ประสิทธิภาพสูง)
  • Gamaleya Research Institute (มีการใช้งานในวงจำกัดแล้ว, ประสิทธิภาพปานกลาง)
  • Jonhson & Jonhson (ประสิทธิภาพปานกลาง)

ประสิทธิภาพของวัคซีน

ในการทดสอบวัคซีนของ Oxford/Astrazeneca นั้นพบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพในภาพรวมของวัคซีนนั้น จะมีด้วยกัน 2 โด๊ส โดยฉีดห่างกัน 1 เดือน พบว่า สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ประสิทธิภาพของวัคซีนที่ได้อยู่ที่ราว 70% ซึ่งน้อยกว่า วัคซีนของบริษัท Pfizer ที่มีประสทธิภาพสูงถึง 90%

FYI : องค์การอนามัยโลกกำหนดมาตรฐานของวัคซีนโควิด-19 ต้องมีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 50%

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ประสิทธิภาพของวัคซีนในโด๊สแรกนั้น สูงถึง 90% ใกล้เคียงกับของ Pfizer แต่ในโด๊สที่ 2 ประสิทธิภาพนั้นด้อยกว่า ซึ่งในจุดนี้ กับระยะเวลาที่เหลือก่อนการส่งมอบวัคซีนให้ประเทศไทย จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

นอกจากนี้ ในการวิจัยยังพบว่า วัคซีนตัวนี้ มีความปลอดภัยสูง ไม่มีอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนมีอาการป่วยรุนแรง หรือต้องเข้าโรงพยาบาลหลังได้รับวัคซีน ซึ่งสามารถใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วย

ทำไมถึงต้อง Oxford/AstraZeneca

จากประสิทธิภาพของวัคซีนเมื่อดูจากการได้รับวัคซีน จำนวน 2 โด๊ส จะอยู่ที่ราว 70% ไม่สูงเท่ากับวัคซีนโควิด-19 ของ Pfizer/BioNTech แต่ด้วยวัคซีนของ Oxford/AstraZeneca นั้นป็นวัคซีนที่สามารถเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียล ซึ่งเป็นตู้เย็นธรรมดาทั่วไป ก็สามารถใช้เก็บวัคซีนดังกล่าวได้ และใช้การขนส่งตามปรกติของไทยสามารถส่งวัคซีนดังกล่าวได้อย่างไม่มีปัญหา

ในขณะที่วัคซีนของ Pfizer นั้นต้องเก็บภายใต้อุณหภูมิราว -70 องศาเซลเซียส ทำให้ต้องใช้ตู้เก็บความเย็นเป็นพิเศษ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการเก็บรักษา โดยเฉพาะระหว่างการขนส่ง จะทำได้ยาก เมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนในประเทศไทย

ดังนั้นวัคซีนอย่าง Oxford/AstraZeneca จึงเหมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศไทยได้เป็นอย่าง

FYI : การมีวัคซีนป้องกันโควิด-19ใช้งาน ไม่ได้หมายความว่าโรคนี้จะหมดไป แต่จะกลายเป็นโรคที่อยู่กับเราโดยไม่อันตรายมาก ไม่ต่างจากไช้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน

จำนวน – ระยะเวลา – ราคาวัคซีนโควิด

ในการจัดหาวัคซีนของไทยนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้ ทำสัญญาจัดจองซื้อวัคซีนล่วงหน้า ในวงเงินกว่า 2.37 พันล้านบาท สำหรับวัคซีนโควิด-19 จำนวน 26ล้านโด๊ส สำหรับประชากร 13 ล้านคน

ซึ่งเมื่อบริษัท Oxford/AstraZeneca จัดส่งวัคซีนให้กับไทย ก็จะมีการชำระส่วนที่เหลือกว่า 3.67 พันล้านบาท รวมวงเงินในการจัดหาวัคซีนกว่า 6 พันล้านบาท ตกโด๊สละ 230 บาท ซึ่งค่าวัคซีนโควิด-19ต่อคนอยู่ที่ราว 460 บาท

ในระยะแรกจะเป็นการจัดซื้อมาใช้งาน เพื่อให้ได้วัคซีนมาใช้งานเป็นการเร่งด่วน และในการสั่งซื้อ ไทยจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในการผลิตวัคซีนมาด้วย ทำให้ในระยะถัดไป ก็จะสามารถมีการผลิตเองในประเทศได้อีกด้วย

สถานะของวัคซีนตัวอื่น ๆ

สำหรับวัคซีนโควิด-19 ที่มีในขณะนี้ มีเข้าสู่การทดสอบในมนุษยรวมทั้งสิ้น 67 ชนิด แบ่งเป็น

  • ระยะที่ 3 จำนวน 13 ชนิด
  • ระยะที่ 2 จำนวน 17 ชนิด
  • ระยะที่ 1 จำนวน 37 ชนิด

จากทั้งหมด 67 ชนิด มีการใช้งานแล้วนวงจำกัดจำนวน 6 ชนิด


FAQ:

Q : คนไทยมี 70 กว่าล้านคน ทำไมกลุ่มเป้าหมายแค่ 13 ล้านคน

A : เนื่องจากการผลิตวัคซีนในช่วงแรกนั้น มีข้อจำกัดในเรื่องของกำลังการผลิต ทำให้ทุกประเทศในโลกที่มีการสั่งซื้อวัคซีนในขณะนี้ ไม่สามารถจะให้วัคซีนกับประชาชนทุกคนได้ ดังนั้นจึงจะเน้นให้กลับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงก่อนเป็นอันดับแรก ประกอบไปด้วย

  1. กลุ่มเสี่ยงสูงที่ติดเชื้อแล้วจะเสียชีวิต
  2. กลุ่มโอกาสแพร่เชื้อสูง
  3. กลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงๆ กลุ่มเจ้าหน้าที่ควบคุมโรค หมอ พยาบาล

Q : กลุ่มที่เหลือจะทำอย่างไร

A : สำหรับโควิด-19 นั้นจะเห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มาตรการการป้องกันโรค ควบคุมโรค ในการเน้นให้ประชาชนสวมหน้ากาก หมั่นล้างมือ รักษาระยะห่าง เลี่ยงการรวมกลุ่ม เป็นแนวทางที่ได้ผล ดังนั้น สำหรับผู้ที่แข็งแรงดี การป้องกันโรคด้วยการสวมหน้ากาก เป็นทางออกที่ดีที่สุด

Q : จะมีการสั่งซื้อเพิ่มหรือไม่?

A: ในการสั่งจองซื้อในครั้งนี้ ไม่ใช่ลักษณะของการสั่งซื้อตัววัคซีนและนำเข้ามา แต่เป็นการสั่งซื้อร่วมกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ดังนั้นในระยะถัดไป จึงจะมีการผลิตในประเทศจากเทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอด ซึ่งบริษัทสยามไบโอไซน์ สามารถผลิตวัคซีน เพื่อในในประเทศได้ โดยมีกำลังผลิตได้สูงกว่า 200 ล้านโด๊สต่อปี

นอกจากนี้ วัคซีนที่ผลิตขึ้น มีอายุการใช้งานที่ไม่ยาวมากนัก ดังนั้นการสั่งซื้อมาจำนวนล็อตใหญ่ ๆ เยอะ ๆ มากเกินไป จะทำให้ใช้งานไม่ทัน กลายเป็นวัคซีนคุณภาพต่ำได้

Q : มีวัคซีนแล้วประเทศไทยจะปลอดโควิด-19 ใช่หรือไม่

A : ไม่ เนื่องจากวัคซีนทำหน้าที่ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ หรือติดแล้วอาการไม่รุนแรง ไม่ถึงกับชีวิต ไม่ต่างกับการมีวัคซีนในโรคอื่น ๆ เช่นไข้หวัดใหญ่ ที่ยังคงมีเชื้ออยู่ มีผู้ป่วยอยู่ แต่ระดับความรุนแรง และอัตราการเสียชีวิตต่ำมาก

*** นักวิจัยมาบางประเทศรายงานว่า เมื่อมีวัคซีน โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น/ฤดูกาล ไม่ต่างจากโรคอื่น ๆ ที่ผ่านมา

Q : ทำไมไม่ใช้ของที่วิจัยขึ้นเองในประเทศ

A : สำหรับการวิจัยในประเทศนั้น มีการดำเนินการคู่ขนานกันไป ซึ่งวัคซีนที่มีการพัฒนาขึ้นในประเทศยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และกว่าจะดำเนินการวิจัยเสร็จจนใช้งานได้ จะใช้เวลานาน

ดังนั้นการสั่งซื้อมาใช้ก่อน ในส่วนหนึ่ง ร่วมกับการพัฒนาใช้เอง จึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยให้สถานการณ์การระบาดดีขึ้น ควบคุมได้เร็วขึ้น ซึ่งหากวัคซีนในประเทศมีการวิจัยเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ใช้งานก็สามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งได้