คาถาบูชาพระแม่โพสพ ทำขวัญข้าว พระแม่โพสพ

คาถาบูชาพระแม่โพสพ เทพีแห่งการเกษตรให้ปลูกข้าวได้ดี

ฤดูทำนาจะมีการทำขวัญข้าว หรือการทำขวัญแม่โพสพ 2 ครั้ง ในครั้งแรกคือช่วงข้าวออกดอกหรือตั้งท้อง โดยท่อง คาถาบูชาพระแม่โพสพ

Home / พระคาถา / คาถาบูชาพระแม่โพสพ เทพีแห่งการเกษตรให้ปลูกข้าวได้ดี

ความอุดมสมบูรณ์ของมนุษย์นั้น ส่วนที่เป็นองค์ประกอบหลักก็คงจะหนีไม่พ้นอาหาร โดยเฉพาะการทำเกษตรกรรรมชาวเกษตรกรมีความเชื่อว่าจะต้องไหว้บูชาพระแม่โพสพก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ผลผลิตออกมาอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้พระแม่โพสพมีความสำคัญอย่างมากต่อเหล่าเกษตรกร

พระแม่โพสพ

<a href=คาถาบูชาพระแม่โพสพ ” class=”wp-image-330914″/>

แม่โพสพ เป็น เทวีแห่งข้าว มีพาหะเป็นปลากรายทองและปลาสำเภา วันหนึ่งที่เมืองไพสาลีกลางสโมสรสันนิบาตมนุษย์ ได้ปรึกษากันว่าระหว่างพระพุทธเจ้าและแม่โพสพว่าใครมีคุณมากกว่ากัน ที่ประชุมต่างกราบทูลว่าคุณของพระพุทธเจ้าใหญ่กว่าแม่โพสพ และพระเพชรฉลูกรรณได้ฟังดังนั้นก็ข้องใจว่ารักษามนุษย์อยู่ มนุษย์ไม่เห็นความดีจึงทรงปลากรายหนีไปยังป่าหิมพานต์ เขาคิชฌกูฏ

เมื่อแม่โพสพจากไปก็เกิดความอดอยากขึ้นในโลกมนุษย์ ทำไร่ไถนาไม่มีข้าว มีแต่แกลบ มนุษย์จึงชวนกันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้พระมาตุลีไปเชิญนางกลับ พระมาตุลีตามไปถึงเขาทบกันก็ไปไม่ได้ จึงใช้ให้ปลาสลาดไปตามต่อจนพบ ปลาสลาดได้อ้อนวอนขอให้นางกลับคืนโลก นางตอบว่า

“อยู่ที่นี่เราสบาย ถ้าจะไปใจแม่หายเพราะเขาไม่รู้บุญคุณ แม่จะให้แต่เมล็ดข้าวไปดูแลฝูงคน เมื่อเก็บนึกถึงเรา เราจะไปปีละหน ตรวจดูผู้คน เก็บเกี่ยวแล้วให้ทำขวัญ”

จากนั้นแม่โพสพได้มอบเมล็ดข้าว 7 เมล็ดไปทำพันธุ์ พระเพชรฉลูกรรณให้แม่เหล็ก 1 อันสำหรับตั้งพร้า พร้อมสั่งว่ามนุษย์ทำไร่ไถนา เมื่อข้าวใกล้สุกก็ให้จัดพิธีทำขวัญให้แต่งด้วยขวัญข้าว และด้วยที่ปลาสลาดเป็นผู้บอกทางที่นางซ่อนแก่พระมาตุลี นางจึงสั่งนำปลาสลาดมาเป็นเครื่องเซ่นสังเวยด้วย

ความเชื่อเรื่องพระแม่โพสพ

พระแม่โพสพ

ในฤดูทำนาจะมีการทำขวัญข้าว หรือการทำขวัญแม่โพสพ 2 ครั้ง ในครั้งแรกคือช่วงข้าวออกดอกหรือตั้งท้อง เปรียบนางโพสพเป็นหญิงตั้งครรภ์แพ้ท้องอยากอาหารต่าง ๆ และครั้งหลังคือทำหลังนวดข้าวและเก็บข้าวเข้ายุ้ง ถือเป็นการเรียกขวัญเพราะนางโพสพเป็นหญิงสาวอ่อนไหวตกใจง่าย บางท้องที่ต้องกระทำตามฤกษ์ยามที่เหมาะสม มิเช่นนั้นจะถูกผีเสื้อข้าวกินผลผลิตจนสิ้น โดยการทำขวัญข้าวหรือทำขวัญแม่โพสพนั้น แต่ละท้องถิ่นจะมีพิธีกรรมหรือธรรมเนียมแตกต่างกันออกไป เช่น

จังหวัดปทุมธานี ต้องเตรียมเฉลว ธงสามสี มีแป้งหอม น้ำมันหอม หวี และกระจก จะให้ผู้หญิงนำอาหารและเครื่องเซ่นใส่ชะลอมไปไว้ที่หัวคันนาของแปลงนาที่ตั้งศาลไว้ โดยปักไม้ไว้ข้างศาลเพื่อแขวนชะลอมที่บรรจุอาหารเครื่องเซ่น และประดับธงสามสีไว้บนยอดเสา จุดธูปสามดอกแล้วสวดบูชาพระรัตนตรัย ก่อนจะกล่าวคำบูชา จากนั้นจึงเอาน้ำมันหอมทาใบข้าว เอาหวีมาสาง เอาแป้งมาพรมของสังเวย เสร็จแล้วให้ร้องกู่สามครั้งแล้วเดินออกไปห้ามเหลียวหลังมาดู เพราะนางโพสพจะอายไม่มารับของสังเวย

จังหวัดพัทลุง เครื่องเซ่นที่ใช้นอกจากอาหารคาวหวานแล้ว ยังมีปลามีหัวมีหาง ข้าวตอกดอกไม้ หมากพลู 12 คำ แหวนหนึ่งวง เงินทอง ขันน้ำมนต์ สายสิญจน์ เขาวัว และบายศรีปากชาม จากนั้นจะมีการวงสายสิญจน์ สวดบูชาพระรัตนตรัย ชุมนุมเทวดา ไหว้สดุดีนางโพสพ จากนั้นจึงเปิดกรวยบายศรี จุดเทียนชัยแล้วแหล่ทำขวัญข้าว แล้วจบด้วยบทชยันโต คาถาปิดประตูปิดหน้าต่างเพื่อให้นางโพสพอยู่ในยุ้งฉาง

บ้านพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ในช่วงเก็บข้าวใหม่ในแต่ละปี ชาวบ้านจะนำข้าวที่เก็บเกี่ยวไว้มาใส่ใน “เรือนข้าว” หรือยุ้งฉาง โดยนำข้าวมาผูกและไหว้ ( ทำขวัญข้าว ) หลังจากนั้นจะนำ “เป็ด” หรือหม้อน้ำเรียกขวัญข้าว ซึ่งเป็นภาชนะทองเหลืองรูปร่างคล้ายเป็ดซึ่งใส่น้ำจนเต็ม นำมาตั้งบนข้าวที่เก็บมาไว้บนเรือนข้าว รอจนนำแห้งไปเอง และจะกระทำเช่นนี้เพียงปีละครั้ง

คาถาบูชาพระแม่โพสพ

“ตั้งนะโม 3 จบ แล้วกล่าวว่า
โพสะวะโภชะนัง อุตตะมะ ลาภัง มัยหัง สัพพะสิทธิหิตั้ง โหตุ”

ถึงแม้พระแม่โพสพจะเป็นเทพีแห่งการเกษตร มีการนับถือกันเฉพาะกลุ่ม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าท่านมีส่วนสำคัญ ในการอุ้มชูความอุดมสมบูรณ์ให้แก่มวลมนุษย์นั่นเอง

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เปิดคำทำนายเสี่ยงทาย 7 อาหาร พระโค พระราชพิธีแรกนาขวัญ

ขอโชคต้นตะเคียนยักษ์ ขอพรซื้อขายที่ดินกับหลวงพ่อใหญ่ วัดปราสาท

หนุมานนิ้วเพชร มนต์จินดามณี เนื้อเหล็กน้ำพี้ (รุ่นสร้างกุฏิ) หลวงปู่จันทร์ วัดซับน้อย