พระราชพิธีแรกนาขวัญ พระโคแรกนาขวัญ วันพืชมงคล

เปิดคำทำนายเสี่ยงทาย 7 อาหาร พระโค พระราชพิธีแรกนาขวัญ

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือ พระราชพิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรไทย

Home / พิธีกรรม / เปิดคำทำนายเสี่ยงทาย 7 อาหาร พระโค พระราชพิธีแรกนาขวัญ

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือ พระราชพิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่น ส่วนจะเป็นวันไหนในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น ซึ่งงานพระราชพิธีนี้มีสืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกาศและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าเกษตรกรเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลทำนาให้ขยันขันแข็ง มานะอุตสาหะ ในการเพาะปลูก

พระราชพิธีแรกนาขวัญ
หว่านพืชจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พิธีพราหมณ์

สำหรับการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นั้น ประกอบด้วย 2 พระราชพิธี คือ พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญก็จะเป็นพิธีพราหมณ์ จัดขึ้น ณ มลฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยจะมีพระยาแรกนา ได้แก่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยตำแหน่ง

พระยาแรกนา

ส่วนผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นเทพีคู่หาบทอง และคู่หาบเงินนั้น ได้ทำการพิจารณาคัดเลือกจากข้าราชการหญิงโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป

เทพีคู่หาบ
เทพีคู่หาบ

พระโค ใน พระราชพิธีแรกนาขวัญ มีเกณฑ์คัดเลือกอย่างไร

พระโค ในทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึง เทวดาผู้ทำหน้าที่เป็นพาหนะของพระอิศวร มีนัยยะหมายถึง การใช้แรงงานและความเข้มแข็ง ทั้งยังเป็นสัตว์เลี้ยงที่พระกฤษณะและพระพลเทพดูแลซึ่งเปรียบได้กับความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงได้กำหนดให้ใช้พระโคเพศผู้เข้าร่วมพระราชพิธีเสมอมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เพื่อเป็นตัวแทนของความเข้มแข็งและความอุดมสมบูรณ์

พิธีแรกนาขวัญ

ส่วน พระโค ในพระราชพิธีแรกนาขวัญ มีเกณฑ์คัดเลือก ดังนี้

พระโค

สำหรับ พระโค ตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ จะต้องเป็นโคที่มีลักษณะดี รูปร่างสมบูรณ์ มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ความยาวลำตัวไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกัน ผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่ายไม่ดุร้าย เขาลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงามดี มีขวัญหน้า ขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา และขวัญหลังถูกต้อง มีขาและกีบข้อเท้าแข็งแรง มองดูด้านข้างลำตัวจะเป็นสี่เหลี่ยม

พระโค

ปิดคำทำนายจากการเสี่ยงทายอาหารพระโค

ไฮไลท์ของพระราชพิธีแรกนาขวัญ คือ การเสี่ยงทายของพระโคที่สามารถบ่งบอกได้ถึงเรื่องราวต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับการเพาะปลูกในปีนั้นๆ ซึ่งอาหารที่ถูกนำมาให้พระโคเลือกกินเพื่อการเสี่ยงทายจะมีด้วยกัน 7 อย่าง ได้แก่ ข้าวเปลือก, ข้าวโพด, น้ำ , ถั่ว , งา , เหล้า และ หญ้า โดยอาหารแต่ละอย่างจะมีความหมายดังต่อไปนี้

  • ข้าวเปลือก หรือ ข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี เพาะปลูกอะไรก็อุดมสมบูรณ์ทั้งข้าว ทั้งผลหมากรากไม้
  • น้ำ หรือ หญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร (เนื้อสัตว์) จะอุดมสมบูรณ์ดี เกษตรกรรมดี คล่องตัวทั้งระบบ
  • ถั่ว หรือ งา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร (อาหารที่กินเป็นประจำ) จะอุดมสมบูรณ์ดีทั้งการเพาะปลูกและปศุสัตว์
  • เหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศจะดีขึ้น เศรษฐกิจจะรุ่งเรือง
บุพพัณณปรัณณชาติ
วันพืชมงคล
วันพืชมงคล
 นอกจากอาหารของพระโคแล้ว บุพพัณณปรัณณชาติ (แปลว่า พืชที่เป็นอาหารทุกชนิด) ที่นำเข้าพระราชพิธีพืชมงคลนั้นก็ยังถือเป็นวัตถุมงคลอันเปี่ยมด้วยพุทธานุภาพคงความศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นไฮไลท์อีกอย่างหนึ่งในพิธีกรรม เป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่างๆ รวม ๔๐ อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาว กับเผือกมันต่างๆ พันธุ์พืชเหล่านี้เป็นของปลูกงอกได้ทั้งสิ้น อีกทั้งยังมีข้าวเปลือกที่หว่าน ในพิธีแรกนาบรรจุกระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ปลูกในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดารโหฐาน และพระราชทานมาเข้าพระราชพิธีพืชมงคล พันธุ์ข้าวพระราชทานนี้ จะใช้หว่านในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งที่เหลือทางการ จะบรรจุซอง แล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่างๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้ ซึ่งเหล่าเกษตรกรก็จะถือเป็นวัตถุมงคลอย่างหนึ่งที่จะนำไปแบ่งเพาะและส่วนหนึ่งก็เก็บไปบูชาต่อบนหิ้งพระในบ้านต่อไป

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ประมวลภาพพระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2562

เลขเด็ดฝันเห็นพระโคแรกนาขวัญ ทำนายฝันพระโคแรกนาขวัญ แม่นๆ

เลขเด็ดฝันเห็นพิธีแรกนาขวัญ ทำนายฝันพิธีแรกนาขวัญ แม่นๆ