บาปหนัก ปิตุฆาต มาตุฆาต อนันตริยกรรม อนันตริยกรรม ๕

อนันตริยกรรม ๕ บาปหนักถึงที่สุด ตามหลักพุทธศาสนามีอะไรบ้าง

กรรม ๕ อย่างนี้ ถือว่าเป็นบาปหนักถึงที่สุด ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้ถือพระพุทธศาสนา

Home / ธรรมะ / อนันตริยกรรม ๕ บาปหนักถึงที่สุด ตามหลักพุทธศาสนามีอะไรบ้าง

อนันตริยกรรม ๕
(บาปหนักถึงที่สุด ๕ ประการ)

อนันตริยกรรม ๕

เมื่อกล่าวถึงบาปอกุศล ย่อมหมายถึง อกุศลกรรมบถ ทางแห่งความชั่ว, ทางบาป อันประกอบด้วย กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓ หากแต่ยังมีบาปอกุศลชนิดพิเศษ ถือกันว่าหนักที่สุดในฝ่ายบาปเรียกว่า “อนันตริยกรรม” คำว่า “อนันตริย” แปลว่า ไม่มีระหว่าง คือเป็นกรรมที่จักให้ผลทันทีเป็นที่ปรากฏแก่คนทั้งหลาย ซึ่งตามหลักท่านถือว่า เป็นกรรมที่ทำด้วยความรู้สึกอันรุนแรง มีชวนจิต (ชะวะนะจิต) สูงและนาน จำแนกไว้เป็น อนันตริยกรรม ๕ อย่าง คือ

บาปหนักถึงที่สุด ๕ ประการ

๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔.โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้า จนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกกัน

มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต มีใจความชัดอยู่แล้ว หมายถึงการกระทำของบุคคล ผู้มีจิตใจทารุณโหดร้าย ตามความหมายทั่วไป พระอรหันต์แม้ไม่ใช่บิดามารดา ก็อยู่ในฐานะยิ่งกว่าบิดามารดาโดยคุณธรรม

ส่วนคำว่า “ ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป ” หมายถึง การทำร้ายแม้แต่เพียงช้ำเลือด ไม่ต้องกล่าวถึงการมีบาดแผลที่มีโลหิตไหล

คำว่า ” ยังสงฆ์ให้แตกกัน ” มีความหมายตามทางวินัยซึ่งมีหลักอยู่ว่าทำให้สงฆ์แตกกันเป็น ๒ ฝ่ายในลักษณะที่ไม่ยอมร่วมสังฆกรรมกันหรือไม่ถือว่ามีสังวาสร่วมกัน

กรรม ๕ อย่างนี้ ถือว่าเป็นบาปหนักถึงที่สุด ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้ถือพระพุทธศาสนา แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า ” ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ” นั้นมีอายุจำกัดพอควร ท่านถือว่า ยังมีโอกาสที่จะกลับตัวเป็นคนดีต่อไปข้างหน้า ซึ่งจะเป็ฯกี่ร้อยชาติก็ตาม แต่ในชาตินี้ถูกประณามว่า เป็นผู้ตกไปจากศาสนา

โดยสำนวนบาลี ” เป็นปาราชิก ” คือ เป็นผู้แพ้ เป็นสิ่งที่ควรได้รับการสั่งสอนให้มีความรู้ความเข้าใจเสียแต่แรก กรรมทั้งหมดนี้เป็นกายกรรมและหมายถึงทำเองและใช้ให้ผู้อื่นทำ แม้กรรมบางอย่างจะสำเร็จเพียงวจีกรรม เช่น การทำสังฆเภท ก็ยังอาจนับรวมเป็นพวกกายกรรม เพราะต้องมีการพยายาม เช่น การไป การมา เป็นต้น นับว่าเป็นกรรมที่ถึงที่สุดจริง ลำพังการนึกคิดย่อมไม่สำเร็จถึงที่สุดแห่งอนันตริยกรรม ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นบาปอกุศลชั้นยอดในทางกายกรรม

โดย ๔ ข้อแรก เป็นพวกปาณาติบาต ส่วน สังฆเภท ข้อสุดท้าย ถือว่าเป็นมุสาวาท ปิสุณาวาท ซึ่งเป็นวจีกรรมได้อีกส่วนหนึ่งด้วย ทั้งหมดนี้เป็นอาการแห่งการกระทำไปตามอำนาจกิเลสชั้นหยาบที่สุด และถึงที่สุดแห่งกรรมโดยชื่อนั้นๆ

ที่มาข้อมูล ธรรมวิภาค นวกภูมิ โดย พุทธทาส อินทปัญโญ

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ปฏิจจสมุปบาท 12 ประการ มีอะไรบ้าง
โลกุตตรธรรม 9 คือ อะไร โลกุตตระหมายถึงอะไร
สังขาร คืออะไร ในหลักปฏิจจสมุปบาท

แม่กวาง ไพ่ตองส่องใจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เพื่อการนำเสนอเนื้อหาที่ดี รวมถึงการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากคุณใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆนั้น แสดงว่าคุณยอมรับนโยบายคุกกี้และนโยบายส่วนบุคคลของเรา