คำสอนพระพุทธศาสนา จินตมยปัญญา พหูสูต ภาวนามยปัญญา วิธีเจริญปัญญา สุตมยปัญญา

คำสอนพระพุทธศาสนา แหล่งกำเนิดของปัญญามี 3 ประการ รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง

คำสอนพระพุทธศาสนา มีรากฐานอยู่ที่ปัญญา คือต้อง รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง คือรู้ในเหตุผล รู้ถึงคุณและโทษ ประโยชน์- มิใช่ประโยชน์ รู้ที่จัดแจง จัดสรร จัดการ และรู้เท่าทันความเป็นจริงในกองสังขาร

Home / ธรรมะ / คำสอนพระพุทธศาสนา แหล่งกำเนิดของปัญญามี 3 ประการ รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง

คำสอนพระพุทธศาสนา แหล่งกำเนิดของปัญญามี 3 ประการ

คำสอนพระพุทธศาสนา

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือ ปรีชาหยั่งรู้ในเหตุผล รู้ถึงคุณและโทษ ประโยชน์- มิใช่ประโยชน์ รู้ที่จัดแจง จัดสรร จัดการ และรู้เท่าทันความเป็นจริงในกองสังขาร (=ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คำสอนพระพุทธศาสนา มีรากฐานอยู่ที่ปัญญา คือต้อง รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง เพราะพระพุทธศาสนาเห็นว่า ธรรมชาติมีกฎธรรมชาติควบคุมความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ การกระทำหรือดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ จึงต้องรู้ถึงกฎธรรมชาติที่ควบคุม และกระทำให้ตรงตามกฎธรรมชาตินั้น จึงจะทำให้เกิดผลตามที่ต้องการได้

แหล่งกำเนิดของปัญญามี 3 ประการ

ธรรมะ
  1. สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง หรือ จากการเล่าเรียนอ่านมา เรียกว่า รู้จำ มีประโยชน์ คือ ช่วยทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปลองผิดลองถูก คนที่มีปัญญาประเภทนี้จะต้องเป็นคนอ่านมากและฟังมาก ใครที่จดจำเรื่องราวที่อ่านและฟังแล้วได้มากมายเรียกว่า พหูสูต
  2. จินตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการคิด โดยคิดต่อจากสุตมยปัญญา หรือคิดเองก็ได้เรียกว่า รู้จริง เป็นความรอบรู้ที่เกิดจากการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่เรารับมาจากการฟังหรือการอ่าน

    สำหรับ สุตมยปัญญา เปรียบเสมือนการรับประทานอาหารในขั้นต่ำ คือ ขั้นตอนการตักใส่ปาก จินตมยปัญญา เปรียบเสมือนการเคี้ยวอาหารให้ละเอียด แล้วกลืนลงไป บางคนฟังเรื่องอะไรแล้วเชื่อทันทีโดยไม่ทันพิจารณา เหมือนกับคนที่กลืนอาหารโดยไม่ทันได้เคี้ยว การพินิจพิจารณาไตร่ตรองเรื่องที่ฟังหรืออ่านรวมถึงการตรวจสอบแหล่งข่าวแหล่งข้อมูลหรือหนังสืออ้างอิง เหล่านี้เป็นกระบวนการของ จินตมยปัญญา

    คนบางคนจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากแต่วิเคราะห์ไม่เป็น บางคนท่องกฎหมายได้ทุกมาตรา แต่ไม่สามารถตีความกฎหมายเหล่านั้น คนเหล่านี้ขาดจินตมยปัญญา

    คนที่มีจินตมยปัญญาได้แก่ คนที่คิดเป็นตามแบบโยนิโสมนสิการ
    โยนิโส แปลว่า ถูกต้อง แยบคาย
    จินตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการคิด โดยคิดต่อจากสุตมยปัญญา หรือคิดเองก็ได้เรียกว่า รู้จริง เป็นความรอบรู้ที่เกิดจากการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่เรารับมาจากการฟังหรือการอ่าน

    สำหรับ สุตมยปัญญา เปรียบเสมือนการรับประทานอาหารในขั้นต่ำ คือ ขั้นตอนการตักใส่ปาก จินตมยปัญญา เปรียบเสมือนการเคี้ยวอาหารให้ละเอียด แล้วกลืนลงไป บางคนฟังเรื่องอะไรแล้วเชื่อทันทีโดยไม่ทันพิจารณา เหมือนกับคนที่กลืนอาหารโดยไม่ทันได้เคี้ยว การพินิจพิจารณาไตร่ตรองเรื่องที่ฟังหรืออ่านรวมถึงการตรวจสอบแหล่งข่าวแหล่งข้อมูลหรือหนังสืออ้างอิง เหล่านี้เป็นกระบวนการของ จินตมยปัญญา

    คนบางคนจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากแต่วิเคราะห์ไม่เป็น บางคนท่องกฎหมายได้ทุกมาตรา แต่ไม่สามารถตีความกฎหมายเหล่านั้น คนเหล่านี้ขาดจินตมยปัญญา

    คนที่มีจินตมยปัญญา ได้แก่ คนที่คิดเป็นตามแบบโยนิโสมนสิการ
    โยนิโส แปลว่า ถูกต้อง แยบคาย
    มนสิการ แปลว่า ทำไว้ในใจหรือการคิด
    ดังนั้น โยนิโสมนสิการ จึงหมายถึง การทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือ การคิดเป็น ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
  3. ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการฝึกอบรมและลงมือปฏิบัติ เรียกว่า รู้แจ้ง หมายถึงความรอบรู้ที่เกิดโดยประสบการณ์จากภาคปฏิบัติหรือการลงมือทำจริง

    ภาวนามยปัญญาทำให้มีผลงานเป็นรูปธรรม นักบริหารบางคนมีความรู้และความคิดดีแต่ไม่มีผลงานเพราะไม่ยอมลงมือทำตามความคิด

วิธีเจริญปัญญา มีหลักว่า ให้มีสติตามพิจารณาเรื่องหรือสิ่งที่ต้องการให้มีปัญญาในเรื่องนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น การจะมีปัญญารอบรู้ในเรื่องของปลาชนิดหนึ่ง ก็ให้มีสติคอยตามเฝ้าดูปลาชนิดนั้น พร้อมทั้งการสังเกตและพิจารณา อาจต้องใช้เวลาเป็นหลายเดือนหรือหลายปี ในที่สุดก็จะเกิดปัญญารอบรู้ในเรื่องปลาชนิดนั้น ๆ อย่างแจ่มแจ้ง ทั้งเรื่องวงจรของชีวิตตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ

ภาพโดย MTHAI TEAM

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
มรรค 8 ในหลักอริยสัจ 4 คืออะไร
คิดก่อนเชื่อ! หลัก กาลามสูตร คำสอน 10 วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย
พรหมวิหาร 4 หลักธรรมการปกครองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นให้เป็นสุข