พระเจ้าอโศกมหาราช เสาพระเจ้าอโศก เสาอโศก

รู้จัก เสาอโศก สัญลักษณ์แห่งศรัทธาและคำสอนของพระพุทธศาสนา

เสาอโศก ที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละ ในเมืองเวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล

Home / ธรรมะ / รู้จัก เสาอโศก สัญลักษณ์แห่งศรัทธาและคำสอนของพระพุทธศาสนา
เสาอโศก

ประวัติเสาพระเจ้าอโศก

เสาอโศก หรือ เสาแห่งพระเจ้าอโศก (Pillars of Ashoka) เป็นเสาสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนาในแผ่นดินชมพูทวีปเมื่อครั้งอดีตกาล สร้างขึ้นโดยพระราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka the Great) กษัตริย์แห่ง ราชวงศ์โมริยะ หรือ เมารยะ (Maurya) ครองราชย์ พ.ศ. 270 – พ.ศ. 311 โดยจะสร้างเสาศิลาปักตั้งไว้ ณ ตำแหน่งของสถานที่ที่เป็นสังเวชนียสถาน และสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สันนิษฐานว่า การสร้างเสาอโศกไม่เพียงแต่เป็นการระบุถึง ที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนการประกาศถึง พระพุทธศาสนาที่ได้ขยายขอบเขตแว่นแคว้นไปทั่วทุกแห่งหนในรัชสมัยของพระองค์ เป็นเครื่องหมายแทนพุทธบูชาและเตือนขุนนางทั้งปวงให้ปกครองราษฎรโดยธรรม

จุดเด่นที่สุดของเสาอโศกนั้น ก็คือ “ประติมากรรมบนหัวเสา” ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรูปสิงห์แกะสลัก ประดิษฐานอยู่บนยอดด้านบน เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดั่งราชสีห์ และส่งเสียงคำรามแผ่ไพศาลไปไกลแสนไกล นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์รูปธรรมจักร และดอกบัวตรงบริเวณด้านล่างของแท่นหัวเสา อันเป็นนัยยะแทนพระธรรมคำสอน และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สวนป่าพระราชศรัทธาธรรม

เสาอโศก สวนป่าพระราชศรัทธาธรรม วัดปทุมวนารามฯ

ผู้ได้กราบไหว้บูชา จะได้รับอานิสงส์สูงยิ่ง เสมือนได้บูชาสังเวชนียสถาน ตลอดจนมีความสำเร็จในคำอธิษฐานในทางที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ตามกำลังแห่งบุญญาบารมีแห่งตน ของตนฯ

วัดปทุมวนาราม

เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละ ในเมืองเวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล แต่เสาอโศกต้นที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร 24 ซี่ ได้ถูกนำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า ” สตฺยเมว ชยเต ” แปลว่า ” ความจริงชนะทุกสิ่ง ” ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน

เดิมนั้น เสาอโศก มีอยู่ทั่วไป แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน

เสาอโศก

ลักษณะของยอดเสาหิน 4 ประการคือ

  1. บนยอดเสาแกะสลักเป็นรูปสิงโต 4 ตัว นั่งหลังชนกัน ( บ้างเป็น 3 ) ซึ่งอยู่ในลักษณะคำรามหรือเปล่งสีหนาท แต่เดิมมีธรรมจักรตั้งอยู่บนหลังของสิงห์ทั้ง 4 เป็นลักษณะสิงห์แบกธรรมจักร ซึ่งมี 24 ซี่ ธรรมจักร คือ เครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา
  2. ใต้ฐานสิงโตมีรูปธรรมจักร 4 ด้าน วงล้อธรรมจักรมี 24 ซี่ เท่ากับจำนวนปฏิจจสมุปบาท ทั้งขบวนการเกิดและขบวนการดับ ( ทุกข์ )
  3. ระหว่างรูปธรรมจักรแต่ละด้านมีรูปสัตว์สำคัญ 4 ชนิด เรียงไปตามลำดับ คือ ” ช้าง โค ม้า และสิงโต ” ซึ่งล้วนมีความหมายเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ซึ่งนักปราชญ์ได้ให้ความหมายดังนี้
    – ” ช้าง ” หมายถึง การเสด็จลงสู่พระครรภ์ ( พระมารดาสุบินเห็นช้างเผือก ) หรือ ปัญญาชาญฉลาด สุขุมเยือกเย็น
    – ” โค ” หมายถึง ทรงได้ปฐมฌาน ( ขณะพระบิดาทรงทำพิธีแรกนาขวัญ ) หรือ ความแข็งแรง อดทน
    – ” ม้า ” หมายถึง การทรงม้าเสด็จออกผนวช หรือ ฝีเท้าอันรวดเร็ว
    – ” สิงโต ” หมายถึง การแสดงธรรมจักร ซึ่งเปรียบเหมือนการเปล่งสีหนาท หรือการคำรามของพญาราชสีห์ สร้างความยำเกรงแก่สรรพสัตว์ และ อาจหมายถึงพละกำลังอันมหาศาล สัตว์ผู้ทรงความยิ่งใหญ่นี้จะคอยเฝ้าพระธรรมจักรให้ดำรงอยู่ส่งเสียงสีหนาทกึกก้องไปทั่วชมพูทวีป
  4. รองลงมาจากรูปสัตว์สำคัญเหล่านั้น เป็นรูปกลีบบัว อันเป็นดอกไม้ประจำพระพุทธศาสนา หรือ ความบริสุทธิ์นั่นเอง

ภาพโดย MTHAI TEAM

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 1 ใน 7 สหชาติของพระพุทธเจ้าตั้งอยู่ที่ใด
รู้จัก ธงฉัพพรรณรังสี 6 รัศมีที่แผ่ออกมาจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า
วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร วัดเคียงวัง รางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น