พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดปทุมวนาราม วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร วัดเคียงวัง รางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร มีชื่อเสียงจากป่ากลางเมือง หรือที่เรียกว่า "สวนป่าศาลาพระราชศรัทธา" ที่มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมอย่างหนาแน่น จนแทบไม่เห็นอาคารสูงโดยรอบ เสมือนอยู่ในป่า

Home / กรุงเทพมหานครฯ / วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร วัดเคียงวัง รางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีจุดเด่นคือเป็นวัดกลางเมือง ตั้งอยู่ระหว่างศูนย์การค้าสยามพารากอนและห้างเซ็นทรัลเวิลด์ วัดสถาปนาขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2400 และฉลองพระอารามในปี พ.ศ. 2410

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริถึงที่นาหลวงบริเวณทุ่งกะปิ ริมคลองสามเสนให้ขุดสระเพื่อเป็นสวนสำหรับเสด็จประพาสในเขตพระราชฐาน พระราชทานนามว่า พระราชวังประทุมวัน ภายในสร้างพระที่นั่ง 2 ชั้น คือ พระที่นั่งประทุมมาภิรมย์ทางด้านทิศเหนือ ส่วนบริเวณด้านทิศใต้ฝั่งตะวันตกโปรดฯ ให้สร้างพระอาราม “วัดประปทุมวันนาราม“ หรือ “วัดปทุมวนาราม” เพื่อพระราชทานแด่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ พระมเหสี) และเมื่อครั้งเสด็จมาประทับแรม ก็จะโปรดฯให้อาราธนาพระราชาคณะลงเรือสำปั้น พายเข้าไปรับบิณฑบาตในเขตพระราชฐานในตอนเช้า เมื่อเย็นย่ำก็จัดให้มีผ้าป่า ให้เรือข้าราชการเล่นเพลงสักวาดอกสร้อย มีละครข้างในที่พระราชวังดังนี้ทุกๆ ปี กลายเป็นวัดเคียงวัง

พระอุโบสถ

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังโปรดฯ ให้สร้างเสนาสนะสำคัญในเขตพุทธาวาส ดังปรากฏในหมายรับสั่งความว่า “…ให้สฐาปนาการเปนพระอารามสร้าง พระมหาสฐูปเจดีย์ มีชั้นชุกชีชั้นทักษิน ซึ่งภายหลังได้เชิญพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งนำมาแต่สีหฬทวีป แลพุกามประเทศบัญจุไว้ ณ ภายในแลพระอุโบสถหลังหนึ่ง ด้านตะวันออกสำหรับพระมหาเจดีย์มีกำแพงแก้ววงรอบ มีมหาสีมาชั้นนอก ขัณฑสีมาชั้นใน…แลให้สร้างที่ประดิษฐานไม้พระมหาโพธิซึ่งนำพืชมาแต่สีหฬทวีป มีระเบียงล้อมรอบทั้ง 4 ด้านแลสร้างพระวิหารใหญ่ เปนที่ธรรมสวนะสฐานสำหรับพระมหาโพธิ…”

สถูปเจดีย์
เจดีย์
เจดีย์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงก่อพระฤกษ์พระอุโบสถ ณ วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2400 และโปรดฯ ให้อาราธนาพระสงฆ์ธรรมยุตติกนิกายจากวัดบวรนิเวศวิหาร จำนวน 9 รูปมาจำพรรษาที่พระอาราม พระราชทานสมณศักดิ์ พระครูประทุมธรรมธาดา (กล่ำ) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคแห่ขึ้นไปรับพระพุทธปฏิมาสำคัญ 2 องค์คือ พระแสน (พระแสนเมืองมหาไชย) และพระสายน์ จากวัดเขมาภิรตาราม จ.นนทบุรี มาประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดประทุมวนาราม และโปรดฯให้อันเชิญ พระแสน มาประดิษฐานเป็นองค์ประธานภายในพระวิหาร เมื่อวันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2400

วัดปทุมวนาราม
พระสายน์

คาถาบูชาหลวงพ่อพระสายน์

(ตั้งนะโม 3 จบ)
เสยยะพุทธะปะฏิมากะรัง อะหังวันทามิ สัพพะทา
นะมะการานุภาเวนะ นิททุกโข นิรุปัททะโว
สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะตะถาคะโต
สิทธิเตโช ขะโย นิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง
สัพพะกัมมัง ปะสิทธิเม สัพพะสิทธิ ภะวันตุ เมฯ

นอกจากนี้ยัง ได้อัญเชิญพระเสริม (ພຮະເສີມ) พระพุทธรูปศิลปะล้านช้างเวียงจันทน์ ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนบัลลังก์แอวขัน ปางมารวิชัย พระเกตุโมลีเป็นเอกลักษณ์โดยมีเส้นเปลวพระรัศมีเรียวและปลายม้วน หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณ์งดงามโดดเด่น ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 นิ้ว โดยได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 3 พระพุทธรูปลาวอันงดงามที่สยามอัญเชิญมาจากลาว เพื่อประดิษฐาน ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส ก่อนจะย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร โดยเหตุที่อัญเชิญพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างเวียงจันทน์ มาประดิษฐานที่วัดนี้ก็เพื่อให้ชาวลาว ซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนลาวใกล้เคียงวัดได้เคารพบูชา

<a href=คาถาบูชาหลวงพ่อเสริม” class=”wp-image-318000″/>

พระคาถาบูชาหลวงพ่อเสริม

(ตั้งนะโม 3 จบ)
นะโม พุทธายะ
นะ เสริมส่ง โม เสริมสุข พุท เสริมโชค
ธา เสริมลาภ ยะ เสริมทรัพย์
อำนาจ วาสนา บารมี อะหัง วันทามิ
สัพพะ โสตถี ภะวันตุเม

สถาปัตยกรรม
วัดปทุมวนาราม

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร มีชื่อเสียงจากป่ากลางเมือง หรือที่เรียกว่า “สวนป่าศาลาพระราชศรัทธา” ที่มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมอย่างหนาแน่น จนแทบไม่เห็นอาคารสูงโดยรอบ เสมือนอยู่ในป่า จึงเป็นสถานที่สำหรับการเจริญธรรมวิปัสสนา นั่งสมาธิ และฟังธรรม วัดแห่งนี้ยังได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2556 อีกด้วย

แหล่งอ้างอิง :

หม่อมราชวงศ์ แน่งน้อย ศักดิ์ศรี. “วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ทำไมต้องตักบาตรด้วยข้าวเหนียว?”, ศิลปวัฒนธรรม, ตุลาคม 2557

watpathumwanaram

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทสวดเวียนเทียน 3 รอบ (พร้อมคำแปล)

ตำแหน่งไฝที่เท้า บอกเล่าโชคชะตาของคุณ ก้มดูด่วนเลยวิ

สีปากกาประจำปีเกิด เลือกใช้ถูกโฉลกเสริมดวงการงาน