กิจกรรมวันเข้าพรรษา ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา 2566

วันเข้าพรรษา 2566 ประวัติ-กิจกรรมวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา ๒๕๖๖ ตรงกับวันพุธที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ตามพระพุทธบัญญัติว่า เมื่อถึงวันเข้าพรรษาพระสงฆ์ต้องเข้าจำพรรษา

Home / ธรรมะ / วันเข้าพรรษา 2566 ประวัติ-กิจกรรมวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา ๒๕๖๖ ตรงกับวันพุธที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ตามพระพุทธบัญญัติว่า เมื่อถึงวันเข้าพรรษาพระสงฆ์ต้องเข้าจำพรรษา ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งที่ทรงอนุญาตให้เข้าอาศัยอยู่ได้ โดยไม่ผิดกฎที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้อยู่จำพรรษาในสถานที่อันไม่สมควร เช่น ในโลงผี ในที่กลางแจ้ง ในกลด หรือแม้กระทั่ง ในตุ่ม ดังนั้น พระสงฆ์ต้องประพฤติปฎิบัติตามกิจของสงฆ์ คือก่อนที่ถึงวันเข้าพรรษา พระสงฆ์ ควรทำความสะอาดตามเสนาสนะสำหรับอยู่จำพรรษา รวมถึง พระอุโบสถ และอื่นๆ

โดยพระสงฆ์จะต้องประกอบพิธีอธิษฐานพรรษา คือการตั้งอธิษฐานใจของตนเองว่าตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ จะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า “ข้าพเจ้าจะอยู่จำพรรษาในที่อาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน” เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ (ประมาณเดือนกรกฎาคม) ไปจนถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังจากเสร็จพิธีแล้ว พระสงฆ์ก็จะนำดอกไม้ ธูปเทียนไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระผู้ที่ตนเองนับถือ

วันเข้าพรรษา

ประวัติวันเข้าพรรษา

โดยพระสงฆ์จะต้องประกอบพิธีอธิษฐานพรรษา คือการตั้งอธิษฐานใจของตนเองว่าตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ จะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า “ข้าพเจ้าจะอยู่จำพรรษาในที่อาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน” เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ (ประมาณเดือนกรกฎาคม) ไปจนถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังจากเสร็จพิธีแล้ว พระสงฆ์ก็จะนำดอกไม้ ธูปเทียนไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระผู้ที่ตนเองนับถือ
กิจวัตรของพระภิกษุในช่วงวันเข้าพรรษา
ในช่วงเข้าพรรษา กิจวัตรของพระภิกษุจะคล้ายกับวันออกพรรษา เพียงแต่พระภิกษุสงฆ์จะต้องไม่ออกไปนอกพื้นที่ พระภิกษุสงฆ์ที่มีพรรษามากกว่า จะทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์ ใครถนัดด้านวิชาใด ก็สั่งสอนเผยแพร่แก่พระภิกษุสงฆ์ที่พรรษาน้อยกว่า ช่วงวันเข้าพรรษานี้จึงจะทำให้พระภิกษุสงฆ์มีโอกาสได้ศึกษาพระไตรปิฏกมากยิ่งขึ้น

ประเพณีที่นิยมในวันเข้าพรรษา

ประเพณีการหล่อเทียนพรรษา (วันเข้าพรรษา) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติทำกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล มูลเหตุที่ต้องมีการหล่อเทียนเข้าพรรษานั้นเนื่องมาจากในฤดูฝน หรือเรียกว่า “ฤดูการเข้าพรรษา” พระสงฆ์ต้องจำพรรษาสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าค่ำ ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องใช้เทียนไว้สำหรับ จุดบูชาให้ตลอดพรรษา พุทธศาสนิกชนจึงพร้อมใจกันหล่อพรรษา เพื่อนำไปถวายแก่พระสงฆ์ไว้จุดบูชา ทำกิจของสงฆ์ตลอด ๓ เดือน จึงเรียกเทียนที่หล่อขึ้นมานี้ว่า “เทียนพรรษา” หรือ “เทียนจำนำพรรษา”

กิจกรรมวันเข้าเข้าพรรษา
กิจกรรมวันเข้าพรรษา

กิจกรรมวันเข้าพรรษา

  • ถวายเทียนเข้าพรรษา หรือถวายหลอดไฟ ตามความสะดวกของพุทธศาสนิกชน
  • ถวายผ้าอาบน้ำฝน
  • ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม
  • สวดมนต์ทำวัตร
  • รักษาอุโบสถศีลหรือศีล 5
  • งดซึ่งอบายมุขต่างๆ เช่น ดื่มสุราฯ
  • ทำบุญ ปล่อยปลา ไถ่ชีวิต โค-กระบือ
  • ทำบุญบริจาคค่าน้ำ-ค่าไฟ บำรุงศาสนา

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

บทสวดเวียนเทียนวันอาสาฬหบูชา 2566

พระอัญญาโกณฑัญญะ พระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา

คำถวายเทียนพรรษา 2566 พร้อมคำแปล