ดอยสุเทพ วัดผาลาด เชียงใหม่

วัดผาลาด วัดสวยกลางป่า พิกัดดอยสุเทพ เชียงใหม่

วัดผาลาด หรือ วัดสกทาคามีวนาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย (ชื่อ ผาลาด เรียกตามลักษณะของผาน้ำตกที่ลาดชัน ผู้เฒ่าผู้แก่บางท่านเล่าว่า เดิมเรียก วัดผะเลิด เพราะคนที่เดิมตามช้างมาตามธารน้ำตกลื่นหกล้มกันหลายคน บ้างก็ว่าช้างก็ลื่นเหมือนกัน จึงให้ชื่อว่าวัดผะเลิด ต่อมาเรียกเป็น ผาลาด…

Home / เชียงใหม่ / วัดผาลาด วัดสวยกลางป่า พิกัดดอยสุเทพ เชียงใหม่

วัดผาลาด หรือ วัดสกทาคามีวนาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย (ชื่อ ผาลาด เรียกตามลักษณะของผาน้ำตกที่ลาดชัน ผู้เฒ่าผู้แก่บางท่านเล่าว่า เดิมเรียก วัดผะเลิด เพราะคนที่เดิมตามช้างมาตามธารน้ำตกลื่นหกล้มกันหลายคน บ้างก็ว่าช้างก็ลื่นเหมือนกัน จึงให้ชื่อว่าวัดผะเลิด ต่อมาเรียกเป็น ผาลาด ตามชื่อ ผาน้ำตก)ไม่ปรากฏประวัติการสร้างวัดนี้ในเอกสารตำนานและพงศาวดาร แต่มีปรากฏชื่อวัดผาลาดในสมัยพระเจ้ากือนา เมื่อพระองค์นำพระสารีริกธาตุที่พระมหาสุมณเถระนำมาจากสุโขทัยประทับบนหลังช้าง เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพ และในครั้งนั้นพระองค์ทรงแวะพักที่ผาลาด

วิหาร
บ่อน้ำ
วัดผาลาด
พระพุทธรูป

โบราณสถานภายในวัด

วัดสวยเชียงใหม่

1.วิหาร สร้างขึ้นในสมัยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ โดยเลี่ยงจากฐานวิหารเดิมมาทางทิศเหนือ เพื่อไม่ให้ซ้อนที่กัน โดยมีหลวงโยนการวิจิต หรือ พญาตะก่า ชาวพม่า ผู้เป็นลูกศิษย์ของครูบาโสภา (เทิ้ม) วัดแสนฝาง และครูบาสิทธิ วัดท่าสะต๋อย หน้าบั้นวิหารแกะสลักเป็นรูปนกยูง ส่วนด้านหลังแกะเป็นรูปกระต่าย

เจดีย์

2.เจดีย์ เป็นศิลปะพม่า เป็นทรงระฆังกลมแบบพุกาม สร้างโดยช่างชาวพม่า พร้อมกับวิหาร ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีขโมยแอบขุดเจาะเอาของมีค่าออกไป จนเป็นเหตุให้ยอดเจดีย์พังลงมา องค์เจดีย์กลวงเป็นรูใหญ่ ทั้งสองด้าน ปี 2545 อาจารย์สุวิทย์ จากศิลปกรได้ขอนุญาตเข้ามาบูรณะให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงขึ้น ปี พ.ศ. 2546 พระมหาสง่า ธีรสํวโร ได้อาราธนาครูบาปัญญาวชิระ วัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง) นำญาติโยมมาช่วยบูรณะต่อเติมจนเต็มองค์ และอาราธนาพระญาณสมโภชมาเป็นประธานทำพิธียกฉัตรในปีเดียวกัน

3.บ่อน้ำ บ้างบอกว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์ จากการสังเกตทำให้ทราบว่ามีการสร้างบูรณะขึ้นหลายครั้ง จึงสันนิษฐานว่า ครั้งที่หนึ่งสร้างขึ้นร่วมสมัยการอัญเชิญพระธาตุขึ้นประดิษฐานบนดอยสุเทพของพระเจ้ากือนา เพื่อเอาน้ำไว้กิน อาบ เป็นวิธีการกรองน้ำอย่างหนึ่งของคนโบราณ จะได้ไม่ต้องใช้น้ำจากลำห้วยโดยตรง
ครั้งที่สองน่าจะเป็นสมัยที่พม่าครองเมืองเชียงใหม่ (ดูจากอิฐที่ปากบ่อน้ำ) และครั้งที่สามในสมัยครูบาศรีวิชัย โดยหลวงโยนการวิจิตร (อุปโยคิน) การสร้างมณฑปครอบบ่อน้ำนี้เป็นประเพณีที่นิยมทำกันในถิ่นชาวไต และทางภาคเหนือของพม่า

หอพระ

4.พระพุทธรูปหน้าผา เดิมเป็นหอพระพุทธรูปที่สวยงามมาก เป็นวิหารสี่เหลี่ยมตามแนวผ่า ศิลป์พม่าร่วมสมัย มีผู้เล่าว่าสมัยก่อนพระที่อยู่หน้าผาเป็นพระศิลป์แบบเชียงแสน และมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งเรียกว่าพระไล่กา (เหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้ เพราะว่า อีกา ไม่สามารถบินผ่านวัดขึ้นไปได้ เพราะพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว แม้แต่ผู้คนที่ขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพ หากนำอาหารติดตัวมา ที่เป็นเนื้อไม่ว่าสุกหรือดิบจะไม่สามารถเอาผ่านวัดนี้ไปได้ หากไม่เชื่อจะมีอาการปวดหัว ปวดท้อง) ภายหลังมีชาวบ้านขึ้นมาหลบภัยสงครามอยู่ ณ ถ้ำผาลาด จึงพากันสร้างพระพุทธรูปไว้สักการะ และป้องกันภัยสันนิษฐานว่าถ้ำน่าจะอยู่ตรงพระพุทธรูปที่หน้าผา หรือไม่ก็อยู่ทางด้านข้างใกล้ ๆ กับบริเวณหอพระพุทธรูปนี้

5.วิหารพระเจ้ากือนา ปัจจุบันเห็นแต่งเพียงแนวอิฐ อยู่ข้างลำธาร ตรงฐานพระประธาน ได้สร้างศาลาครอบเอาไว้ แต่ยังมองเห็นแนวแท่นพระอยู่ ขณะนี้วัดกำลังปรับภูมิทัศน์บริเวณดังกล่าวเพื่อให้เป็นสถานที่นั่งปฏิบัติธรรม

6.วิหารวัดสามยอบ และม่อนภาวนา ปัจจุบันเห็นแต่งเพียงเนินดินสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 20 x 40 เมตร มีอิฐ และลวดลายปูนปั้น ตกกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณด้านหน้าวิหารมีร่องรอยของสระน้ำอยู่

นรสิงห์
ป่าไผ่
บันได
หอพระ
หอพระ

ที่อยู่ : บ้านห้วยผาลาด ถนนศรีวิชัย ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เปิดให้เข้าชม : 06.00 น. -18.00 น.
ภาพประกอบโดย Touchchamanee

แหล่งอ้างอิง

www.suthep.go.th

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

11 วัดสายมู ขอพรสุขภาพ แจกเคล็ดลับไม่เจ็บ ไม่ไข้ต้องขอแบบนี้

วิธีรับพลังจาก ไลฟ์สไตล์สายมู อย่างรู้ทันกลโกงในยุค 5G

วัยเบญจเพสมีกี่รอบ ? พร้อมแนะ วิธีแก้เคล็ดวัยเบญจเพส ที่ไม่ควรพลาด