พระคันธารราฐ วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระคันธารราฐ วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระคันธารราฐ วัดหน้าพระเมรุ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารน้อย หรือ พระวิหารเขียน ซึ่งอยู่ด้านข้างของพระอุโบสถ พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปศิลาเขียว ศิลปะทวารวดี ประทับนั่งห้อยพระบาท

Home / พระนครศรีอยุธยา / พระคันธารราฐ วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระคันธารราฐ

คาถาบูชาพระคันธารราฐ

ตั้งนะโม ๓ จบ

สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง
สิทธิการิยะ ตะถาคะโต
สิทธิลาโภ นิรันตานัง
สิทธิเตโช ชะโยนิจจัง
สัพพะสิทธิ ภะวันตุโว
อะหังวันทามิ สัพพะทา

พระคันธารราฐ วัดหน้าพระเมรุ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารน้อย หรือ พระวิหารเขียน ซึ่งอยู่ด้านข้างของพระอุโบสถ
พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปศิลาเขียว ศิลปะทวารวดี ประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางคว่ำอยู่บนพระชานุ (เข่า) เบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง) มีพนักพิง และเหนือขึ้นไปหลังพระเศียรมีประภามณฑล หรือ รัศมี มีสลักลายที่ขอบ คาดว่าเดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา แต่จากการบูรณะเมื่อขุดพบและนำมาประดิษฐานที่วัดหน้าพระเมรุ พระหัตถ์ทั้งสองด้านเปลี่ยนเป็นวางคว่ำอยู่บนพระชานุ (เข่า) มีขนาดหน้าตักกว้าง 1.7 เมตร สูง 5.2 เมตร ศิลาเขียวที่สร้างเป็นวัสดุหินปูนที่มีสีเขียวแก่ (Bluish Limestone)

แต่เดิมพระคันธารราฐน่าจะเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ ในเกาะเมืองอยุธยามาก่อน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ พระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาพระนครศรีอยุธยาในขณะนั้น เป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุ จึงได้ขุดพบพระคันธารราฐองค์นี้ แล้วได้มีการเคลื่อนย้ายอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารน้อย ที่เพึ่งสร้างขึ้นใหม่ ณ วัดหน้าพระเมรุ จนถึงปัจจุบัน

พระคันธารราฐ วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สำหรับพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สร้างจากศิลาประทับนั่งห้อยพระบาทปางปฐมเทศนานี้ ปรากฏในโลกเพียง 6 องค์เท่านั้น (ในจำนวนนี้อยู่ในประเทศไทยจำนวน 5 องค์) ประดิษฐานอยู่ในที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปศิลาเขียว คือ พระคันธารราฐ องค์นี้
  2. วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม เป็นพระพุทธรูปศิลาขาว ชื่อ หลวงพ่อประทานพร เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ
  3. วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม เป็นพระพุทธรูปศิลาขาว ชื่อ พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร หรือ หลวงพ่อขาว
  4. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปศิลาขาว
  5. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปศิลาขาว
  6. พระวิหารเมนดุต ณ จันทิเมนดุต (Candi Mendut) หรือวัดเมนดุต พุทธสถานขนาดเล็กที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) ประเทศอินโดนีเซีย เป็นพระพุทธรูปศิลาขาว

แผนที่วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา