การผลัดแผ่นดิน กาลครั้งหนึ่ง ยามาดะ นางามาซะ ออกญาเสนาภิมุข อโยธยา

อโยธยา : [EP.2] ซามูไรผลัดถิ่น สู่ออกญาในอยุธา และการผลัดแผ่นดิน

เรื่องราวของซามูไรพลัดถิ่น สู่บรรดาศักดิ์ในราชสำนัก และนำไปสู่การพัวพันกับการสิ้นสุดราชวงค์สุโขทัย

Home / TELL / อโยธยา : [EP.2] ซามูไรผลัดถิ่น สู่ออกญาในอยุธา และการผลัดแผ่นดิน

ประเด็นน่าสนใจ

หลังจากที่พระเจ้าอู่ทองได้สถาปนาอยุธยา เป็นราชธานี เมื่อราวปี พ.ศ. ๑๘๓๙ หลังสามารถรวบรวมอาณาจักรละโว้ และอาณาจักรสุพรรณภูมิเข้าด้วยกัน และได้ย้ายนครลงมายังพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ซึ่งเป็นบริเวณเกาะเมืองอยุธยาในปัจจบัน รวมถึงเคยเป็นเมืองท่าเรือสำหรับค้าขาย ที่เรียกว่า “อโยธยา”

แม้ในช่วงต้นอยุธยา จะเน้นการขยายราชอาณาจักรออกไป ลงไปถึงนครศรีธรรมราช รวมถึงอาณาจักรมอญ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า และนั่นทำให้พม่าไม่พอใจ จนนำไปสู่การกรีฑาทัพเข้ามาตีอยุธยา และนำไปสู่ การเสียกรุงในช่วงครั้งที่ 1 ภายหลังในการกู้เอกราช โดยสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากชาวต่างชาติ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการค้าขายในกรุงเศรีอยุธา

การค้าขายรุ่งเรืองมากขึ้น และมีการเข้ามาของชาวต่างชาติมากขึ้น ทำให้อยุธยามีความเป็น พหุสังคมอย่างมาก และกลุ่มชาวต่างชาติก็เข้ามามีบทบาทในราชสำนักอยุธยามากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อเนื่อง การเจริญสัมพันธไมตรีกับชาติต่าง ๆ มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น โปรตุเกส ญี่ปุ่น

ภาพวาดขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค สมัยพระนาราย
(Tokyo National Museum)

ยุคสมัยแห่งซามูไรพลัดถิ่น

ในช่วงของการกอบกู้เอกราชในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรฯ โดยมีการปรากฏคำว่า “ญี่ปุ่น” ในเอกสาร-บันทึกของไทยที่เป็นหลักฐานอย่างชัดเจนในยุคสมัยนี้เป็นครั้งแรก* โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในสงครามยุทธหัตถี ในฐานะของกองทหารอาสา ทำให้บทบาทของชาวญี่ปุ่นเป็นที่ประจักษ์ในอยุธยาและได้รับการยอมรับอย่างมาก ต่อเนื่องไปจนถึงรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

ภาพแผนที่อยุธยา

หนึ่งในสาเหตุที่ในช่วงเวลาดังกล่าว เหล่านักรบของญี่ปุ่นเข้ามาร่วมเป็นกองกำลังอาสาจำนวนมากนั้น ในประเทศญี่ปุ่นมีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้น ก่อนการสถาปนาระบบโชกุน ทำให้บรรดาโรนิน ซามูไรที่รอดชีวิตจากสงคราม ทำให้มีการเดินทางมากับเรือสินค้าเข้ามายังอยุธยามากขึ้นในช่วงนั้น ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีความสามารถและมีความเชี่ยวชาญในการรบ จึงทำให้สามารถจัดตั้งเป็นกองกำลังอาสา เข้าร่วมสู้รบกับอยุธยาอยู่บ่อยครั้ง

ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยอยุธยา นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวร และรุ่งเรืองมากขึ้นในยุคสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถกับ โชกุนอิเอยาสุ ที่เปิดให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามาตั้งรกรากในอยุธยาได้มากขึ้น

ต่อมาถึงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ที่ได้ทรงโปรดที่จะเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น แม้ในช่วงต้นรัชกาลของพระองค์ก็ตามเมื่อต้องขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ หลังออกญากรมนายไวยถูกประหารในฐานกบฏ ทำให้บรรดากองทหารภายใต้สังกัด ออกญากรมนายไวย เข้าบุกเพื่อหวังแก้แค้นให้ ออกญากรมนายไวย แต่ในภายหลังกองกำลังญี่ปุ่นกลุ่มนี้ก็ถูกปราบปรามในที่สุด**

หมายเหตุ:
*แม้ว่าจะมีหลักฐานบางส่วนที่ระบุว่า ญี่ปุ่นมีความการติดต่อกับกับดินแดนในแถบนี้ มาตั้งแต่ช่วงก่อนสมัยสุโขทัย หากแต่เป็นการติดต่อผ่านคนกลางอย่างพ่อค้าชาวจีน-เกาหลี
** กบฏญี่ปุ่น ช่วงต้นรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม มีบันทึกไว้หลายทาง หลายช่วงเวลา แต่โดยสรุป เป็นปมของการแก้แค้นให้ผู้เป็นนายตามวิถีซามูไร ก่อนถูกไล่ปราบปรามในท้ายที่สุด

สู่บรรดาศักดิ์ ออกญาเสนาภิมุข

ยามาดะ นางามาซะ เป็นหนึ่งในซามูไรชาวญี่ปุ่น ที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเมื่อครั้งที่อยู่ในญี่ปุ่น ตามพงศาวดารที่บันทึกไว้ว่า ยามาดะ เป็นซามูไร ซึ่งมีตำแหน่งไม่สูง เป็นเพียงหนึ่งผู้รับใช้ โอคุโบะ จิเอมอง เจ้าแห่งแคว้นซุนชู

ยามาดะ นางามาซะ
(Tokyo National Museum)

ซึ่งยามาดะ เดินทางมาพร้อมคณะทูตจากเมืองเอโดะ หรือโตเกียวในปัจจุบัน ในการเจริญสัมพันธไมตรีต่อกันระหว่างญี่ปุ่น และอยุธยา ในพงสาวดารบางตำราระบุว่า หนึ่งในเหตุผลที่ยามาดะ เดินทางมายังอยุธยาเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า จากสถานะที่เป็นแค่คนหามเกี้ยวให้นาย บางตำราระบุว่า ยามาดะอยู่ในสถานะของโรนิน หรือซามูไรที่ไร้นาย ฯลฯ

แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ยามาดะก็สามารถเข้ารับราชการในกรมอาสาญี่ปุ่นได้ ได้รับตำแหน่งขึ้นเป็นหัวหน้าหมู่บ้านญี่ปุ่น ที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอยุธา ซึ่งเป็นชุมชนชาวญี่ปุ่นในอยุธยา โดยตามบันทึกมีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ราว 1,000 คน ไปจนถึง 3,000 คน และเป็นกองกำลังทหารชาวญี่ปุ่นอีกราว 600-800 คน ซึ่งต่างกันไปในแต่ละฉบับ

ก่อนที่เจริญก้าวหน้าในราชการ จนได้เลื่อนขั้นขึ้นเป็นเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น ตำแหน่งเป็นออกญา ชื่อว่า ออกญาเสนาภิมุข ด้วยพระเจ้าทรงธรรมทรงโปรดที่จะเจริญสัมพันธไมตรีกับญีปุ่น และเห็นความดีความชอบในการรับราชการต่าง ๆ ตั้งแต่การดูแลการค้า พ่อค้าระหว่างอยุธยา – ญี่ปุ่น ไปจนถึงการนำกองกำลังอาสาของชาวญี่ปุ่น ออกปราบกบฏหลายครั้งด้วยกัน

ซึ่งการมีตัวตนของยามาดะ หรือ ออกญาเสนาภิมุขนั้น ถือเป็นส่วนสำคัญให้การเจริญสัมพันธไมตรีระหว่าง ญี่ปุ่น – อยุธยา รุ่งเรืองมากที่สุดในยุคของพระเจ้าทรงธรรมนี่เอง มีการส่งเครื่องบรรณาการ – คณะราชทูตแลกเปลี่ยนระหว่างกันอยู่หลายครั้ง

ความวุ่นวาย – ผลัดแผ่นดิน

ตลอดช่วงเวลาในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศถือว่า อยู่ในจุดรุ่งเรือง กรุงศรีอยุธยาถือเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ มีพ่อค้า-ราชทูต จากทั้งฮอลันดา ญี่ปุ่น อังกฤษ ฯลฯ เข้ามาทำการค้าขายอย่างมาก แต่แล้วความวุ่นวายก็เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัย เมื่อสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมประชวร ซึ่งเมื่อท้ายที่สุดแล้วพระองค์ได้ทรงมอบออกญาศรีวรวงศ์ ในการดูแลให้ สมเด็จพระเชษฐาธิราช พระราชโอรสองค์ใหญ่ เพื่อขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์

ในเวลานั้นขุนนางในราชสำนักแตกออกเป็นสองฝ่าย ส่วนหนึ่งเห็นว่า ราชสมบัติควรตกเป็นของพระอนุชาของพระเจ้าทรงธรรม ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และ ญาศรีวรวงศ์ เห็นว่า ควรมอบให้โอรส

เมื่อภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต ออกญาศรีวรวงค์แจ้งต่อที่ประชุมเสนาบดี โดยมีออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ นางามาซะ) เข้าร่วมเป็นกำลังให้ ว่า พระเจ้าทรงธรรมทรงต้องการมอบราชสมบัติให้พระราชโอรส คือ สมเด็จพระเชษฐาธิราช ก็ได้ขึ้นสืบราชสมบัติ ในขณะนั้น สมเด็จพระเชษฐาธิราช มีพระชนมายุได้ 15 พรรษาเท่านั้น

จากข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นนำไปสู่การที่ ออกญาศรีวรวงค์และออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ) เข้าปราบปรามฝ่ายของที่สนับสนุนพระพันปีศรีสินพระอนุชาของพระเจ้าทรงธรรม และท้ายที่สุดก็นำตัวพระพันปีศรีสิน มาสำเร็จโทษ ที่วัดโคกพระยา ฐานซ่องสุมกำลัง – ก่อกบฏ

และผลจากความดีความชอบนั้นทำให้ ออกญาศรีวรวงค์รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน มารดาของเจ้าพระยากลาโหมฯ ถึงแก่กรรม ทำให้มีขุนนางใหญ่น้อย เข้าไปร่วมงานเป็นอันมาก เมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราชออกว่าราชการ ทรงเห็นว่า ขุนนางน้อยใหญ่ต่างหายไป ประกอบกับมีผู้ยุแยง ทำให้ทรงเชื่อว่า เจ้าพระยากลาโหมฯ คิดการใหญ่ เตรียมก่อกบฏ จึงต้องการจะสังหาร เจ้าพระยากลาโหมฯ เสีย แต่ข่าวรู้ถึงหูเจ้าพระยากลาโหมฯ ก่อน จึงประกาศว่า

“เราทำราชการด้วยความสุจริต แต่เจ้าแผ่นดินว่าเราเป็นกบฏแล้ว
เราจะทำตามรับสั่ง”

สถาปนาราชวงศ์ปราสาททอง

หลังจากที่เจ้าพระยากลาโหมฯ ตัดสินใจดังนั้นแล้ว ก็ยกไพร่พลเข้าก่อกบฏขึ้นตามที่ถูกกล่าวหา สมเด็จพระเชษฐาธิราชได้หนีลงเรือไปยัง ก่อนเจ้าพระยากลาโหมออกติดตามมาได้ และนำไปตัวไปสำเร็จโทษ และให้พระอาทิตยวงศ์ ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อด้วยพระชนมายุเพียง 9 พรรษา ผ่านไปได้ไม่กี่เดือน เหล่าขุนนางจึงเห็นว่า พระอาทิตยวงศ์ยังทรงพระเยาว์เกินไปที่จะทำการใด ๆ ได้ จึงได้ตัดสินใจที่จะ ให้เจ้าพระยากลาโหมขึ้นครองราชย์แทน

แต่ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ในเมือราชบัลลังค์ ยังคงมีออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ นางามาซะ) หนุนหลังอยู่อีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากยามาดะ เชื่อว่า การสืบราชบัลลังก์นั้น จะต้องเป็นไปตามการสืบสัตติวงศ์ตามราชประเพณีตั้งแต่เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคต นอกจากนี้ ออกญาเสมาภิมุข หรือ ยามาดะ ยังเปรียบได้กลับหอกข้างแคร่ที่มีทั้งบรรดาศักดิ์ ไพร่พลกองกำลังชาวญี่ปุ่น และแรงหนุนจากพ่อค้าอีกด้วย

เรือสำเภาที่ยามาดะใช้เดินทาง
(Tokyo National Museum)

เจ้าพระยากลาโหม ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทน จึงได้วางกลอุบาย*** โดยการให้ออกญาเสมาภิมุข หรือ ยามาดะ นำกำลังทหารทั้งหมดไปปราบ ออกญานครนครศรีธรรมราช โดยอ้างว่ากำลังก่อกบฏ เนื่องจากไม่ยอมเข้าพิธีถวายน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่กรุงศรีอยุทธยา ซึ่งออกญาเสมาภิมุข หรือ ยามาดะ ก็ได้นำกำลังทหารออกจากอยุธยา เข้าปราบกบฏ และเมื่อมาถึงก็สามารถเคลื่อนกองกำลังเข้าเมืองนครศรีธรรมราชได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากออกญานครฯ นั้นมิได้ก่อการกบฏแต่อย่างใด หากแต่ด้วยติดพันศึกที่เมืองปัตตานี จึงไม่ได้ไปร่วมพิธีฯ

ด้วยศึกที่ปัตตานียังคงมีอยู่ ออกญาเสนาภิมุข หรือยามาดะจึง ต้องเดินทาง ปราบกบฏที่เมืองปัตตานีแทน ทำให้ได้รับบาดเจ็บกลับมารักษาตัวที่เมืองนครศรีธรรมราช และในครั้งนี้ก็ถูกวางยาพิษ จนเสียชีวิต****

ในระหว่างการยามาดะ อยู่ทีนครศรีธรรมราช เจ้าพระยากลาโหม ก็ได้ขึ้นเป็น ทรงพระนามว่า พระเจ้าปราสาททอง จึงถือเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์สุโขทัย เข้าสู่ยุคสมัยแห่งราชวงศ์ปราสาททอง

และนั่น นำไปสู่การวางแผนยุให้แตก นำไปสู่การก่อจราจลในเมืองนครศรีธรรมราช และท้ายที่สุดคือ “การกวาดล้างชาวญี่ปุ่นในอยุธยา” ซึ่งส่งผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสยาม-ญี่ปุ่นต้องร้าวฉาน


หมายเหตุ
*** บางบันทึกระบุว่า เป็นการเนรเทศออกไป ให้ไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งในบันทึกมีเรื่องราวของการก่อกบฏ
**** เรื่องราวเกี่ยวกับการวางยาพิษยังคงมีหลายข้อมูลที่กล่าวถึงว่า ยาพิษถูกใส่มาในยาสมานแผลที่ส่งมาจากอยุธยา บ้างว่า เป็นยาพิษล้วน ๆ