cryptocurrency Facebook Facebook สู่ Meta Meta Metaverse NFT

Facebook สู่ Meta – โลกดิจิตัลแห่งใหม่ – #02 : พื้นที่เสมือนจริงแต่ทุกสิ่งไม่ฟรีเสมอไป

การลงทุนมีความเสี่ยง การสร้างโลกเสมือนจริงก็เช่นกัน แต่นั่นเมื่อประเมินแล้วคุ้มค่าจากสินทรัพย์ในโลกเสมือนจริง

Home / TELL / Facebook สู่ Meta – โลกดิจิตัลแห่งใหม่ – #02 : พื้นที่เสมือนจริงแต่ทุกสิ่งไม่ฟรีเสมอไป

ประเด็นน่าสนใจ

  • [NOTE] บทความชุดนี้เป็นบทความในมุมมองถึงการเปลี่ยนแปลงของ Facebook สู่ Meta
  • ในการลงทุนเปิดโลกใหม่อย่างโลกเสมือนจริง จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี – เงินทุนในการพัฒนาจำนวนไม่น้อยเลย
  • แต่แน่นอนว่า โอกาสในการสร้างรายได้ของ Facebook หรือ Meta ในโลกเสมือนนั้นดูจะมีช่องทางมากมาย และคาดว่าน่าจะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ
  • ซึ่งในโลกเสมือนของมาร์ก ซักเกอร์ยังคงมีความเป็นไปได้คล้ายคลึงกับเมื่อครั้งที่เฟซบุ้กเมื่อหลายปีก่อนหลายส่วน และคาดว่า น่าจะถูกนำมาประยุกต์ใช้ใน Metaverse ครั้งใหม่นี้ด้วย
  • สินทรัพย์ที่จะมีขายในโลกเสมือนมีมากมายเช่น เสื้อผ้า แฟชั่นต่าง ๆ ไอเทม รวมไปถึงที่ดินในโลกเสมือนจริง หรือแม้แต่ภาพวาดสะสม
  • Facebook สู่ Meta

Metaverse โลกเสมือนจริงที่กำลังเป็นที่พูดถึงในขณะนี้ และเป็นกระแสไปทั่วโลก ทำให้หลายคนตื่นเต้นกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นโลกใหม่ที่หลายคนอยากลอง และมาร์ค ซักเกอร์เบิร์กก็เปิดประเด็นขึ้นอีกครั้งตามความตั้งใจที่มาร์ค ตั้งเป้าและหมายมั่นปั้นมือมานาน

แน่นอนว่า ในเป้าหมายของการสร้างโลกเสมือนเหล่านี้ขึ้นมา ส่วนหนึ่งเป็นความมุ่งมั่นในการผลักดันเทคโนโลยีให้เดินต่อไปในการสร้างสรรสิ่งใหม่ สร้างสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้นกับโลกจริงที่เรายังคงอาศัยอยู่ แต่แน่นอนว่า ในการสร้างสรรเทคโนโลยีใหม่ ๆ สั่งสิ่งหนึ่งที่จะในการเปลี่ยนแปลงโลกไปสู่อีกจุดหนึ่งนั้น นอกจากต้องใช้เวลาแล้ว ทรัพยากรโดยเฉพาะเงินทุนจำนวนมหาศาลที่จะต้องจ่ายลงไป กับสิ่งต่าง ๆ ในการพัฒนานั้นก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

อดีตของ Facebook

ในการเปลี่ยนแปลงโลกสู่โลกเสมือนจริงในครั้งนี้ ของมาร์ค ดูจะได้รับแรงกระเพื่อมมากกว่าครั้งไหน ๆ และมากกว่าใครในวงการไอที ที่ออกมาพูดถึงกัน ส่วนหนึ่งนั่นเพราะความเป็น มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก และเฟซบุ้ก นั่นเอง ที่มีจำนวนผู้ใช้งานนับพันล้านคนทั่วโลก ซึ่งนั่นทำให้ความเป็นไปได้มีสูงขึ้น

เฟซบุ้กก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2003 ที่เปิดเว็บไซต์ในแนว Hot or Not เพื่อให้งานกันเฉพาะภายในกลุ่มเพื่อนในมหาวิทยาลันฮาร์วาด ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้อัพโหลดรูป และให้ผู้เข้าชมกดลงคะแนนว่า ระหว่างสองภาพนี้ ใครฮอตกว่ากัน แน่นอนว่า เว็บไซต์ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีเรื่องราวให้ปิดตัวลงภายในไม่กี่วัน และทำให้เกิดเว็บไซต์ thefacebook.com ขึ้นมา มีการเปิดขยายจากเฉพาะในฮาร์วาด ไปสู่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ จนได้เงินทุนมาร่วมลงทุนด้วย และกลายเป็นเว็บไซต์ Facebook.com

แน่นอนว่า ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 2004 ที่มีการเปิดเว็บไซต์ Facebook.com มีการขยายระบบ ปรับปรุงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก่นอที่จะขยายให้ทุกคนสมัครใช้งานกันได้ในช่วงปี 2006 ท่ามกลางเงินลงทุนที่เข้ามาเป็นระยะ ๆ และตัวเลขเงินลงทุนจะก่อเกิดกำไรให้กับเฟซบุ้กใน ปี 2009

รูปแบบโฆษณาของเฟซบุ้ก

ซึ่งแน่นอนว่า รายได้หลักเหล่านั้นมาจากระบบโฆษณาที่เกิดขึ้นหน้าวอลล์ของผู้ใช้งานที่ปัจจุบันเราคุ้นเคยกับคำว่า บูสต์โพสต์นั่นเอง และสิ่งนี้ก็ถือเป็นรายได้หลักที่ยังสร้างรายได้ให้กับเฟซบุ้กนั่นเอง

โลกเสมือนจริง มีพื้นที่ให้ใช้ฟรี

จากต้นกำเนิดของเฟซบุ้กจะเห็นว่า มีต้นกำเนิดจากการบริการฟรี และหารายได้จากการโฆษณาเป็นหลัก ดังนั้นจึงคาดการณ์ได้ว่า Metaverse ของมาร์ก ก็น่าจะมาในแนวทางเดียวกัน คือให้ใช้บริการได้ฟรี ทุกคนสามารถเข้าไปสร้างตัวตนในโลกเสมือนจริงได้ฟรี มี Horizon Home เป็นของตัวเอง (ส่วนที่เปรียบเหมือนกับหน้า Profile ของแต่ละคนในขณะนี้) มีกลุ่มเพื่อนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แต่ไม่ได้ควบรวมถึง “อุปกรณ์กรณ์” สำหรับใช้งานในการเข้าสู่โลกเสมือนจริงนั้น

นอกจากที่เราจะสร้าง Horizon Home ของเราเองได้แล้ว คาดว่า น่าจะสร้าง Horizon Worlds ของกลุ่มเพื่อน หรือสถานที่ หรือเอกชน ได้ในลักษณะคล้ายกับการสร้างเพจ หรือ กรุ๊ป แบบที่เป็นอยู่ในเฟซบุ้กขณะนี้ แต่ก็เชื่อว่า คงไม่ใช่ใครทุกคนที่สร้างได้ หรือจะสร้างเท่าไหร่ก็ได้

The Sim Social ยังจำกันได้ไหม?

นอกจากนี้ แนวทางหนึ่งที่เฟซบุ้กเคยใช้ในการสร้างความ “ว้าว” ให้โลกโซเซียลนั่นคือ “การเปิด API” ให้กับนักพัฒนาในการเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ระบบต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น เชื่อว่า คนที่เคยเล่นเฟซบุ้กในช่วงปี 2010 -2015 น่าจะคุ้นเคยกับ “เกมบนเฟซบุ้ก” หรือ “แอพฯ บนเฟซบุ้ก” อย่าง City ville, Farm Ville, Sims Social, Pet Society, Diamond Dash, Zynga Poker, EA Sports: FIFA Superstars และอื่น ๆ อีกมากมาย

ซึ่งแอพฯ และเกมเหล่านี้ สร้างกระแสให้คน “ติด” เฟซบุ้กอย่างมากในช่วงนั้น หลายคนต้องเข้ามาเพื่อเก็บผัก, ปลูกผัก, ให้อาหารสัตว์ แข่งขันกับเพื่อนเพื่อแย่งชิงอันดับในกลุ่ม ฯลฯ หลายคนสร้าง Profile ปลอม ๆ ขึ้นมาจำนวนมาก เพื่อกดคำร้อง คำขอ คำเชิญต่าง ๆ มากมายเพื่อให้ได้มาซึ่งไอเทม หรือจำนวนสิทธิ์ที่ต้องการ และต่อมาคำขอ, Invites ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายจนรกหน้าวอลล์อย่างมาก ทำให้หลายคนบล็อกแอพฯ ออกไปในที่สุด และทำให้แอพฯ – เกมดัง ๆ บน Facebook หายไป

และสิ่งที่ว่ามา กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เมื่อ Meta เริ่มดึงกลุ่มนักพัฒนา นักออกแบบ เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรชิ้นงานต่าง ๆ มากขึ้น และจากบทเรียนที่เกิดขึ้นในยุคแอพฯ – เกมเฟซบุ้กเฟื่องฟู คงจะมีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นให้ผู้ใช้งานทั่วไปอย่างเรา ๆ ได้ใช้งานกันฟรี ๆ ไม่น้อยเลยทีเดียว

ธุรกิจสู่ธุรกิจในโลกเสมือน

แน่นอนว่า การลงทุนย่อมต้องมีผลตอบแทน ในปัจจุบัน Facebook มีรายได้หลักจากการโฆษณาที่เปิดให้เอกชน หรือใครก็ตามที่ต้องการโปรโมทสินค้า – บริการของตนสามารถ “บูสต์โพสต์” ลงโฆษณาได้ แต่สิ่งหนึ่งที่จำกัดคือ

“พื้นที่” ในการขายโฆษณาเหล่านั้น มีอยู่อย่างจำกัด

แม้เฟซบุ้กจะมีคนเล่นกว่า 2 พันล้านคน แต่ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อจำนวนคนไม่ได้เพิ่มขึ้น ปริมาณของการขายก็ไม่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับพื้นที่ของการขายที่ก็มีอย่างจำกัด บนไทม์ไลน์, สตอรี, แชท เป็นต้น

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต่างออกไปเมื่อทุกสิ่งเข้าไปอยู่ใน Metaverse!

เกมใน Metaverse

นั่นเพราะโลกเสมือนจริงมีทุกสิ่งให้เราต้องเห็น ต้องสัมผัส สิ่งแรกที่ใกล้ตัวตนของคนเล่นมากที่สุดคื บรรดาเสื้อผ้า หน้าผม ของตัวตอนของเราในโลกเสมือน หากเราย้อนกลับไปในยุคของ Sim Social, Pet Society หลายคน “ยอมที่จะจ่ายเงินซื้อ” เสื้อผ้า สิ่งของให้กับอวาตาร์, สัตว์เลี้ยงของเรา

แฟชั่นใน Metaverse

ใน Metaverse ก็ไม่ต่างกัน เราจะได้เห็นการขายเสื้อแบรนด์หรูในโลกเสมือน , มีการวางขายทรงผมเท่ ๆ, หมวกเก๋ ๆ ในโลกเสมือนจริง แม้มาร์กและทีมงานจะไม่ได้เป็นผู้ผลิตก็ตาม แต่ส่วนแบ่งรายได้ที่จะเกิดขึ้น คงเป็นตัวเลขไม่น้อยเลยทีเดียว

ซึ่งอาจจะควบรวมไปถึงอีเว้นต์ แฟชั่นโชว์เสมือนจริง หรือแม้แต่การประกวด Miss Metaverse ก็เป็นไปได้เช่นกัน

ที่ดิน – อาคาร – ห้อง ในโลกเสมือนจริง

นอกจากนี้ ใน Metaverse ที่มาร์กได้กล่าวถึงในตอนที่เปิดตัวประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักคือ Horizon Worlds – Workrooms – Home ที่เปรียบเสมือนพื้นที่ที่ตัวตนของเราเข้าไปอยู่ได้นั่นคือ โลกเสมือน, ที่ทำงาน และบ้าน และหากสังเกตคำว่า Worlds และ Workrooms จะเห็นว่า มี s ลงท้ายอยู่ด้วย นั่นสื่อเป็นนัยว่า “โลกเสมือนไม่ได้มีเพียงหนึ่ง” , “ห้องทำงานของคุณไม่ได้มีที่เดียว”

ดังนั้น หากบริษัทสักแห่งหนึ่งต้องเปิดบริษัทในโลกเสมือน จำเป็นต้อง “ซื้ออะไรบ้าง” นั่นคือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในโลกเสมือน ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่า “แทบจะไม่ต่างจากโลกจริง” คุณสามารถจะ “ซื้อที่ดิน” ในโลกเสมือนนั้น “สร้างห้อง” ฯลฯ เพื่อใช้งานไม่ว่าจะเป็นเพียงที่รวมกลุ่มของเพื่อนฝูง หรือ ใช้เป็นห้องประชุมในการทำงาน หรืออาจจะควบรวมไปถึง การสร้าง Worlds ขนาดใหญ่ ในการเปิดให้วงดนตรีสักวงนึงเช่า เพื่อจัดคอนเสิร์ตเสมือนจริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทั้งหมด

จากเกมปลูกผักใน Facebook สู่เกมปลูกผักใน Metaverse คำถามคือ เราต้องซื้ออะไรบ้าง ที่ดิน เมล็ด ปุ๋ย ?

โฆษณาในโลกเสมือน

แน่นอนว่า ท้ายที่สุดแล้ว โฆษณาและการตลาดยังคงติดตามเราไปอยู่ทุกที่ เราก็จะได้เห็นโฆษณาสินค้า ไม่ว่าจะเป็นบิลบอร์ดเสมือน และอาจจะมีการตอบสนองที่ต่างไปในรูปแบบต่างไปมากกว่าในโลกจริงในขณะนี้ แต่แน่นอนว่า ราคาของมันก็คงไม่ใช่ในอัตราเดียวกับที่เราบูสต์โพสต์กันในทุกวันนี้อย่างแน่นอน รวมถึงการรับจ้างโพสต์-แชร์โฆษณาในพื้นที่ Horizon Worlds หรือ Horizon Home ของตัวเองด้วยเช่นกัน ไม่ต่างกับการจ้าง Influencer หรือ ลงขายสินค้าในกรุ๊ปปัจจุบันนี้

ของในโลกจริง เพื่อโลกเสมือน

แน่นอน ในหลาย ๆ อย่างที่สามารถทำได้ในโลกเสมือนย่อมมีข้อจำกัด และข้อจำกัดเหล่านั้นมักจะมี “สิ่งของ” มาแก้ไขปัญหาเสมอ ๆ เช่น หากเราต้องการปั่นจักรยานในโลกเสมือน แน่นอน เราก็จำเป็นที่ต้องมีจักรยานในโลกจริงด้วยนั่นเอง สิ่งของในโลกจริง ที่จะช่วยให้เราเข้าถึงความเสมือนจริงเหล่านั้นได้มากขึ้น ก็จะมีเพิ่มขึ้นตั้งแต่แบบดั้งเดิม เช่น จอยพวงมาลัยเกมแข่งรถ และอุปกรณ์ Simulator ที่มีขายกันอยู่ในตอนนี้

ยังไม่นับสินค้าที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเช่น ถุงมือ เสื้อผ้าในโลกจริง ที่ทำให้รู้สึกเหมือนหยิบ จับสัมผัสได้จริง หรือแม้แต่สิ่งที่เป็นข้อจำกัดของโลกดิจิทัลตลอดมาอย่าง กลิ่น – รส ซึ่งเชื่อว่า มีหลายคนมุ่งเป้าในการพัฒนาสิ่งเหล่านี้อยู่

และอื่น ๆ ที่อาจจะสร้างได้

นอกจากที่ว่ามายังคงมีโอกาสที่จะเกิดสิ่งอื่น ๆ ขายกันในโลกเสมือนได้อีกมาก เช่นสินค้าทั่ว ๆ ไป จิปาถะที่เรามองเห็นกันในโลกจริง ๆ เช่น รถ, จักรยาน, เซิร์ฟสเก็ต ฯลฯ นอกเหนือจากอุปกรณ์สำหรับเข้าสู่โลกเสมือนจริงที่จำเป็นต้องใช้งาน

อาจจะเป็นสินค้าสะสม อย่างภาพวาด ก็เกิดขึ้นได้ เพราะในปัจจุบันของสะสมในรูปแบบ NFT กำลังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ เกมต่าง ๆ ที่เป็นในรูปแบบ Play to Earn (เล่นแล้วได้เงิน) ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่เป็น NFT ออกมาขายกันก็มีให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึง “สกุลเงินดิจิทัล” อื่น ๆ ที่อาจจะเข้ามามีบทบาทในโลกเสมือนเหล่านี้อีกจำนวนมาก

ใครเคยส่ง Gift ให้เพื่อนใน Facebook บ้าง?

บทสรุปของโลกเสมือน คือรายได้มหาศาล

ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามา เป็นการคาดการณ์บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มีให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ แน่นอนว่า ในการเกิดขึ้นอาจจะไม่ได้ปัจจุบันทันด่วน แต่ก็คงไม่นานเกินรอ และสิ่งเหล่านี้ที่จะเกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เป็น “เม็ดเงิน” ที่จะเข้าสู่บริษัท Meta ของมาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก ไม่ว่าจะเป็นทางตรงจากการขายตั้งแต่อุปกรณ์ – สินทรัพย์ดิจิตอล หรือทางอ้อม ที่เกิดจากการใช้จ่ายสินค้าเสมือนจริงใน Metaverse และถูกแบ่งให้กับ Meta ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมของระบบนั่นเอง

ทั้งหมดนี้ Meta ก็ดูจะไม่ต่างจากผู้ครอบครองโลกเสมือนจริงไปกลาย ๆ นั่นเอง

[Coming Soon] ปัญหาและความท้าทายของ Metaverse ทั้งผู้สร้างและผู้ใช้งาน


[EP. 01 ] Facebook สู่ Meta – โลกดิจิตัลแห่งใหม่ – #01 : ความทะเยอทะยานของมาร์ค