ประเด็นน่าสนใจ
- [NOTE] บทความชุดนี้เป็นบทความในมุมมองถึงการเปลี่ยนแปลงของ Facebook สู่ Meta
- หลังจากที่เฟซบุ๊กได้แถลงถึงการเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Facebook สู่ Meta เพื่อประกาศตัวเองเข้าสู่ Metaverse
- แน่นอนว่า ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นใน 1-2 ปีนี้ แต่เป็นเป้าหมายที่ถูกตั้งเป้ามายาวนานกว่านั้น ในการที่มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก เข้าซื้อกิจการ พัฒนา และลงทุนในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง
- สิ่งที่ผ่านมา สะท้อนความทะเยอทะยานในการสร้างโลกดิจิตัลแห่งใหม่นั่นเอง
- Facebook สู่ Meta
- [EP. 1] ความทะเยอทะยานของมาร์ค
- [EP. 2] พื้นที่เสมือนจริงแต่ทุกสิ่งไม่ฟรีเสมอไป
- [EP. 3] ความท้าทายสู่โลกเสมือน
- [EP. 4]โลกดิจิตัลแห่งใหม่ – #04 : ตัวตน สังคม กฏหมาย จริยธรรมในโลกเสมือนจริง (เร็ว ๆ นี้)
…
เมื่อสัปดาห์ เฟซบุ๊กได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วถึงโลกใหม่ตามที่ได้มีข่าวก่อนหน้านี้แล้ว นั่นคือการประกาศที่จะพาคนทั่วไป เข้าสู่โลกเสมือนจริงอย่าง Metaverse ที่ก้าวข้ามไปอีกขั้น โดยชื่อใหม่ของบริษัท คือ “Meta” ซึ่งมีเป้าหมายในสร้างเทคโนโลยีขึ้นมาเชื่อมต่อกันกับสิ่งต่าง ๆ
Facebook เป็น Meta เฉพาะบริษัท
ในการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ส่วนหลักคือการเปลี่ยน “ชื่อบริษัท” จาก Facebook เป็น Meta ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ นั้นประกอบด้วยหลายอย่างด้วยกันคือ
Facebook เดิมถูกมองภาพว่าเป็น Social Media ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้จักกันดี เมื่อเอ่ยคำว่า Facebook นั่นคือทุกคนนึกถึง Social media ที่ทุกคนมีโปรไฟล์ส่วนตัว มีเพจไว้ติดตาม แม้ว่าในภายหลัง Facebook จะไปควบรวมบริการอื่น ๆ อย่าง Instagram, Whatapp, Oculus เข้ามาไว้ด้วยกัน
แต่ Facebook ก็ยังวนอยู่ในกรอบของความเป็น Social Media ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Facebook ไปเป็น Meta เพื่อลบภาพเดิม ๆ ของความเป็น Social Media ออกไป และให้มุมมองของบริษัทกว้างขึ้น สามารถก้าวไปสู่สิ่งต่าง ๆ มากขึ้นในอนาคต ผ่านเทคโนโลยีที่ Facebook มีอยู่ และพัฒนาอยู่นั่นอง
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง ชื่อบริการอย่าง Facebook.com, Instagram หรือ Whatapp แต่อย่างใด ยังคงให้บริการอยู่ในชื่อเดิม อย่างน้อยก็ยังคงอีกพักใหญ่กว่า MetaVerse จะพาทุกคนเข้าสู่โลกเสมือนจริงได้
“Meta” ไม่ใช่ความฝันที่เพิ่งเกิด
สำหรับใครหลาย ๆ คน โลกเสมือนจริงที่มีคนเข้าไปอยู่ เป็นสิ่งที่มีการพูดถึงมาหลายปีแล้วเช่นกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเหมือนเป็น “ภาพฝัน” ที่รอวันเป็นจริงของคนในวงการไอที ในช่วงหลายสิบปีมาแล้ว มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ก็ดูจะเป็นหนึ่งในหลายคนนั้นที่ฝันจะอยู่ในโลกเสมือนจริงนี้ด้วย
เมื่อปี 2557 มาร์ค ได้ประกาศในการเข้าซื้อกิจการ Oculus VR ผู้นำด้านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน ด้วยแว่น หูฟัง ซึ่งเมื่อสวมใส่แล้วก็จะเสมือนเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่งได้ พร้อมยังได้โดยได้ตั้งเป้าในการเปิดกว้างในเทคโนโลยีนี้ให้เข้าถึงได้ง่าย เชื่อมโยงกับผู้คนในโลกเสมือนจริงนั้น เพื่อความบันเทิง เพื่อชีวิตส่วนตัว ฯลฯ ได้มากขึ้น
หลังจากที่มาร์ค ได้ประกาศการซื้อกิจการของ Oculus VR ข่าวคราวและกระแสของโลกเสมือนจริงก็กลายเป็นที่จับจ้องมากขึ้น แต่ในการพัฒนาที่เกิดขึ้น ยังคงเป็นการจุดประกายและเริ่มต้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาหลายปี
จนในปี 2559 ภาพของมาร์ค เดินผ่านผู้ร่วมประชุมในงาน Samsung press conference เมืองบาเซโลนา ที่สเปน ก็สร้างกระแสโลกเสมือนจริงไปทั่วโลกอีกครั้ง เมื่อทุกคนในงานสวมใส่แว่นตา VR และมาร์คได้กล่าวบนเวทีว่า
อีกไม่นานเราจะเข้าไปอยู่ในโลกที่ทุก ๆ คน สามารถแบ่งปันประสบการณ์ต่าง ๆ ราวกับอยู่ในสถานที่แห่งนั้นด้วยตัวเอง สามารถออกไปนั่งล้อมวงรอบกองไฟ ออกไปเที่ยวกับเพื่อนได้ตามต้องการ รวมดูหนังกับเพื่อน ๆ ได้ที่เมื่อที่ต้องการ
หรือลองนึกถึงภาพการจัดประชุม หรือกิจกรรมใด ๆ บนโลกนี้ ที่เราสามารถทำได้แทบทั้งสิ้น และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ Facebook เลือกลงทุนอย่างมากในโลกเสมือนจริง และหวังจะสร้างประสบการณ์ของสังคมในโลกเสมือนจริงเหล่านั้น
ทำให้ภาพนี้ กลายเป็นที่พูดถึงในวงการเทคโนโลยีอย่างมาก และหลายคนคิดว่า
นี่จะไม่ใช้แค่แนวคิดที่ว่า “ถ้ามี” แต่จริงๆ คือ “เมื่อไหร่” ต่างหาก
…
The Horizon : Worlds – Workroom – Home ไม่ใช่เรื่องใหม่
ในการแถลงเปิดตัว Meta ในครั้งนี้ มีการพูดถึง Horizon Worlds, Horizon Workrooms, Horizon Home โลกเมือนจริงที่เชื่อม โลก – ห้องทำงาน – บ้าน เข้าด้วยกัน ซึ่งในโลกเสมือนจริง ที่มาร์ค และทีมงานคิดกันไว้ พูดถึงการใช้งานในโลกเสมือนนั้น ไม่ใช่แค่เกม ไม่ใช่แค่สื่อสังคมออนไลน์ แบบ Facebook, Instagram แต่เป็น “เสมือน” โลกจริง ๆ ของเราอีกโลกหนึ่ง ที่เรียกว่า Horizon โดยHorizon จะประกอบไปด้วย
Horizon Worlds
โลกเสมือนที่เปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้คุณได้ “สร้างโลกเสมือนเป็นของตัวเอง” และเปิดให้คนอื่นเข้ามาร่วมสนุกกับคุณก็ได้ หรือจะเข้าไปร่วมสนุก ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ในโลกเสมือนของคนอื่น ๆ ที่สร้างขึ้นก็ได้
ที่เราจะสามารถผจญภัยในพื้นที่ป่าสักแห่ง ตั้งแคมป์ร่วมกับเพื่อน ๆ หรือเข้าไปค้นหาไอเทมลับในวิหารศักสิทธิ์ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เราจะสามารถทำร่วมกับเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ ได้ในโลกเสมือนที่เป็นพื้นที่เหล่านั้น ไม่ต่างกับพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันในปัจจุบัน เช่น ห้างสรรพสินค้า, สวนสาธารณะ
Horizon Workrooms
พื้นที่ทำงานเสมือนจริง ซึ่งท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทำให้เราคุ้นชินกับการทำงานที่บ้าน การประชุมออนไลน์ ผ่านโปรแกรมต่าง ๆ แต่ในโลกของ Horizon Workrooms จะต่างจากนั้นไปอีกระดับ เมื่อเราสามารถที่จะนั่งประชุม วางแผนต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ไม่ต่างจากการพบปะกันในห้องประชุมภายในออฟฟิศ
ซึ่งนั่นก็หมายถึงการที่บริษัทใด ๆ ก็ตามจะมีการไปเปิดสำนักงานเสมือนจริง อยู่ในโลกเสมือนจริงแห่งนี้
Horizon Home
พื้นที่ที่เป็นส่วนตัวของคุณ ซึ่งหากเปรียบเทียบง่าย ๆ ในสิ่งที่ Facebook เป็นอยู่ในขณะนี้คือ โปรไฟล์ของเรานั่นเอง แต่ใน Metaverse นั้น ตัวของ Profile ของเราจะกลายเป็น “บ้าน” ที่มีข้อมูลของเรา มีวิถีชีวิต มีสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเราอยู่ในนั้น และสามารถเปิดอนุญาตให้เพื่อน เข้ามาเยี่ยมเยียนได้ เข้ามาทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้นั่นเอง
…
ทั้งหมดที่ว่ามานี้ ไม่ว่าจะเป็น Horizon Worlds, Workrooms และ Home ล้วนแล้วแต่ถูกเคยพูดถึงมาตั้งแต่เมื่อปี 2019 ในคลิปวิดีโอด้านล่างนี้
ที่กล่าวถึง Facebook Horizon ที่จะเชื่อมโยงทุกคนเข้าด้วยกันในโลกเสมือนจริง ของมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ภายใต้ชื่อบริษัทใหม่ Meta. นั่นเอง
…
Meta ภายในการนำของมาร์ค
แน่นอนว่า บริษัทหลักของ Facebook ได้เปลี่ยน Meta เพื่อเปิดกว้าง ลบภาพความเป็นโซเซียลมีเดีย เพื่อให้เดินหน้าสิ่งใหม่ ๆ ได้กว้างขึ้น ทั้งโลกเสมือนจริงอย่าง Metaverse, อุปกรณ์ต่างที่ต้องใช้สำหรับ “เข้าสู่ Metaverse” อย่าง Oculus ก็จะถูกปรับเปลี่ยนไปในชื่อ Meta ด้วยเช่นกัน
ซึ่งการเข้าซื้อกิจการที่เกี่ยวข้องกับโลกเสมือนต่าง ๆ ของมาร์คดูจะสะท้อนภาพความจริงจังในเรื่องนี้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ
- Oculus – ผู้ผลิตอุปกรณ์และซอฟท์แวร์ เกี่ยวกับ VR
- BigBox VR – เกมต่อสู้แบบ Battle royale ในแนวของ VR
- Crayta – เพลตฟอร์มรวมเกมแนว VR
- Beat Saber – เกม VR ยอดนิยม
- Roblox – บริษัทพัฒนาเกม
- Sanzaru Games – สตูดิโอพัฒนาเกมในแนวของ VR ที่เป็นหนึ่งในเกมที่ดีที่สุดของของ Oculus
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลาย ๆ ส่วนที่ Facebook เข้าซื้อ หรือถือครองไว้ เช่น Twitter บัญชี @Meta , โดเมน Meta.com และ Meta.org อีกด้วย
สิ่งเหล่านี้ สะท้อนความพยายามและทะเยอทะยานที่ต้องการจะผลักดันโลกเสมือนจริง ออกมาให้ผู้คนได้เข้าไปใช้กัน ซึ่งมาถึงจุดนี้แล้วคงไม่ใช่เรื่องไกลตัว เหมือนหลายปีก่อนที่หลายคนพูดถึงฝันของการมีชีวิตในโลกเสมือนจริง แต่คำถามในวันนี้คือ
“มันจะมาถึงเมื่อไหร่”
เท่านั้นเอง
[Next] Facebook สู่ Meta – โลกดิจิตัลแห่งใหม่ – #02 พื้นที่เสมือนจริงแต่ทุกสิ่งไม่ฟรีเสมอไป