ขันธปริตร บูชาพญานาคตามวันเกิด พญานาค

บูชาพญานาคตามวันเกิด พร้อมบทสวดบูชาพญานาค

ในความเชื่อของไทยได้เชื่อมโยงกับศาสนาพุทธในเรื่องกำเนิดของพญานาคที่มีหลายลักษณะ ซึ่งตามที่ปรากฏในแนวทางของพระพุทธศาสนา มี 4 ลักษณะ ซึ่งก็มีความเชื่อว่า สำหรับผู้ที่มีวันเกิดแต่ละวันควรจะ บูชาพญานาคตามวันเกิด ดังนี้

Home / บทสวดมนต์ / บูชาพญานาคตามวันเกิด พร้อมบทสวดบูชาพญานาค

​นาคในความเชื่อของไทยอยู่ในฐานะเทพแห่งน้ำ เพราะนาคเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ จึงปรากฏความเชื่อเรื่องนาคที่เกี่ยวกับน้ำมากมาย ในพุทธประวัติได้กล่าวถึงพญานาคไว้ว่า หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่าง ๆ เพื่อแสดงธรรมเทศนา มีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ “มุจลินท์” ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำ ๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อ “มุจลินท์” เข้ามาวงด้วยขด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้ว แปลงเพศเป็นมานพมายืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า ความเชื่อดังกล่าวทำให้ชาวพุทธสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาค คือผู้คุ้มครองพระศาสดาของศาสนาพุทธ

บูชาพญานาคตามวันเกิด

ในตำนานสิงหนวัติ ยังกล่าวถึงพญานาคแปลงกายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่ พอตกกลางคืนก็ขึ้นมาสร้างคูเมือง 4 ด้าน เป็น เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมาเมื่อยกทัพปราบเมืองอื่นได้ และรวมดินแดนเข้าด้วยกัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโยนกนาคราช นอกจากนี้ยังปรากฏความเชื่อเรื่องนาคในคำเสี่ยงทายปริมาณของน้ำและฝนที่จะตกในแต่ละปี เรียกว่า “นาคให้น้ำ” จะปรากฏเห็นได้ชัดที่สุดในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันพืชมงคลของแต่ละปี ซึ่งก็มีความเชื่อว่า สำหรับผู้ที่มีวันเกิดแต่ละวันควรจะ บูชาพญานาคตามวันเกิด ดังนี้

ผู้ที่เกิดวันจันทร์ ให้บูชา พญาภุชงค์นาคราช แก่งกะเบา อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร
ผู้ที่เกิดวันอังคาร ให้บูชา พญาสุวรรณนาคราช วัดศรีพันต้น อ.เมือง จ.น่าน
ผู้ที่เกิดวันพุธ (กลางวัน) ให้บูชา พญาศรีสุทโธนาคราช วัดศิริสุทโธคำชะโนด อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
ผู้ที่เกิดวันพุธ (กลางคืน) ให้บูชา พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช วัดพระพุทธบาทภูมโนรมย์ อ.เมือง จ.มุกดาหาร
ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี ให้บูชา พญาศรีสัตตนาคราช ลานศรีสัตตนาคราช อ.เมือง จ.นครพนม
ผู้ที่เกิดวันศุกร์ ให้บูชา พญาทะนะมูลนาคราช อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
ผู้ที่เกิดวันเสาร์ ให้บูชา พญามุจลินทร์นาคราช วัดพระธาตุบังพวน อ.เมือง จ.หนองคาย
ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ ให้บูชา พญาอนันตนาคราช วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา

ในความเชื่อของไทยได้เชื่อมโยงกับศาสนาพุทธในเรื่องกำเนิดของพญานาคที่มีหลายลักษณะ ซึ่งตามที่ปรากฏในแนวทางของพระพุทธศาสนา มี 4 ลักษณะ
1. แบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที
2.แบบสังเสทชะ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม
3. แบบชลาพุชะ เกิดจากครรภ์
4.แบบอัณฑชะ เกิดจากฟองไข่

พญานาค

ทั้งนี้ตระกูลของนาคแบ่ง ออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ
1. ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง
2.ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว
3.ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง
4.ตระกูลกัณหาโคตรมะ พญานาคตระกูลสีดำ

บทสวดบูชาพญานาคในพระปริตร ๑๒ ตำนาน

บทสวดมนต์ ขันธปริตร เป็นการสวดแผ่เมตตาให้กับพญางู ๔ ตระกูล ได้แก่ ตระกูลสีเขียว สีทอง สีดำ และสีรุ้ง รวมถึงสัตว์ที่ไม่มีเท้า, สัตว์ ๒ เท้า, ๔ เท้า และสัตว์ที่มีเท้ามาก ขอให้สัตว์ทั้งหลาย จงมีเมตตาอย่าทำอันตรายเรา ผู้ซึ่งมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ที่ทรงคุณอันยิ่งใหญ่คุ้มครองอยู่

คาถานี้มีอานุภาพในการช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากสัตว์ร้ายและสัตว์มีพิษต่างๆ นิยมนำมาบริกรรม เพื่อดับพิษและรักษาบาดแผลอันเกิดจากสัตว์มีพิษกัดต่อย เช่น พิษจากตะขาบ แมงป่อง งู เป็นต้น นิยมบริกรรมก่อนเข้าป่า หรือไปในที่เสี่ยงจะถูกสัตว์มีพิษทำร้าย หัวใจสำคัญของการสวดพุทธมนต์บทนี้ คือผู้สวดต้องน้อมจิตรำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าให้คุ้มครองตน แล้วแผ่เมตตาจิตไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ยิ่งจิตเมตตามากเท่าไร การสวดยิ่งมีอานุภาพมากเท่านั้น

บทสวดมนต์ ขันธปริตร

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง
เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ฉัพ๎ยาปุตเตหิ เม เมตตัง
เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง
เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง
เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ
มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ
มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา
สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
สัพเพ ภัท๎รานิ ปัสสันตุ
มา กิญจิ ปาปะมาคะมา

อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม
อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะวันตานิ
สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา
สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู
มูสิกา กะตา เม รักขา
กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ
ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต
นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง.


ถ้าไม่สวดหมดจะสวดเฉพาะหัวใจขันธปริตรว่า “ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง” ก็ได้เช่นกัน

เคล็ดลับการบูชาพญานาค

ทุกวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ ให้นำรูปภาพหรือรูปปั้นพญานาคที่เคารพบูชามาแช่น้ำ(ประพรมด้วยน้ำ) หรือทาด้วยน้ำมันจันทร์หอม สำหรับเครื่องสังเวย นิยมเป็นผลไม้ เช่น กล้วย มะพร้าว ส้ม เป็นต้น ห้ามถวายเนื้อสัตว์ เพราะ ท่านเป็นผู้รักษาศีล ส่วนดอกไม้ให้บูชาด้วยดอกไม้สีขาวอย่างมะลิ และสวดมนต์ นั่งสมาธิอุทิศบุญถวายท่าน สวดพระคาถา แล้วอธิษฐานในสิ่งที่คุณปรารถนา

แหล่งอ้างอิง

อาธิป นามวิเศษ. (2565). เจ้าเชื่อเรื่องพญานาคบ่ : วัฒนธรรมเรื่องพญานาคกับสังคมไทย : หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2566, จาก http://ica.swu.ac.th

“พญานาค” ตามความเชื่อในศาสนาพุทธ และ ศาสนาพราหมณ์ และตามรอยความเชื่อ 3 สถานที่แห่งความศรัทธาของคนต่อพญานาคในไทย : มิวเซียมสยาม. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2566, จาก https://www.museumsiam.org

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๙๔-๙๕ ข้อที่ ๖๗

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ทำไมก่อนบวชจึงเรียกว่า “นาค” และ “ขานนาค” คืออะไร

จากผ้าห่อศพสู่ จีวร งานศิลปะเครื่องนุ่งห่มของผู้ละกิเลส

คำขอขมาอโหสิกรรมต่อบรรพบุรุษ วงศ์ตระกูล