ขานนาค อุปสมบท

ทำไมก่อนบวชจึงเรียกว่า “นาค” และ “ขานนาค” คืออะไร

“นาค” คือ ชายผู้ที่ได้โกนผม ห่มผ้าขาว ถือศีล เตรียมพร้อมจะบวชอุปสมบทในพระอุโบสถ โดยจะต้องผ่านขั้นตอน ‘ทำขวัญนาค’ ‘ขานนาค’ หรือ ‘บวชนาค’ เสียก่อน จึงจะสำเร็จเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้

Home / พิธีกรรม / ทำไมก่อนบวชจึงเรียกว่า “นาค” และ “ขานนาค” คืออะไร

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมจึงเรียกผู้ชายที่เตรียมอุปสมบทว่า “นาค”ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่าคำนี้ใช้เมื่อไหร่ จะได้เรียกกันถูก “นาค” คือ ชายผู้ที่ได้โกนผม ห่มผ้าขาว ถือศีล เตรียมพร้อมจะบวชอุปสมบทในพระอุโบสถ โดยจะต้องผ่านขั้นตอน ‘ทำขวัญนาค’ ‘ขานนาค’ หรือ ‘บวชนาค’ เสียก่อน จึงจะสำเร็จเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้

การเรียกผู้ชายที่เตรียมบวชว่า”นาค”นั้นมีที่มา ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ กล่าวถึงการบวชนาคไว้ว่า สมัยครั้งพุทธกาล พญานาคเคยปลอมตัวเข้ามาบวช หวังจะบรรลุธรรม แต่ภายหลังถูกจับได้จึงถูกขับไล่ให้ลาสิกขา เนื่องจากผิดกฎเพราะเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่มีสิทธิ์บวช พญานาคจึงขอร้องต่อพระพุทธเจ้าว่า ต่อไปในภายภาคหน้า แม้นาคจะบวชไม่ได้ก็ขอให้ผู้ที่มีกำลังเตรียมตัวเพื่อจะบวชนั้นมีชื่อเรียกว่านาค

พญานาค

นี่จึงเป็นที่มาของประเพณี ” ทำขวัญนาค หรือ ขานนาค ” ให้แน่ใจว่าผู้ที่จะมาบวชนั้นไม่ใช่พญานาค แต่เป็นคนอย่างแน่นอน ในการบวชจึงมีระเบียบว่าพระคู่สวดสององค์จะต้องพาผู้บวชออกไปสอบสวนนอกประตูพระอุโบสถ ในคำสอบสวนนั้นมีคำถามหนึ่งถามว่า “มนุสฺโส สิ?” แปลว่า เจ้าเป็นคนหรือเปล่า?

ดังนั้นแล้วคำว่า”นาค”จึงไม่ได้มีความหมายถึงแค่เพียง “งูใหญ่” แต่ยังหมายถึง “มนุษย์ผู้ที่ได้รับการยอมรับเพื่อเข้าสู่สมณเพศต่อไป” ซึ่งขั้นตอนพิธีกรรมบวชนาคนี้พบได้เพียงในบริเวณประเทศพม่า, ไทย, ลาว และกัมพูชาเท่านั้น แต่ในประเทศอินเดียหรือแถบชมพูทวีปกลับไม่พบว่ามีพิธีกรรมขั้นตอนนี้เลย

นาค

หากแต่มองคำว่า”นาค”ในแง่ของวัฒนธรรมทางภาษาแล้ว จากการสืบค้นพบว่า คำว่า‘นาค’มีรากมาจากคำว่า ‘นอค’ (Nog) ในภาษาตระกูลอินโด-ยุโรป ที่ภาษาอังกฤษก็นำมาใช้โดยกลายเป็นคำว่า ‘nakes’ มีความหมายเดียวกันว่า “เปลือย,แก้ผ้า” และจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ระบุคำว่า “ภิกษุ” แปลว่า “ผู้ทำลายกิเลส” ซึ่งเมื่อเข้าสู่เพศบรรพชิตแล้ว ก็ต้องโกนคิ้ว โกนผม ละเว้นเครื่องประทินผิว ละเว้นเครื่องหอม ละเว้นชุดชั้นใน ละวางการยึดติดจากรูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัส ดังนั้นแล้วจะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ? ‘นาค’ ในภาษาตระกูลอินโด-ยุโรป จะมีความเชื่อมโยงกันกับข้อปฏิบัติเหล่านี้ของการครองเพศบรรพชิตในการสื่อความหมายถึงการ “ละวางซึ่งกิเลสทั้งปวง ” ?

ภาพประกอบ akkakarat

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

คำขอขมาอโหสิกรรมต่อบรรพบุรุษ วงศ์ตระกูล

จากผ้าห่อศพสู่ จีวร งานศิลปะเครื่องนุ่งห่มของผู้ละกิเลส

อัค อัครัฐ บวชครั้งนี้ ขอถวายบุญกุศล แด่ ‘เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา’ทรงหายจากพระอาการประชวร