หลังจากพระสงฆ์ได้จำพรรษาเสร็จสิ้นเป็นเวลา 3 เดือน ก็จะเข้าสู่ประเพณีทอดกฐิน หรือ งานบุญกฐิน ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญทางพุทธศาสนาที่สืบทอดกันมายาวนาน ซึ่งชาวไทยพุทธก็จะจัดเตรียม ผ้าไตรจีวรและเครื่องบริขารต่างๆถวายแด่ภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้วพระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยไม่ระบุตน ซึ่งจะเป็นพระเถระที่มีจีวรเก่าและมีธรรมวินัยปฏิบัติ โดยพิธีทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จะใช้เวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกราน คือระยะเวลาทอดกฐิน ซึ่งเป็นการถวายในระยะเวลาตามพระพุทธานุญาตกำหนดพอครบตามระยะเวลาที่กำหนดก็จะเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีทอดกฐิน
ความหมายของ “กฐิน”
คำว่า กฐิน เป็นศัพท์ในพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรภิกษุพระสงฆ์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในการจำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ้งห่มใหญ่ได้
การทอดกฐิน หรือ การกรานกฐิน
- จะกำหนดขึ้นหลังจากวันออกพรรษา คือขึ้น 1 ค่ำเดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง) จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาท กำหนดให้พระสงฆ์สามารถทำสังฆกรรมนี้ได้เป็นเวลา 1 เดือน ในเวลาที่กำหนด ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญคือการได้สร้างความสามัคคีต่อหมู่คณะสงฆ์ ซึ่งเมื่อประชาชนถวายผ้าไตรและเครื่องบริขารอื่นๆ พระสงฆ์ก็จะมอบชุดผ้าไตรนี้ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยไม่ระบุตน อีกทั้งเป็นการอนุเคราะห์ภิกษุผู้มีจีวรเก่าที่ชำรุดได้รับมอบผ้าจีวรผืนใหม่
ซึ่งประเพณีทอดกฐินนี้ได้สืบทอดมาช้านาน ตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปจจุบัน
- โดยแบ่งออกเป็นพิธีหลวง (ถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ จัดเป็นพระราชพิธีสำคัญประจำปี) และพิธีราษฎร์ (พุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญทอดกฐินตามประเพณี)
- ปัจจุบันการถวายผ้ากฐินโดยตรงจะลดน้อยลง จะเป็นการถวายเป็นบริวารของกฐินแทน เช่น เงิน และวัตถุสิ่งของแทน เพื่อนำไปทำนุบำรุงศาสนาต่อไป
กฐินแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- จุลกฐิน (กฐินแล่น) คือ กฐินที่มีการเตรียมและการทอดกฐินเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง
- มหากฐิน
- กฐินตกค้าง คำว่า “กฐินตกค้าง” คือวัดซึ่งพระสงฆ์จำพรรษาและปวารณาแล้ว ไม่มีใครจองกฐิน
การถวายผ้ากฐิน
- เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว ประธานองค์ผ้ากฐิน/เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐิน นั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน พร้อมกับ
- ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ
คำกล่าวถวายผ้ากฐิน
อิมัง มะยัง ภันเต / สะปะริวารัง / กะฐินะ จีวะระทุสสัง / สังฆัสสะ / โอโณชะยามะ / สาธุ โน ภันเต/ สังโฆ/
อิมัง /สะปะริวารัง /กะฐินะจีวะระทุสสัง / ปะฏิคคันหาตุ / ปะฏิคคะ เหตตะวา จะ /อิมินา ทุสเสนะ /
กะฐินัง/ อัตถะรัตตุ/ อัมหากัง / ทีฆะรัตตัง / หิตายะ / สุขายะ / นิพพานายะจะ ฯ
คำกล่าวถวายผ้ากฐิน (ไทย)
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ / ข้าพเจ้าทั้งหลาย / ขอน้อมถวาย / ผ้าจีวรกฐิน / พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้ / แด่พระภิกษุสงฆ์ / ขอพระภิกษุสงฆ์ / จงรับ / ผ้าจีวรกฐิน / พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้ / ครั้นรับแล้ว /จงกรานกฐิน / ด้วยผ้าผืนนี้ /เพื่อประโยชน์ / เพื่อความสุข / เพื่อมรรคผลนิพพาน / แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย /ตลอดกาลนาน เทอญฯ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
6 อานิสงส์ ทอดกฐิน ประเพณีงานบุญที่พบในไทยและลาวเท่านั้น
นางงามสายบุญ “นุ้ย สุจิรา” ทำบุญกฐิน ณ เวียงจันทร์ ประเทศลาว