B.1.1.529 Omicron โควิด-19 โควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน โอไมครอน

อัปเดต โควิด-19 สายพันธุ์กลายพันธุ์โอไมครอน ( 19 ธ.ค. )

UK พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ทำให้หลายฝ่ายกังวลกับการระบาดระลอกใหญ่

Home / โควิด-19 / อัปเดต โควิด-19 สายพันธุ์กลายพันธุ์โอไมครอน ( 19 ธ.ค. )

สถานการณ์ภาพรวม

  • [19 ธ.ค. ] ภาพรวมสถานการณ์ในขณะนี้
    • สถานการณ์ในยุโรปเริ่มมีการระบาดมากขึ้น จำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
    • จำนวนการติดเชื้อในชุมชนของแต่ละประเทศกำลังพุ่งสูงขึ้น
    • หลายประเทศเริ่มยกระดับมาตรการป้องกัน เช่นการล็อกดาวน์ การเข้มงวดการสวมหน้ากาก รวมถึงการใช้วัคซีนพาสปอรตมากขึ้น
  • ประเด็นที่เป็นเรื่องดี ในขณะนี้ รายงานต่าง ๆ ส่วนใหญ่ยังไปในทิศทางเดิม คือผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการเบา หรือไม่มีอาการ แต่เริ่มมีรายงานผู้ป่วยที่ต้องเข้ารพ. – เสียชีวิตเพิ่มในสหราชอาณาจักร
  • ประเด็นที่น่ากังวล คือ
    • จำนวนประเทศที่รายงานเคสติดเชื้อในชุมชน หรือสงสัยว่าติดเชื้อในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น
    • องค์การอนามัยโลกระบุว่า จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นสองเท่า ทุก ๆ 1.5-3 วัน
    • วัคซีนที่มีใช้กันอยู่ในการฉีดครบโดสปรกติ ไม่เพียงพอสำหรับการต่อสู้กับสายพันธุ์โอมิครอน ทั้ง mRNA, Viral Vector หรือ เชื้อตาย จำเป็นต้องมีเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3
    • ในขณะที่มีสถานการณ์วัคซีนในกลุ่ม mRNA อย่าง Pfizer หรือ Moderna กำลังเริ่มถูกกักตุนมากขึ้น
  • สายพันธุ์ใหม่นี้ พบว่า มีการกลายพันธุ์ในหลายตำแหน่ง และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อระบาดและความรุนแรงของโรค
  • เนื่องจากเป็นการค้นพบใหม่ จึงยังต้องรอผลการศึกษาที่เพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งในประเด็นต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่ง

รวมเมนูด่วน เกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

UPDATE : 19 ธ.ค.

  • จังหวัดภูเก็ต พบผู้ป่วยโควิด-19 ที่คาดว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอนทั้งหมด 5 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศทั้งหมด 4 รายแรกมาถึงไทยเมื่อวันที่ 13 พ.ย. และรายที่ 5 ถึงไทยวันที่ 14 ธ.ค. ทั้งหมดอยู่ใน Hospitel ยกเว้นชายไทย ที่ได้ส่งตัวไปรักษาที่ปัตตานีแล้ว ซึ่งทางจังหวัดภูเก็ตได้มีการส่งตัวอย่างมาตรวจจีโนม เพื่อยืนยันอีกครั้งที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
    • ชาย อายุ 31 ปี ชาวอเมริกัน มาจากอังกฤษ
    • ชาย อายุ 36 ปี ชาวสวีเดน มาจากสวีเดน
    • ชาย อายุ 36 ปี ชาวไทย มาจากซาอุฯ
    • ชาย อายุ 32 ปี ชาวตูนีเซีย มาจากฝรั่งเศส
    • หญิง อายุ 24 ปี ชาวเยอรมัน มาจากอังกฤษ
  • องค์การอนามัยโลก ระบุว่า จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนนั้นกำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยประเทศที่มีรายงานการพบการระบาดในชุมชน จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นสองเท่าตัว ในทุก ๆ 1.5-3 วัน
  • สหราชอาณาจักร พบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เพิ่มอีกกว่า 1 หมื่น ราย รวมยอดสะสมในขณะนี้เกือบ 25,000 รายแล้ว นอกจากนี้ ยังมีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนนี้ เสียชีวิตเพิ่มอีก 6 ราย รวมเป็น 7 รายแล้ว ในขณะที่ยอดผู้ป่วยสายพันธุ์โอมิครอนที่เข้า รพ. เพิ่มเป็น 85 ราย
  • ญี่ปุ่น พบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เพิ่ม 13 ราย โดยมีจำนวน 2 รายที่พบที่โอกินาว่า ส่วนที่เหลือเป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ คือ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เคนยา มาลาวี ไนจีเรีย แซมเบีย ตูนีเซีย
  • เกาหลีใต้ พบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เพิ่ม 12 ราย รวมสะสม 178 ราย ส่วนใหญ่เป็นการพบการติดเชื้อในประเทศ
  • มาเลเซีย รายงานผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน 11 ราย จากผู้ต้องสงสัยก่อนหน้านี้จำนวน 18 ราย โดยมาจาก สหราชอาณาจักร 3 ราย, สหรัฐฯ 3 ราย, ไนจีเรีย 2 ราย, ซาอุฯ 2 ราย และออสเตรเลีย 1 ราย

    ส่วนผู้ต้องสงสัยติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนอีก 7 รายนั้น ยังรอการตรวจซ้ำอีกครั้งเนื่องจากปริมาณเชื้อมีน้อยทำให้ผลตรวจจีโนมยังไม่ชัดเจนพอ ทำให้ในขณะนี้มีผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในมาเลเซียแล้ว รวม 13 ราย
  • ออสเตรเลีย พบติดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เพิ่มอีก 119 ราย โดยส่วนใหญ่พบในรัฐนิวเซาท์เวลส์ จำนวน 87ราย จากการระบาดในพื้นที่ที่ยังคงมีการพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • เนเธอร์แลนด์ ยกระดับมาตรการเข้มงวด โดย
    • มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง เริ่มตั้งแต่เวลา 17.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 19 ธ.ค. นี้ จนถึงวันที่ 14 ม.ค.
    • การรวมกลุ่มในพื้นที่ในร่มได้ไม่เกิน 2 ราย
      (ยกเว้นกรณีผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในครอบครัว)
    • ช่วงวันคริสมาสต์และวันปีใหม่ อนุญาตให้รวมตัวกันได้ไม่เกิน 4 คน
      (ยกเว้นกรณีผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในครอบครัว)
    • โรงเรียน – กิจกรรมนอกหลักสูตร งดจนถึง 9 ม.ค.
    • ร้านค้าที่ไม่จำเป็น ร้านอาหาร โรงหนัง ปิดให้บริการ
    • กีฬาในร่มงดให้บริกการ ยกเว้นการเรียนว่ายน้ำ การแข่งขันกีฬาจัดได้แต่ต้องไม่มีผู้เข้าชม
    • กิจกรรมส่วนใหญ่จะมีการสั่งระงับการจัดงาน ยกเว้นพิธีศพ
Photo credit: Professor John Nicholls, Clinical Professor of Department of Pathology; and Professor Malik Peiris, Tam Wah-Ching Professor in Medical Science and Chair Professor of Virology, School of Public Health, HKUMed; and Electron Microscope Unit, HKU.

อ่านประเด็นข่าวโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนย้อนหลัง

รายงานการพบผู้ติดเชื้อในประเทศต่าง ๆ

ในขณะนี้มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการพบการระบาดในพื้นที่หลัก ๆ คือ แอฟริกาใต้ และบอตสวานา ส่วนในประเทศอื่น ๆ ขณะนี้ยังเป็นเคสนำเข้า หรือ Imported Case ที่ผู้ติดเชื้อเดินทางเข้ามายังประเทศนั้น ๆ

ประเทศที่มีรายงานเป็นทางผ่านของผู้ป่วย – ตุรกี, ดูไบ, การ์ตา, ไนจีเรีย, สิงคโปร์, สเปน

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 19 ธ.ค.

ประเทศพบผู้ติดเชื้อเปลี่ยนแปลงสงสัยติดเชื้อ
🇬🇧 ️สหราชอาณาจักร24,968+10,059
🇩🇰 ️เดนมาร์ก11,559
🇳🇴️ นอร์เวย์2,060
🇿🇦 ️แอฟริกาใต้1,247>77,000
🇨🇦 ️แคนาดา799+31
🇺🇸 ️สหรัฐอเมริกา708+128
🇦🇷️ อาร์เจนตินา454
🇦🇺 ️ออสเตรเลีย401+119
🇫🇷 ฝรั่งเศส347
🇩🇪️ เยอรมนี324+75
🇪🇪️ เอสโตเนีย242+131
🇰🇷️ เกาหลีใต้178+12
🇧🇪เ️บลเยียม164+10
🇳🇱 เนเธอร์แลนด์151
🇮🇳️ อินเดีย143+42
🇨🇭️ ️สวิตเซอร์แลนด์142+6
🇮🇱 ️อิสราเอล134307
🇸🇪 ️สวีเดน89+37
🇧🇼 ️บอตสวานา84
🇦🇹 ️ออสเตรีย*80+10
🇵🇹 ️โปรตุเกส69
🇪🇸 ️สเปน69
🇯🇵️ ญี่ปุ่น65+13
🇿🇼 ซิมบับเว50
🇮🇹 ️อิตาลี48+1
🇬🇮️ ยิบรอลตาร์48+13
🇮🇪 ️ไอร์แลนด์42
🇬🇭️ กาน่า40
🇮🇸 ️ไอซ์แลนด์40
🇨🇱 ️ชิลี29
🇸🇬️ สิงคโปร์26+2
🇷🇺️ รัสเซีย*25
🇺🇬 ️ยูกันดา*25+18
🇧🇷️ บราซิล*22
🇫🇮️ ฟินแลนด์*20
🇳🇦 ️นามิเบีย18
🇲🇿️ โมซัมบิก17
🇬🇷 ️กรีซ*17
🇧🇲 ️หมู่เกาะเบอร์มิวดา, UK16
🇭🇰 ️ฮ่องกง*15
🇱🇻️ ลัตเวีย*14
🇲🇾️ มาเลเซีย*13+11
🇳🇿️ นิวซีแลนด์13+9
🇷🇴 ️โรมาเนีย11
🇳🇬️ ไนจีเรีย*11
🇿🇲 ️แซมเบีย*11
🇨🇿 ️สาธารณรัฐเช็ก*9
🇱🇧️ เลบานอน*816
🇸🇳 ️เซเนกัล *7
🇷🇼️ รวันดา7
🇹🇷️ ตุรกี*6
🇨🇺️ คิวบา*5
🇲🇪️ มอนเตเนโกร5
🇱🇰️ ศรีลังกา*4
🇯🇴️ จอร์แดน*4
🇸🇮️ สโลวีเนีย4
🇨🇳️ จีน*4+2
🇶🇦️กาตาร์*4+4
🇮🇩️ อินโดนีเซีย3+2
🇪🇬️ อียิปต์*3+3
🇨🇾️ ไซปรัส*3
🇭🇷️ โครเอเชีย3
🇳🇵️ เนปาล*3
🇲🇼️ มาลาวี*3
🇲🇽 ️เม็กซิโก*3
🇸🇰️ สโลวาเกีย3
🇹🇼️ ไต้หวัน*3
🇰🇪️ เคนยา3
🇵🇸️ ปาเลสไตน์*3
🇱🇹️ ลิธัวเนีย3+1
🇪🇨️ เอกวาดอร์*2+1
🇫🇷 ️เรอูว์นียง, ฝรั่งเศส*2
🇫🇯️ ฟิจิ*2
🇧🇩 ️บังคลาเทศ*2
🇭🇺️ ฮังการี2
🇲🇺 ️มอริเชียส*2
🇱🇮 ️ลิกเตนสไตน์*2+1
🇵🇱️ โปแลนด์2+1
🇴🇲️ โอมาน*2
🇵🇭️ ฟิลิปปินส์2
🇸🇦️ ซาอุดิอาระเบีย*1
🇦🇪 ️สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์*1
🇲🇦️ โมรอกโก*1
🇹🇳 ️ตูนีเซีย*1
🇲🇻️ มัลดีฟส์*1
🇱🇺️ ลักแซมเบิร์ก*1
🇵🇰️ ปากีสถาน1
🇸🇱 ️เซียราลีโอน*1
🇧🇭️ บาห์เรน1
🇰🇼️ คูเวต*1
🇩🇿️ แอลจีเลีย*1
🇹🇹️ ทรินิแดด*1
🇰🇭️ กัมพูชา*1
🇺🇦️ ยูเครน*1+1
ไทย*14
หมายเหตุ – ในประเทศแอฟริกาใต้ไม่ได้ทำการตรวจหาเชื้อทุกเคส
ทำให้ยอดในขณะนี้เป็นยอดการตรวจเฉพาะที่ตรวจสายพันธุ์เท่านั้น
* ผู้ป่วยที่พบเป็นผู้ที่เดินทางนำเชื้อเข้าประเทศ ( Imported Case )

สถาบันโรคติดต่อแห่งชาติ (NICD) ของแอฟริกาใต้รายงานการค้นพบโควิด-19 สายพันธุ์กลายพันธุ์ชนิดใหม่ หลังจากได้มีการยืนยันการตรวจเชื้อในสายพันธุ์ B.1.1.529 สายพันธุ์ใหม่ ในแอฟริกาใต้ หลังจากที่พบการระบาดอย่างรวดเร็วในกัวเต็ง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกาใต้

ไทม์ไลน์การค้นพบสายพันธุ์กลายพันธุ์ B.1.1.529

  • 14 – 16 พ.ย. 64 :
    มีการสุ่มเก็บตัวอย่างจากผู้ติดเชื้อในพื้นที่
  • 23 พ.ย. 64 :
    มีรายงานการพบสายพันธุ์ใหม่จากตัวอย่างในรายงานของสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติ หรือ NICD ของแอฟริกา หลังผลการตรวจสอบตัวอย่างมีความต่างจากเชื้อสายพันธุ์อื่น ๆ นำไปสู่การเรียกประชุมหน่วยงานในแอฟริกาใต้ถึงการพบในครั้งนี้
  • 24 พ.ย. 64 :
    มีการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งถึงผลแล็บที่ได้จากการตรวจสอบเชื้อพบการเปลี่ยนแปลงจีโนมในหลายจุดที่บ่งบอกว่า เป็นสายพันธุ์ใหม่ และมีความน่ากังวล
  • 25 พ.ย. 64 :
    สถาบัน NICD รายงานต่อกระทรวงสาธารณสุขของแอฟริกาใต้ ในการแถลงการค้นพบครั้งนี้
  • 26 พ.ย. 64 :
    องค์การอนามัยโลก กำหนดชื่อให้ B.1.1.529 ว่า Omicron (โอไมครอน) และยกระดับให้เป็นสายพันธุ์น่ากังวล (Variant of Concern หรือ VOC) เพื่อให้ทั่วโลกช่วยกันรายงาน ตรวจสอบ เพื่อรับมือได้เร็วขึ้น

B.1.1.529 ระบาดเร็วแค่ไหน

รายงานล่าสุดจากการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นระบุว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนนี้ สามารถแพร่กระจายได้เร็วถึง 4.2 เท่า

สำหรับจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในสายพันธุ์กลายพันธุ์ B.1.1.529 ที่พบในขณะนี้ โดยประเทศที่มีรายงานการพบผู้ป่วยแล้ว ในหลายประเทศ ทั้งใน แอฟริกา ยุโรป

ในขณะที่รายงานของแอฟริกาใต้พบว่า ในช่วงเวลานั้น ๆ สายพันธุ์ Omicron (โอไมครอน) ใหม่นี้ ได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักในการระบาดในพื้นที่ไปแล้ว ในเวลาไม่กี่วันเท่านั้น ในพื้นที่ของกัวเต็ง, แอฟริกาใต้เพียงไม่กี่วัน

ซึ่งความสามารถในการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วนี้ สร้างความกังวลใจให้กับนักระบาดวิทยา รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก โดยเชื้อในสายพันธุ์นี้ กำลังเข้าระบาดและกลายเป็นสายพันธุ์หลักใพื้นที่การระบาดแล้ว เพียงระยะเวลาไม่กี่วันเท่านั้น

(ที่มา – Tulio de Oliveira, Director of CERI: Centre for Epidemic Response & innovation, South Africa)

การกลายพันธุ์และความสามารถที่ต้องกังวล

สิ่งที่พบในขณะนี้ พบว่า เชื้อสายพันธุ์กลายพันธุ์ B.1.1.529 นี้ มีการกลายพันธุ์ในหลายตำแหน่ง โดยรวมแล้ว 50 ตำแหน่ง และในจำนวนนี้ 32 ตำแหน่งเป็นการกลายพันธุ์ในส่วนที่เป็นโปรตีนหนามของเชื้อโควิด-19 (สายพันธุ์เดลต้ามีการกลายพันธุ์ในโปรตีนหนาม 16 ตำแหน่ง)

กังวลว่า อาจจะระบาดได้เร็วขึ้น

ซึ่งจากตำแหน่งที่มีการกลายพันธุ์นั้นทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า จะส่งผลต่อการระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อร่วมกับการระบาดที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้แล้ว พบว่า สามารถกระจายได้อย่างรวดเร็วอย่างมาก ในเพียงระยะเวลาไม่นานก็ขึ้นเป็นครองพื้นที่แทนสายพันธุ์เดลต้า ที่มีการระบาดก่อนหน้านี้

ในหลาย ๆ เคสที่มีรายงานไม่ว่าจะเป็นที่ ฮ่องกง เบลเยียม พบว่า ผู้ป่วยมีปริมาณเชื้อในร่างกายที่ค่อนข้างสูง พบได้จากค่า Ct. ที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นเมื่อปริมาณเชื้อมีเยอะ ความเสี่ยงในการแพร่เชื้อผ่านละอองฝอย-อากาศ มีสูงขึ้น

ติดซ้ำ – เลี่ยงภูมิ

ซึ่งจากตำแหน่งของการกลายพันธุ์นั้นพบว่า ในหลายตำแหน่ง เคยพบมาแล้วในเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอัลฟา เบต้า เดลตา ทำให้สิ่งทีนักวิทยาศาสตร์เรียนรู้ก็คือความสามารถของไวรัสอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น

  • การติดเชื้อซ้ำ สำหรับผู้ที่ติดเชื้อในสายพันธุ์อื่นก่อนหน้านี้
  • หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น
  • อื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ในขณะนี้
ตำแหน่งที่มีการกลายพันธุ์ในเชื้อสายพันธุ์ Omicron เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ ก่อนหน้านี้

ประสิทธิภาพวัคซีน

ในขณะนี้ ยังไม่มีรายงานผลการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ต่อเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะผู้ผลิตรายต่าง ๆ ยังคงเร่งศึกษาค้นคว้าวิจัยกันอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งที่ผ่านมา การพบผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันผลตรวจจีโนม ว่าเป็นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน นั้น ผู้ป่วยหลายรายมีประวัติได้รับวัคซีนครบถ้วน ทั้ง 2 โดส และ 3 โดส ในหลายประเทศ

โดยในรายงานที่พบในขณะนี้ มีเพียงรายงานเบื้องต้น ของสาธารณสุข ประเทศอิสราเอล ที่ระบุถึงประสิทธิภาพวัคซีนว่า วัคซีนของไฟเซอร์มีประสิทธิภาพอยู่ที่ราว 90% สำหรับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลต้า ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 95% และสามารถป้องกันอัตราการเสียชีวิตได้ 93%

ซึ่งผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนจะมีความเสี่ยงที่เกิดอาการรุนแรงได้มากกว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว 2.4 เท่า

สำหรับคำแนะนำ ในขณะนี้ ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ยังคงแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เนื่องจากยังคงมีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องกันการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้

>> อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มเติม

ระดับความรุนแรงของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

สำหรับในขณะนี้ ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ตรงกันคือ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไม่มีอาการ หรือ มีอาการเบา จำนวนผู้ป่วยอาการหนักและต้องใช้ท่อช่วยหายใจยังมีน้อยกว่าปรกติ ทั้งในแอฟริกาใต้ และในหลายประเทศที่มีรายงานการพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มีอาการต่างไปจากการติดเชื้อก่อนหน้านี้ แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ของผู้ป่วยอาการเบา บางส่วนสามารถรักษาตัวที่บ้านได้
  • ผู้ป่วยในวัยหนุ่มสาว มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามค่างกาย มีอาการไอไม่มากนัก
  • จำนวนผู้ป่วยรุนแรงยังไม่พุ่งสูงขึ้น แต่ยังต้องเฝ้าติดตามต่อไป
  • ยังไม่มีรายงานการสูญเสียการรับรู้ของกลิ่น – รส
  • กลุ่มเสี่ยงเช่น ผู้สูงอายุ – ผู้ป่วยเบาหวานยังคงมีความเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์นี้ เพิ่งมีการค้นพบ และผู้ป่วยเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่สถานการณ์การระบาด ดังนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดเวลา หากมีจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น และข้อมูลเพิ่มขึ้น

>>> อ่านเพิ่มเติม รายงานผู้ป่วยโควิด-19 ในแอฟริกาใต้ ไม่รุนแรงเหมือนเดลต้า

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ระหว่าง B.1.1.529 กับ HIV

จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่า เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์กลายพันธุ์ชนิดใหม่ B.1.1.529 หรือ Omicron (โอไมครอน) เกิดจากการกลายพันธุ์ระหว่างเชื้อโควิด-19 และเชื้อ HIV นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงกระแสข่าวที่คลาดเคลื่อนและไม่ตรงกับข้อเท็จจริง

บอตสวานายืนยืน “ไม่มีผู้ป่วย HIV รายใดติดโควิด B.1.1.529”

จากแถลงการณ์ของทางการบอตสวานา ระบุว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริงแต่อย่างใด ไม่มีผู้ป่วย HIV ที่พบว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 ในสายพันธุ์กลายพันธุ์ชนิดใหม่ในขณะนี้ และยังอยู่ในระหว่างการสืบสวนโรคต่อไป

นอกจากนี้ ในผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนในบอตสวานาทั้ง 4 รายนั้น เป็นผู้ที่เดินทางเข้ามายังบอตสวานา และกำลังจะเดินทางกลับประเทศ ทำให้ต้องมีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 และตรวจพบเชื้อในสายพันธุ์ดังกล่าว

ในขณะนี้ยังเป็นเพียงข้อสังเกต

สำหรับกรณีข่าวที่ใกล้เคียงมากที่สุด น่าจะเป็น ข้อสังเกต-สันนิษฐาน ของนักไวรัสวิทยา ว่ามีความเป็นไปได้ที่เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์กลายพันธุ์โอไมครอน หรือ B.1.1.529 นี้ จะเกิดจากการ “ฟักตัว” ในผู้ป่วย HIV/Aids ที่ไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นไม่เหมือนการที่เป็นการกลายพันธุ์ตามปรกติ เหมือนเช่นที่พบในสายพันธุ์กลายพันธุ์์อื่น ๆ

ซึ่งหมายความว่า “เชื้อโควิด-19” ไม่ได้มีการพัฒนา หรือ วิวัฒนาการ หรือ กลายพันธุ์ “ร่วมกับเชื้อ HIV” แต่อย่างใด แต่หมายถึงการที่ “อาจจะฟักตัว” หรือ “เติบโต” ในผู้ป่วย HIV ที่มีระดับภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ทำให้กลายเป็นสามารถ “พัฒนาตัวเอง” ได้เร็วขึ้นกว่าปรกติ

เนื่องจากเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา มีรายงานการพบผู้ป่วย HIV รายหนึ่ง ได้รับเชื้อโควิด-19 และมีอาการป่วยอยู่ราว 7 เดือน เนื่องจากการรักษาที่ไม่ดีพอ และส่งผลให้เชื้อโควิด-19 ในร่างกายของผู้ป่วยรายนี้ มีการกลายพันธุ์มากถึง 32 ครั้งในช่วง 6 เดือน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงผิวของโปรตีน และการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม โดยมีการกลายพันธุ์ร่วมระหว่าง โควิด-19 ในสายพันธุ์อัลฟ่า และ สายพันธุ์เบต้าด้วย

สรุป – ไม่ได้เป็นการกลายพันธุ์ร่วมกัน แต่สันนิษฐานว่า เป็นการเติบโตในร่างกายของผู้ป่วย HIV ที่ส่งผลให้ตัวเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ได้มากกว่าปรกตินั่นเอง

การดำเนินการในต่างประเทศ

หลังจากที่มีรายงานผลการพบเชื้อในสายพันธุ์กลายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 นี้ ทำให้หลายประเทศเริ่มยกระดับมาตรการควบคุมการเดินทางของกลุ่มผู้ที่มาจากประเทศแอฟริกาใต้แล้ว เช่น ไอร์แลนด์, อังกฤษ

อิสราเอล ประกาศห้ามเดินทางในประเทศ แอฟริกาใต้ นามิเบีย เลโซโท เอสวาตีนี ซิมบับเว โมซัมบิก และบอตสวานา

ในขณะที่อีกหลายประเทศเช่น ออสเตรีย, สาธารณรัฐเชค, เนเธอแลนด์, อิตาลี, สิงคโปร์ ประกาศจำกัดการเดินทางจากประเทศเหล่านี้ แอฟริกาใต้ นามิเบีย เลโซโท เอสวาตีนี ซิมบับเว และบอตสวานา

สหภาพยุโรปประกาศระงับการเดินทางจากภูมิภาคแอฟริกาใต้ แล้ว

ออสเตรเลีย กำลังติดตามสืบสวนอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะจำกัดการเดินทางทันทีที่จำเป็น

ทางด้านขององค์การอนามัยโลก มีการเรียกประชุมในวันนี้ เพื่อรับมือกับการระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยคาดว่า สายพันธุ์นี้ จะได้รับการยกระดับและตั้งชื่อว่า Nu เป็นลำดับต่อจากสายพันธุ์ก่อนหน้านี้

ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยยังระบุว่า ในขณะนี้ยังคงห่างไกลที่จะสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์ B.1.1.529 นี้จะมีผลอย่างไรบ้าง

มาตรการของไทย

กรมควบคุมโรคได้มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสายการบินต่าง ๆ ไปโดยมีข้อกำหนดดังนี้

8 ประเทศที่มีการระบาด

ผู้ที่จะเดินทางมาจากประเทศบอตสวานา, เอสวาตินี, เลโซโธ, มาลาวี, โมซัมบิก, นามิเบีย, แอฟริกาใต้, ซิมบับเว ( 8 ประเทศ) มีการดำเนินการดังนี้

  • ไม่อนุญาตให้เข้าประเทศแล้ว เริ่มตั้งแต่วันที่1 ธ.ค. เป็นต้นไป
  • ไม่อนุญาตให้ลงทะเบียนเข้าประเทศในทุกช่องทางตั้งแต่วันนี้
  • ผู้ที่ได้รับอนุญาตก่อนหน้านี้ และจะเดินทางมาถึงไทยในระหว่างนี้จะมีการกักตัว 14 วันในทุกกรณี และไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมนอกน้องพักเด็ดขาด

นอกจากนี้ ยังได้ขยายกรอบการควบคุมโรคเพิ่มขึ้น สำหรับในทวีปแอฟริกาอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ 8 ประเทศด้านบน) จะมีการปรับรูปแบบการรับมือโดย

  • ไม่อนุญาตให้เดินทางเข้ามาในรูปแบบ Test & Go หรือ Sandbox
  • เข้ามาในประเทศไทยจะมีการกักตัว 14 วันในสถานที่กำหนดไว้เท่านั้น และไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมนอกห้องพักเด็ดขาด
  • เมื่อเข้ากักตัวแล้วจะมีการตรวจหาเชื้อ 3 ครั้ง เป็นช่วง ๆ ของการกักตัว

ส่วนการตรวจสอบย้อนหลังไปก่อนหน้านี้ พบว่า มีบางส่วนที่เข้ามาผ่านโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อก แต่ทั้งหมดไม่พบผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 แต่อย่างใด

การป้องกันตัวเอง

สำหรับการป้องกันตัวเองในขณะนี้ หลายประเทศยังคงอยู่ในกรอบเดิมนั่นคือ

  • แนะนำให้ประชาชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19
  • การรักษามาตรการป้องกันส่วนบุคคลยังมีความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่าง การเลี่ยงการรวมกลุ่ม

FAQ : เกี่ยวกับเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์ โอไมครอน (B.1.1.529)

Q : การติดเชื้อสายพันธุ์กลายพันธุ์ B.1.1.529 ต่างจากสายพันธุ์อื่นไหม?
A :
ในขณะนี้ยังไม่มีรายงานความแตกต่างใด ๆ ในภายหลังจากการรับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์กลายพันธุ์ B.1.1.529 นี้

Q : เพราะผู้ป่วย HIV ติดเชื้อโควิด-19 เลยกลายพันธุ์ใช่ไหม?
A :
ทางการบอตสวานา ยืนยันว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง ไม่มีผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนี้ เป็นผู้ป่วย HIV แต่อย่างใด (อ้างอิงแถลงการณ์)

Q : ทำไมต้องตื่นเต้น – ตกใจ – สนใจ ตัวนี้ด้วย?
A :
เนื่องจากเชื้อโควิด-19 ในสายพันธุ์ Omicron ที่พบใหม่นี้ มีการกลายพันธุ์ในหลายตำแหน่ง มากกว่าเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงสายพันธุ์เดลต้าด้วย ทำให้มีความกังวลว่า จะสามารถระบาดได้เร็ว เลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี และอีกหลายอย่างที่ยังไม่ทราบได้ในขณะนี้

Q : มีผลกระทบต่อวัคซีนไหม?
A :
ในขณะนี้ ยังมีข้อมูลไม่มากพอที่จะสรุปความแตกต่างที่เกิดขึ้นได้ระหว่างสายพันธุ์นี้ กับสายพันธุ์อื่น แต่ในขณะนี้จากรายงานของฮ่องกง พบว่า ผู้ป่วยรายหนึ่งมีประวัติได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว และติดเชื้อสายพันธุ์นี้

อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นคาดว่า วัคซีนที่ใช้งานจะยังคงป้องกันการป่วยหนัก และเสียชีวิตได้

Q : น่ากลัวกว่าสายพันธุ์อื่นหรือไม่
A :
ในขณะนี้ข้อมูลยังมีไม่มากพอที่จะยืนยันได้ แต่จากตำแหน่งของการกลายพันธุ์ และการค้นพบผู้ป่วย ทำให้คาดว่า สายพันธุ์กลายพันธุ์ B.1.1529 นี้ จะมีความสามารถในการแพร่กระจายได้เร็ว ส่วนระดับความรุนแรงของโรคนั้นในขณะนี้ ยังคงมีข้อมูลไม่เพียงพอ

Q : ป้องกันตัวอย่างไรดี
A :
การป้องกันในขณะนี้ ยังคงอยู่ในกรอบเดิมคือ การป้องกันส่วนบุคคล รวมถึงการฉีดวัคซีน ยังคงเป็นแนวทางที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้


ข้อมูล –

  • https://www.gov.ie/en/press-release/51184-statement-from-the-department-of-health-25-november-2021/
  • https://www.nature.com/articles/d41586-021-03552-w
  • https://www.nicd.ac.za/
  • https://www.hln.be/binnenland/mogelijk-2-gevallen-van-nieuwe-variant-in-ons-land-opgedoken-dit-zegt-viroloog-marc-van-ranst~a91b8691/
  • https://assets.uzleuven.be/files/2021-11/genomic_surveillance_update_211126.pdf
  • https://www.who.int/news/item/26-11-2021-classification-of-omicron-(b.1.1.529)-sars-cov-2-variant-of-concern
  • https://www.ecdc.europa.eu/en/publications-data/threat-assessment-brief-emergence-sars-cov-2-variant-b.1.1.529
  • https://www.businesswire.com/news/home/20211126005595/en/Moderna-Announces-Strategy-to-Address-Omicron-B.1.1.529-SARS-CoV-2-Variant
  • https://www.telegraph.co.uk/global-health/science-and-disease/south-african-doctor-raised-alarm-omicron-variant-says-symptoms/
  • https://www.health.nsw.gov.au/
  • https://www.gov.uk/government/news/covid-19-variants-identified-in-the-uk
  • https://www.ottawapublichealth.ca/en/public-health-topics/novel-coronavirus.aspx#November-28-2021-Special-statement-from-Dr-Vera-Etches
  • https://solidarites-sante.gouv.fr/actualites/presse/communiques-de-presse/article/les-autorites-sanitaires-francaises-surveillent-les-cas-possibles-de-personnes
  • https://www.folkhalsomyndigheten.se/nyheter-och-press/nyhetsarkiv/2021/november/ny-virusvariant-av-sars-cov-2-aven-i-sverige/
  • https://www.ssi.dk/aktuelt/nyheder/2021/status-paa-omikron-varianten
  • https://www.gisaid.org/hcov19-variants/
  • https://www.rivm.nl/en/news/omicron-variant-found-in-two-previous-test-samples
  • https://www.folkhalsomyndigheten.se/the-public-health-agency-of-sweden/
  • https://www.gov.br/anvisa/
  • https://www.hku.hk/press/press-releases/detail/23674.html
  • https://www.health.gov.au/
  • https://ncdc.gov.ng/
  • www.spa.gov.sa
  • https://www.ssi.dk/aktuelt/nyheder/2021/status-pa-omikron-varianten-b11529-pr-011221
  • https://www.cdc.gov/media/releases/2021/s1201-omicron-variant.html
  • https://www.moh.gov.sg/news-highlights/details/two-imported-covid-19-cases-tested-preliminarily-positive-for-omicron-variant
  • https://thl.fi/en/web/thlfi-en/-/coronavirus-infection-caused-by-the-omicron-variant-has-been-detected-in-finland?redirect=%2Fen%2Fweb%2Fthlfi-en
  • https://governor.hawaii.gov/newsroom/doh-news-release-hawaii-department-of-health-laboratory-detects-omicron-variant-in-hawaii/
  • https://hpa.gov.mv
  • https://twitter.com/mohpnep/status/1467764000716775424
  • https://ria.ru/20211206/omikron-1762369526.html
  • https://www.facebook.com/phneoc/