โควิด-19 วันนี้ โควิด-19 ไทย โควิดวันนี้

สถานการณ์โควิด-19 วันนี้ (19 มี.ค.)

สถานการณ์ภาพรวมในวันนี้ แนวโน้มในภาพรวมนั้น ผู้ป่วยยังคงเป็นไปในทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้น วันนี้ PCR + 25,804 ราย ส่วน ATK +16,658 ราย ลดลงทั้ง 2 ยอด…

Home / โควิด-19 / สถานการณ์โควิด-19 วันนี้ (19 มี.ค.)

สถานการณ์ภาพรวมในวันนี้

  • แนวโน้มในภาพรวมนั้น ผู้ป่วยยังคงเป็นไปในทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้น
  • วันนี้ PCR + 25,804 ราย ส่วน ATK +16,658 ราย ลดลงทั้ง 2 ยอด
  • อัตราการเสียชีวิตในขณะนี้ยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ไม่พุ่งตามอัตราการพบผู้ป่วยรายใหม่ก็ตาม
  • อัตราการป่วยหนัก ยังคงเป็นไปในทิศทางที่คล้ายคลึงกับอัตราการเสียชีวิต ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
  • หากสถานการณ์ยังคงเป็นไปในทิศทางนี้ คาดว่าในช่วงปลายเดือน เม.ย. – พ.ค. 65 จะมีผู้เสียชีวิตสูงกว่า 200 ราย/วัน
  • กลุ่มผู้สูงอายุยังคงเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้มากกว่ากลุ่มอื่น
  • และยังเหลือผู้สูงอายุอีกกว่า 2 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนแม้แต่เข็มเดียว

ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยประจำวันนี้ ( 19 มี.ค. 65 ) โดยยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยวันนี้

ผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่

พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 25,804 ราย รวมสะสม 3,328,973 ราย โดยแบ่งเป็น

  • ในประเทศ 25,778 ราย
  • มาจากต่างประเทศ 26 ราย

ยอดผู้ติดเชื้อเข้าข่ายจาก ATK จำนวน 16,658 ราย รวมสะสม 1,212,224 ราย

ทิศทางการพบผู้ป่วยรายใหม่จากการตรวจด้วย PCR ในวันนี้ ลดลงจากเมื่อวานที่ผ่านมา ราว 2 พันราย แต่ในแนวโน้มการพบผู้ป่วยนั้นยังคงเป็นไปในทิศทางที่ขาขึ้น

ยอดผู้ป่วยโควิด-19 สูงสุด 10 จังหวัดแรก

จังหวัดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่
กรุงเทพฯ3,341
นครศรีธรรมราช1,633
ชลบุรี1,420
สมุทรปราการ941
สมุทรสาคร867
นครปฐม642
ร้อยเอ็ด623
นนทบุรี587
นครราชสีมา568
ราชบุรี545
พระนครศรีอยุธยา

กรุงเทพยังคงเป็นจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่สูงสุด เกิน 3 พันรายต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 แล้ว ในขณะที่นครศรีธรรมราชมีจำนวนลดลง แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่า 1 พันกว่ารายต่อเนื่องมาราว 10 วันแล้ว

ร้อยเอ็ด พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และแนวโน้มยังคงเป็นไปในทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่อีกหลายจังหวัดมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลดลง แต่ไม่ได้มากนัก

หายป่วยจากโควิด-19/ กลับบ้าน

ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในวันนี้ ที่หายป่วยและได้กลับบ้าน 18,801 ราย รวมสะสม 3,067,292 ราย

จำนวนผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 และได้กลับบ้านในวันนี้ มีจำนวนลดลงต่ำกว่า 2 หมื่นรายเป็นครั้งแรกในรอบสัปดาห์ ทำให้แนวโน้มในขณะนี้อัตราการหายป่วยลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ป่วยในระดับสีเขียว คือมีอาการเบา

จากจำนวนผู้ที่หายป่วยในขณะนี้มีจำนวนที่น้อยลง แต่ผู้ป่วยรายใหม่มีจำนวนมากกว่า ทำให้อัตราการครองเตียงในสถานพยาบาล – สถานบริการเพิ่มสูงขึ้น โดยในขณะนี้มีผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังคงรักษาตัวอยู่จำนวน 237,519 ราย แบ่งเป็น

  • โรงพยาบาล 72,756 ราย
  • โรงพยาบาลสนาม 58,936 ราย
  • แยกกักตัวที่บ้าน/ชุมชน 104,647 ราย
  • อื่น ๆ 1,180 ราย

ซึ่งอัตราการครองเตียงในขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นเตียงระดับหนึ่ง ที่เป็นผู้ป่วยอาการเบา อยู่ที่ราว 61.2% ส่วนเตียงระดับเหลือง อยู่ที่ต่ำว่า 30% และเตียงระดับแดงอยู่ที่ 31%

ผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิต

จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 วันนี้ มีจำนวน 87 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 24,162 ราย

แนวโน้มของการเสียชีวิตจากโควิด-19 ยังเป็นไปในทิศทางขาขึ้นต่อเนื่อง แม้จะไม่พุ่งสูงตามตามแนวโน้มการพบผู้ป่วยรายใหม่ก็ตาม แต่การติดเชื้อที่มากขึ้น ก็ทำให้การติดเชื้อในกลุ่มเสี่ยงมีจำนวนมากขึ้นด้วย โดยในขณะนี้กลุ่มที่ยังคงมีความเสี่ยงมากที่สุดคือ กลุ่มผู้สูงอายุ ที่ยังคงมีอัตราการเสียชีวิตที่ค่อนข้างสูงกว่าในกลุ่มอื่น ๆ

โดยแนวโน้มที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นไปตามทิศทางสถานการณ์ที่คาดการณ์ในระดับสีแดง ที่จะมีการเสียชีวิตสูงขึ้นต่อเนื่อง และคาดว่า ในช่วงต้นเดือน พ.ค. 2565 นี้จะมีผู้เสียชีวิตสูงกว่า 250 รายต่อวัน

วันนี้ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนักเพิ่มขึ้นอีก 23 ราย ทำให้คงเหลือผู้ป่วยอาการหนักจำนวน 1,414 ราย แนวโน้มยังคงเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกับอัตราการเสียชีวิต ที่อัตราการพบผู้ป่วยอาการหนัก ไม่พุ่งสูงตามอัตราการติดเชื้อรายใหม่

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจวันนี้ เพิ่มขึ้น 1 ราย รวมเป็น 512 ราย แนวโน้มเริ่มชะลอตัวลง

สำหรับแนวโน้มการพบผู้ป่วยอาการหนักอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง โดยในกลุ่มผู้ป่วยอาการหนักที่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอาจจะสูงกว่า 1,500 รายในช่วงเดือน พ.ค. 2565 นี้เช่นกัน

สิ่งสำคัญที่ช่วย อัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ครอบคลุมมากขึ้น ทำให้อัตราการเสียชีวิตหรือป่วยหนักไม่พุ่งตามอัตราการพบผู้ป่วยรายใหม่แต่อย่างใด ดังนั้น การเข้ารับวัคซีนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่ยังคงมีอีกจำนวน 2 ล้านคน ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เลย ซึ่งในกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากอัตราการติดเชื้อยังคงเป็นไปในทิศทางที่พุ่งสูงขึ้นและน่าจะยิ่งมีความเสี่ยงมายิ่งขึ้นเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่จะมีการเดินทาง และการรวมกลุ่มทำกิจกรรมกันมากขึ้น