ชิคุนกุนยา โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ญี่ปุ่น โรคไข้ปวดข้อยุงลาย

ชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคไข้ญี่ปุ่น ภัยใกล้ตัวที่มาจากยุง!

โรคชิคุนกุนยา คืออะไร ชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ชาวบ้านทางจังหวัดภาคใต้มักเรียกว่า โรคไข้ญี่ปุ่น เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งติดต่อมาสู่คนทางยุงลาย ซึ่งรวมทั้งยุงลายสวนและยุงลายบ้าน เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่มีไข้สูงซึ่งเป็นระยะที่เชื้อไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดผู้อื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัดทำให้คนนั้นเกิดอาการป่วยได้นั่นเอง โดยจะมีอาการเป็นไข้และปวดตามข้อรุนแรงทรมาน มีอาการคล้ายโรคไข้เลือดออกแต่ไม่รุนแรงเท่าไข้เลือดออก ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อกหรือเสียชีวิต โดยผู้ป่วยจะมีไข้ประมาณ…

Home / HEALTH / ชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคไข้ญี่ปุ่น ภัยใกล้ตัวที่มาจากยุง!

โรคชิคุนกุนยา คืออะไร

ชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ชาวบ้านทางจังหวัดภาคใต้มักเรียกว่า โรคไข้ญี่ปุ่น เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งติดต่อมาสู่คนทางยุงลาย ซึ่งรวมทั้งยุงลายสวนและยุงลายบ้าน เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่มีไข้สูงซึ่งเป็นระยะที่เชื้อไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดผู้อื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัดทำให้คนนั้นเกิดอาการป่วยได้นั่นเอง โดยจะมีอาการเป็นไข้และปวดตามข้อรุนแรงทรมาน มีอาการคล้ายโรคไข้เลือดออกแต่ไม่รุนแรงเท่าไข้เลือดออก ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อกหรือเสียชีวิต

โดยผู้ป่วยจะมีไข้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจะมีอาการปวดตามข้อ ปวดกล้ามเนื้อ อีกหลายสัปดาห์หรือเป็นระยะเวลานาน ถึงแม้จะไม่มีอันตรายถึงชีวิตแต่สำหรับผู้ใหญ่แม้จะหายจากโรคนี้แล้วแต่อาการปวดตามข้อต่างๆอาจจะกำเริบเมื่อไรก็ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่

ชิคุนกุนยา ได้มีการระบาดอย่างหนักทางภาคใต้ของประเทศไทย อย่างสงขลา ยะลา ปัตตานี สตูล และนราธิวาส เพราะยุงลายอาศัยอยู่ตามสวนยางพารา สวนผลไม้ของชาวบ้านในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จึงกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคระบาดต่างๆ รวมถึงโรคชิคุนกุนยาอีกด้วย

โรคชิคุนกุนยา
โรคชิคุนกุนยา

อาการของโรคชิคุนกุนยา

  • ไข้สูงโดยเฉียบพลัน
  • อาการปวดข้ออย่างรุนแรงหรือข้อติดขัด
  • ระยะฟักตัวของโรคนี้ประมาณ 2-4 วัน
  • มีไข้สูงเฉียบพลัน 38-40 องศาเซลเซียส
  • ผื่นแดง ผิวหนังจะมีผื่นแดงเพิ่มมากขึ้น มีผื่นแดงเล็กๆตามตัวและแขนขา แต่ไม่คัน
  • มีอาการปวดตามข้อ ข้อบวมแดงอีกเสบ เช่น ข้อมือ ข้อนิ้วมือ ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า หรือบางครั้งอาจปวดหลายข้อพร้อมๆกัน
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
  • ตาแดง เยื่อตาอักเสบ
โรคชิคุนกุนยา
โรคชิคุนกุนยา

การป้องกันโรคชิคุนกุนยา

  1. ป้องกันการถูกยุงกัด ซึ่งยุงลายมักกัดคนในเวลากลางวัน
  2. การกำจัดลูกน้ำยุงลาย อาจใช้ยากันยุงที่มีสารไล่แมลง หรือ ใช้ทรายกำจัดลูกน้ำใส่ในภาชนะขังน้ำ
  3. ควรนอนในมุ้งหรือติดมุ้งลวดตามบ้าน เพื่อป้องกันยุงลายเข้ามาในที่อยู่อาศัย
  4. คนที่ทำงานในสวนยางพาราหรือสวนผลไม้ ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อป้องกันยุงลายกัด
  5. หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณมุมอับชื้น
  6. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ปิดโอ่งน้ำ คว่ำอ่างน้ำ ถ้วย ชาม แจกันดอกไม้ จานรองตู้กับข้าว อย่าให้มีน้ำขังอยู่ในภาชนะ
  7. ใช้ยาทากันยุง
  8. เก็บเศษขยะ ภาชนะต่างๆไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย
  9. เก็บกวาดใบไม้ตามพื้น หลังคา ท่อน้ำ

การรักษาโรคชิคุนกุนยา

เนื่องจากยังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนสำหรับเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา การรักษาจะใช้วิธีประคับประคองอาการ เช่น กินยาแก้ปวด กินยาลดไข้ เช็ดตัวด้วยน้ำสะอาดเป็นระยะ และห้ามกินยาแอสไพรินลดไข้เด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้เกิดเลือดออกได้ง่ายขึ้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์ โรคนี้ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงถึงชีวิตจะหายได้เอง

เรียบเรียงโดย Health Mthai