วิบากกรรม แก้กรรม

วิบากกรรม กับ 5 วิธีแก้ไข ทำอย่างไรให้พ้นจากความทุกข์ ?

แก้ไข วิบากกรรม จากเจ้ากรรมนายเวร ให้เบาบางลงด้วยวิธีตามหลักศาสนาพุทธ โดย อ. มิก พชร ฑูตเทวะ

Home / ไลฟ์สไตล์ / วิบากกรรม กับ 5 วิธีแก้ไข ทำอย่างไรให้พ้นจากความทุกข์ ?

วิบากกรรม ความทุกข์ไร้ตัวตน  ความเชื่อคนไทยเรื่องวิบากกรรมจากเจ้ากรรมนายเวรที่เราได้เคยทำไม่ดีไว้ไม่ว่าจะเป็นในชาติที่แล้วหรือในชาตินี้ ต่างก็มีผลมาถึงปัจจุบัน อุปสรรคและความทุกข์ที่เราต้องเจอ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการกระทำทั้งสิ้น ถึงแม้ว่า วิบากกรรม ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้จะไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ แต่เชื่อว่าหลายคนสัมผัสได้ว่ามีอยู่จริง วันนี้แม่หมอ และ Horoscope.mthai.com เลยอยากมานำเสนอวิธีแก้ไขวิบากกรรมจากอ. มิก พชร ฑูตเทวะ เพื่อเป็นแนวทางในการหาทางออกและอยากให้ได้แชร์ส่งต่อไปให้ผู้อื่นได้พ้นจากทุกข์ไปด้วยกันค่ะ

 

วิบากกรรม
ความทุกข์จาก วิบากกรรม

1. ทำบุญอุทิศส่วนกุศล วิธีนี้ทุกคนรู้จักกันดี เพราะเป็นวิธีที่สืบทอดตามกันมา ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ ใส่บาตร ถวายสังฆทาน ทอดกฐิน ไถ่ชีวิตโค-กระบือ แล้วตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร แต่อยากจะบอกทุกท่าน ว่านี่เป็นแค่ทานกุศล เป็นเพียงกุศลเบื้องต้นที่ยังหยาบอยู่ ซึ่งบางครั้งอาจไม่เพียงพอที่จะไถ่โทษทัณฑ์ที่ได้กระทำผิดต่อเจ้ากรรมนายเวรตนนั้นได้

2. การบวชพราหมณ์ หรือ บวชพระ รวมไปถึงการถือศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และศีล 227 ส่วนจะบวชกี่วันย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคน การบวชชีพราหมณ์เป็นระดับบุญที่สูงกว่าการให้ทาน เพราะมีโอกาสได้ทำวัตรเช้าเย็น และยังได้มีโอกาสนั่งสมาธิ แผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรได้อีกด้วย

3. เจริญสมาธิภาวนา เนื่องจากในสังคมปัจจุบันที่ใช้ชีวิตอยู่ที่ทำงานเป็นส่วนใหญ่ ย่อมมีข้อจำกัดไม่มีเวลาไปบวช ดังนั้นเราควรทำบ้านให้กลายเป็นวัด ด้วยการสวดมนต์และเจริญภาวนาให้เป็นประจำ เพราะเป็นกศลที่ละเอียดมากและสูงที่สุด เป็นที่ปรารถนาของทุกดวงจิต เพราะผู้มีกายทิพย์หรือกายละเอียดย่อมต้องการบุญที่ละเอียดเช่นกัน องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า “หากเราทำจิตให้นิ่งสงบได้” ดังนั้นแม้ไม่มีเวลาไปวัด คุณก็สามารถปฏิบัติที่บ้านได้ แต่ขอให้ทำอย่างจริงจังเท่านั้น

4. ขออโหสิกรรม ถือเป็นการให้อภัยทาน คือการไม่ถือผิด ยกโทษให้การล่วงเกินกระทบกระทั่งทั้งหลายว่าเป็นโทษ อภัยทานเป็นทานระดับทานปรมัตถบารมี หากมีการให้อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน กรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะหลุดพ้นจากบ่วงกรรมนั้นทันที

5. ขอร้องไกล่เกลี่ย เมื่อกระทำทุกอย่างรอบๆตัวแล้ว อาการป่วยหรือสภาวะต่างๆไม่ดีขึ้น ก็ต้องหาคนกลางมาไกล่เกลี่ย เช่น ผู้ทรงศีล พระผู้ทรงอภิญญา หรือผู้ที่มีจิตสัมผัส กล่าวมาถึงตรงนี้ ต้องการนำเสนอให้ทุกคนเห็นอีกด้านของวิถีแห่งเทวะบำบัด ซึ่งก็คือการไกล่เกลี่ยต่อเจ้ากรรมนายเวร

วิบากรรม

 ติดตามอ่านแบบเต็มจุใจได้ที่ : หนังสือ เทวะบำบัด โดย อ.มิก พชร ฑูตเทวะ

เรียบเรียบโดย : Horoscope.mthai.com