รู้จักภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน: ทำอย่างไรเมื่อเพื่อนร่วมงาน หรือคนใกล้ตัว มีอาการดังกล่าว

โรคหัวใจขาดเลือดเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และปอดอักเสบ1 ยังมีอีกหนึ่งภาวะอันตรายของหัวใจที่สามารถเกิดขึ้นได้กะทันหันโดยที่เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้า ได้แก่ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) ภัยเงียบที่อาจส่งผลถึงชีวิต โดยข้อมูลขององค์กร Global Resuscitation…

Home / HEALTH / รู้จักภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน: ทำอย่างไรเมื่อเพื่อนร่วมงาน หรือคนใกล้ตัว มีอาการดังกล่าว

โรคหัวใจขาดเลือดเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และปอดอักเสบ1 ยังมีอีกหนึ่งภาวะอันตรายของหัวใจที่สามารถเกิดขึ้นได้กะทันหันโดยที่เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้า ได้แก่ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) ภัยเงียบที่อาจส่งผลถึงชีวิต โดยข้อมูลขององค์กร Global Resuscitation Alliance ระบุว่า ผู้รอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันทั่วโลกมีน้อยกว่าร้อยละ 102  

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันคืออะไร ใช่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันไหม

หลายคนอาจสับสนระหว่างภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน กับภาวะหัวใจวายที่ฟังดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่ความจริงแล้วเป็นคนละอาการ โดยภาวะหัวใจวายเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ทำหน้าที่นำเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอุดกั้น ส่งผลให้ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย และหากหลอดเลือดไม่ขยายออกทันเวลา จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้3 

ในขณะที่ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันจะเกิดขึ้นทันทีโดยไม่มีสัญญาณเตือน ซึ่งมาจากการที่หัวใจสูญเสียการทำงานกะทันหัน ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ทัน และทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่มีความอันตรายถึงชีวิต3 

ในปี 2562 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติรายงานว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด (Cardiovascular Diseases: CVDs) มากถึง 350,922 ราย และเสียชีวิตจำนวน 20,556 ราย4 แม้โรคหัวใจจะเป็นภัยเงียบที่เราไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้ แต่เราสามารถเรียนรู้วิธีการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) หรือใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automatic External Defibrillators – AED) เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นก่อนเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินจะมาถึง5 

รู้จักวิธีช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และความสำคัญของเครื่อง AED ในที่สาธารณะและที่ทำงาน

เพราะภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ หากเราพบเจอผู้ป่วยฉุกเฉิน เราจึงต้องลงมือช่วยเหลือทันทีด้วยการทำตามหลักห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต ตามคำแนะนำของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ6 ดังนี้

1. การจดจำอาการและการโทรแจ้งระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ทันที 2. เริ่มทำการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ทันทีด้วยเน้นที่การกดหน้าอก 3. ได้รับการช็อกไฟฟ้าหัวใจอย่างรวดเร็วด้วยเครื่อง AED 4. การช่วยชีวิตขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ (รวมถึงการนำผู้ป่วยขึ้นเปลและนำส่งโรงพยาบาล) 5. การดูแลจากสหสาขาวิชาชีพภายหลังจากการช่วยฟื้นคืนชีพ6

ในที่ทำงาน หากเราช่วยผู้ป่วยด้วยการปฐมพยาบาลแบบ CPR หรือใช้เครื่อง AED ได้อย่างถูกต้องและทันเวลา ก็อาจจะช่วยให้เพื่อนร่วมงานของเรามีโอกาสรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยผลการศึกษาวิจัยพบว่า การใช้เครื่อง AED ช็อกกระตุ้นหัวใจอย่างถูกต้องภายใน 3-5 นาทีแรก จะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้ถึง 49-75%5

ทั้งนี้ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินเรื่องมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานนอกสถานพยาบาลพ.ศ.๒๕๖๔ ระบุว่า เครื่อง AED ที่จะนำมาใช้งาน ควรตั้งอยู่ในที่ที่เข้าถึงได้ง่าย มองเห็นได้ในที่มืด จุดติดตั้งต้องอยู่ในจุดที่ปลอดภัยสูงจากพื้นไม่เกิน 1.5 เมตร และสามารถนำมาใช้งานได้สะดวก รวมถึงต้องคำนึงถึงการเข้าถึงและนำมาช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินหัวใจหยุดเต้นได้ภายในระยะเวลา 4 นาทีนับตั้งแต่พบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น7 

HeartSine samaritan PAD model 500P เป็นเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) สามารถใช้ร่วมกับการปฐมพยาบาลแบบ CPR ตัวเครื่องขนาดเล็ก ขนาดเพียง 20 ซม. X 18.4 ซม. X 4.8 ซม. ด้วยน้ำหนักเพียง 1.1 กิโลกรัม และใช้งานง่ายด้วยระบบ CPR Advisor แสดงผลลัพธ์การช่วยชีวิตแบบ CPR แบบเรียลไทม์ด้วยภาพและเสียง สามารถแนะนำผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยตลอดทุกขั้นตอน นอกจากนี้ยังใช้การวัดความต้านทานไฟฟ้าของคลื่นไฟฟ้า เพื่อวิเคราะห์น้ำหนักและความถี่ในการกดหน้าอกผู้ป่วย ในขณะเดียวกันองค์กรควรจัดฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับวิธีการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเช่น CPR และการใช้เครื่อง AED ที่ถูกต้อง7 เพื่อจะได้ช่วยเหลือผู้ป่วยในเบื้องต้นได้ทันเวลาด้วย

อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

ข้อห้ามใช้

  • ห้ามใช้ HeartSine samaritan PAD ในการรักษาผู้ป่วยหากผู้ป่วยมีการตอบสนองหรือมีสติอยู่

คำเตือนและข้อควรระวัง

  • อุปกรณ์แต่ละชนิดผลิตขึ้นเพื่อให้บุคคลทั่วไปเป็นผู้ใช้งาน ผู้ใช้ควรผ่านการอบรม CPR และการใช้ AED มาแล้ว อย่างไรก็ตาม หากอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ช่วยเหลือที่เป็นบุคคลทั่วไปซึ่งไม่เคยได้รับการฝึกก็สามารถใช้ HeartSine samaritan PAD ได้
  • HeartSine Samaritan PAD จะทำการช๊อตไฟฟ้าเพื่อทำการรักษาที่อาจเกิดอันตรายร้ายแรงทั้งต่อตัวผู้ใช้หรือผู้ที่อยู่รอบข้าง ระมัดระวังไม่ให้มีคนสัมผัสตัวผู้ป่วยเมื่อทำการช๊อตไฟฟ้า
  • อย่าทำให้การรักษาล่าช้าด้วยการพยายามค้นหาอายุและน้ำหนักที่แท้จริงของผู้ป่วย

ใบแจ้งรายการละเอียดที่ 64-2-2-2-0008260 และ 64-2-2-2-0005393

จัดจำหน่ายโดย: บริษัท โพรสเพอรัส จำกัด 279 ซอยสุขุมวิท 62 แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260 โทร 0829656540

บริษัท เจี่ยรักษา จำกัด 36/5 ถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 7ตําบล อ้อมน้อย อําเภอ กระทุ่มแบน จังหวัด สมุทรสาคร 74130 โทร 024200661

ข้อมูลอ้างอิง

  1. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน

(ระดับโลกและประเทศไทย) [อินเทอร์เน็ต]. มกราคม 2565 [อ้างอิง 14 มีนาคม 2566]; หน้า 3. สืบค้นจาก: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/414764_20220208161448.pdf

  1. Global Resuscitation Alliance. Why the GRA Matters [อินเทอร์เน็ต]. Global Resuscitation Alliance; 2564 [อ้างอิง 14 มีนาคม 2566]. สืบค้นจาก: https://www.globalresuscitationalliance.org/why-it-matters/
  2. American Heart Association. Heart Attack and Sudden Cardiac Arrest Differences [อินเทอร์เน็ต]. Dallas Texas: American Heart Association; 2565 [อ้างอิง 14 มีนาคม 2566]. สืบค้นจาก: https://www.heart.org/en/health-topics/heart-attack/about-heart-attacks/heart-attack-or-sudden-cardiac-arrest-how-are-they-different
  3. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน

(ระดับโลกและประเทศไทย) [อินเทอร์เน็ต]. มกราคม 2565 [อ้างอิง 14 มีนาคม 2566]; หน้า 4. สืบค้นจาก: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/414764_20220208161448.pdf

  1. Ibrahim W.H. Recent advances and controversies in adult cardiopulmonary resuscitation. 2550. Postgraduate medical journal, 83(984), 649–654 [อ้างอิง 14 มีนาคม 2566].
  2. สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ จำกัด; 2563 [อ้างอิง 14 มีนาคม 2566]. หน้า 4. สืบค้นจาก: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2020/EBook/410985_20200824143640.pdf
  3. ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานนอกสถานพยาบาล พ.ศ.๒๕๖๔ 

ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ. 840/2566