ความรัก จิตวิทยา จิตวิทยาความรัก ทฤษฎีสามเหลี่ยม

ทฤษฎีสามเหลี่ยม จิตวิทยาความรัก 7 รูปแบบ หลายคนมักจะหยุดที่เฟรนด์โซนไม่ได้ข้ามขั้นเป็นแฟน

ดร.โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก นักจิตวิทยามหาวิทยาลัยเยล สร้างทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรัก (Triangular theory of love) วิเคราะห์ออกมาได้รักทั้ง 7 รูปแบบ

Home / HEALTH / ทฤษฎีสามเหลี่ยม จิตวิทยาความรัก 7 รูปแบบ หลายคนมักจะหยุดที่เฟรนด์โซนไม่ได้ข้ามขั้นเป็นแฟน

ดร.โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก นักจิตวิทยามหาวิทยาลัยเยล สร้างทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรัก (Triangular theory of love) ด้วยการรวบรวมทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความรัก มาวิเคราะห์ จนสรุปออกมาเป็นความรักทั้ง 7 รูปแบบ ของคุณอยู่ในรูปแบบใดลองไปเช็คกัน

Photo : elitesingles.ca

1.ความหลงใหล : ใจเต้นแรง ราวกับมีผีเสื้อบินอยู่เต็มท้อง

รักแรกพบ อาการคือ คุณจะใจเต้นแรง มือไม้สั่น ราวกับมีผีเสื้อบินอยู่ในท้องเต็มไปหมด!! จะว่าไปก็เต็มไปด้วยแพสชั่นเลยแหละ มันตื่นเต้นความสุขอาจจะเอ่อล้นช่วงแรกๆ แต่ความรู้สึกเหล่านั้นก็หายไปได้เร็วเมื่อเวลาผ่านไป

2.ความชอบ : รู้สึกดี ไปไหนด้วยกัน แต่ยังไม่อยากผูกมัด

ความชอบ จะเกิดขึ้นเมื่อทั้งสองคนเริ่มมีความสนิทสนมกันมากขึ้น คุยแล้วรู้สึกดี ไปไหนมาไหนด้วยกัน แต่ยังไม่ถึงขั้นอยากผูกมัด ทำให้หลายคนมักจะตายอยู่แค่ในเฟรนด์โซน ไม่ได้ข้ามขั้นไปเป็นแฟน

3.รักที่ว่างเปล่า : รักที่มีเพียงหน้าที่ความรับผิดชอบ

ความรักประเภทนี้ไม่มีความหลงใหล ความโรแมนติก มีเพียงเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบ ข้อผูกมัด เช่น ลูก หนี้สิน หรือฯลฯ มักพบในคู่รักที่แต่งงานกันไปสักระยะหนึ่ง

4.รักที่เป็นภาพลวงตา : แต่งงานเร็ว

นักจิตวิทยาเชื่อว่าคู่รักที่มีความรักแบบนี้จะอยู่ด้วยกันได้เป็นเวลานาน แต่ไม่ยอมรับคู่ของตัวเองให้เป็นเพื่อนคู่ชีวิตได้ โดยคู่รักประเภทนี้จะใช้เวลาคบกันไม่นานก็แต่งงานเลย หรือเรียกว่าแต่งงานกันเร็ว เพราะมีความหลงกันหนักมา เรียกได้ว่าเป็นความรักที่ไม่ได้มีความสนิทสนมกันสักเท่าไร แต่ก็พยายามปรับตัวเข้าหากัน โดยมีเรื่องของข้อผูกมัดเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การให้คำสัญญา การแบ่งหน้าที่ในการดูแลบ้าน ดูแลครอบครัว

5.รักโรแมนติก : เสี่ยงต่อการเลิกรา

รักโรแมนติก จะว่าไปแล้วก็เป็นรักในอุดมคติที่ส่วนใหญ่ต้องการ มีทั้งความใคร่ ความสนิทสนม แต่อาจจะไม่ได้มีข้อผูกมัดใดๆ ต่อกัน จึงทำให้หลายๆ คู่ไม่ได้มองร่วมกันถึงอนาคต มีความเสี่ยงในการเลิกรากันได้ง่ายๆ

6.รักที่เห็นใจกันและกัน : อยู่กันเหมือนเพื่อนคู่คิด

ความรักรูปแบบนี้ อยู่กันเหมือนเพื่อนคู่คิด เป็นความรักของคู่ที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมานาน และมีข้อผูกมัดกัน แต่ก็อาจจะขาดในเรื่องของความใคร่กันและกัน

7.รักแท้ : รักที่หายากและใครก็ต้องการ

รักแท้ ใครๆ ก็ต้องการกันทั้งนั้น เพราะหลายคนเชื่อว่า ถ้าเจอรักแท้แล้วจะทำให้ชีวิตมีความสุข ในความสัมพันธ์รูปแบบนี้มีทั้งความรัก ความใคร่ ความสนิทสนม พันธะสัญญา ข้อผูกมัดต่างๆ ความเข้าใจ ความเห็นใจ การปรับตัว หากใครเจอแล้วก็ถือว่าโชคดี

ที่มา : psychologytoday, robertjsternberg

บทความแนะนำ