ผู้สูงวัย ผู้สูงอายุ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย สุขภาพ

แพทย์ชี้ ปี 64 ยอดผู้สูงอายุพุ่งแตะ 20% ของประชากรไทย เสี่ยงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) อายุเพิ่มขึ้นยิ่งเสี่ยง งานวิจัยหลายชิ้นแนะว่าผู้สูงอายุควรรับประทานโปรตีนคุณภาพดีเพิ่มขึ้น

Home / HEALTH / แพทย์ชี้ ปี 64 ยอดผู้สูงอายุพุ่งแตะ 20% ของประชากรไทย เสี่ยงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

ประเทศไทยกำลังนับถอยหลังสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ โดยในปี 2564 เราจะมีประชากรผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 20 ของประเทศ ดังนั้นการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเข้ามาทุกขณะ โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และอาจเป็นภาระลูกหลานในที่สุด การสร้างความเข้าใจด้านโภชนาการและเสริมสารอาหารให้เพียงพอถือเป็นก้าวสำคัญในการเดินหน้าสู่สังคมสูงวัยที่แข็งแรงและมีคุณภาพ

ปี 64 ยอดผู้สูงอายุพุ่ง แตะ 20% ของประชากรไทย เสี่ยงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

“ผู้สูงอายุ ที่รับประทานอาหารได้น้อยลง เบื่ออาหาร จะส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิต น้ำหนักลดลง มีอาการเหนื่อยง่าย และแรงบีบมือที่ลดลง นอกจากนี้ การกินอาหารที่มีโภชนาการไม่เหมาะสม ไม่ได้มีเพียงแค่กินได้น้อยเท่านั้น แต่พบว่า โรคอ้วนในกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยเพิ่มขึ้นถึงกว่าร้อยละ 30 (เทียบปี 2551 กับ ปี 2557)** แต่การมีน้ำหนักตัวที่มากไม่ได้แปลว่ามีมวลกล้ามเนื้อมากตามไปด้วย เพราะแม้ว่าจะดูอ้วนท้วนสมบูรณ์ แต่อาจจะเกิดจากมวลไขมันที่สะสมมากเกิน” ผศ.พญ.ศานิต วิชานศวกุล อายุรแพทย์และแพทย์ผู้ชำนาญด้านโภชนาการคลินิกประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 14 ของทางสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “Enhance Quality of Life with Power of Food in Era of Aging Population” สนับสนุนโดย บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) อายุเพิ่มขึ้นยิ่งเสี่ยง

“ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) พบได้บ่อยครั้งในผู้สูงอายุ ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้น การสลายของมวลกล้ามเนื้อจะสูงขึ้น แต่กลับสร้างทดแทนได้ไม่ดีอย่างที่เคย โดยปกติแล้ว บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีมวลกล้ามเนื้อลดลงที่ 8 % ในทุกๆ 10 ปี มวลกล้ามเนื้อจะมีอัตราการลดลงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่ออายุ 70 ปีอัตราการลดลงจะเพิ่มเป็น 15% ทุก 10 ปี* ซึ่งมีนัยยสำคัญอย่างมากเพราะเมื่อมีการลดลงของมวลกล้ามเนื้อจะส่งผลต่อสุขภาพทั้งภายในและภายนอก เช่น มีภูมิต้านทานที่น้อยลง*** เจ็บป่วย แขนขาอ่อนแรง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และอาจเป็นผู้ป่วยติดเตียงในที่สุด หากไม่ได้รับการดูแล” ผศ.พญ.ศานิต กล่าวเสริม

ควรรับประทานโปรตีนเพิ่มขึ้น

การศึกษาและงานวิจัยหลายชิ้นแนะว่าผู้สูงอายุควรรับประทานโปรตีนคุณภาพดีเพิ่มขึ้น เพราะโปรตีนเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างและลดการสลายมวลกล้ามเนื้อโดยตรง แต่สำหรับผู้สูงอายุการทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เพียงพอนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะโปรตีนจากเนื้อสัตว์เพราะไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้สะดวกและย่อยยาก

ในปัจจุบันจึงมีนวัตกรรมอาหารเสริมที่ได้รับการยอมรับในวงการแพทย์ ที่เรียกกันว่า “อาหารสูตรครบถ้วน 5 หมู่” ซึ่งมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันชนิดดี วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ในรูปแบบผง ชงดื่มง่าย ดื่มเสริมมื้ออาหารได้ทันที โดยผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ผู้สูงอายุดื่ม “อาหารสูตรครบถ้วน 5 หมู่” ที่มีส่วนผสมที่มีคุณภาพ เช่น โปรตีนเวย์ที่ดูดซึมได้ดีและย่อยเร็ว

“นอกจากเรื่องโปรตีนคุณภาพดีทีมีความสำคัญในผู้สูงอายุ มีการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการลดลงของจุลินทรีย์ดีในลำไส้หรือโปรไบโอติกส์ ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพเชิงลบในผู้สูงอายุได้ การเสริมโปรไบติกส์หรือจุลินทรีย์ที่ดีในอาหาร อาจช่วยฟื้นฟูคุณภาพลำไส้จากการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดี โดยมีการศึกษาพบว่า การเสริมอาหารที่มีจุลินทรีย์ดีหรือโปรไบโอติกส์ ต่อเนื่อง 4 เดือน มีส่วนช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว (lymphocyte) อย่างมีนัยสำคัญ และ ช่วยลดการติดเชื้อต่าง ๆ ได้มากกว่าถึง 41% เมื่อติดตามผลดื่มต่อเนื่อง 1 ปี” ผศ.พญ.ศานิต กล่าวเสริม

ในประเทศไทยมีตัวเลือก “อาหารสูตรครบถ้วน 5 หมู่” ในท้องตลาดมากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งจะมีส่วนผสมต่างกันออกไปตามความต้องการ เช่น บูสท์ ออปติมัม (Boost Optimum) ที่มีส่วนผสมของโปรตีนเวย์คุณภาพสูง มีโปรไบโอติกส์ ไขมันชนิดดี รวมถึงมีวิตามินและแร่ธาตุกว่า 30 ชนิด เหมาะสำหรับเป็นอาหารเสริมให้กับผู้สูงอายุ

ขอบคุณข้อมูลจาก : เนสท์เล่