ซิ่นคำเคิบ ผ้าซิ่น วัดศรีพันต้น เชอรี่ เข็มอัปสร

เชอรี่ เข็มอัปสร คนงามเมืองน่าน นุ่งซิ่นคำเคิบเที่ยววัด

เชอรี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ ถือได้ว่าเป็นคนสวยใจบุญ รักษ์โลก และสำนึกรักบ้านเกิดระดับตัวมารดาท่านหนึ่งเลยทีเดียว

Home / แฟชั่น / เชอรี่ เข็มอัปสร คนงามเมืองน่าน นุ่งซิ่นคำเคิบเที่ยววัด

เชอรี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ ถือได้ว่าเป็นคนสวยใจบุญ รักษ์โลก และสำนึกรักบ้านเกิดระดับตัวมารดาท่านหนึ่งเลยทีเดียว โดยในระยะหลายปีมานี้ เราจะได้เห็นสาวเชอรี่หันมาให้ความสนใจการปลูกป่า เรื่องของมลพิษทางอากาศ การลดขยะ ลดโลกร้อน รวมไปถึงการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ใน จ.น่าน ซึ่งถือเป็นบ้านเกิดของต้นตระกูลสาวเชอรี่เอง งานนี้สาวเชอรี่รับบททูตวัฒนธรรมอีกหนึ่ง เมื่อสาวเชอรี่ นุ่งผ้าซิ่นคำเคิบ จังหวัดน่าน ที่ตัดออกมาเป็นชุดสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไปเดินเที่ยววัดต่างๆ ใน จ.น่าน ทั้ง วัดศรีพันต้น วัดภูมินทร์และวัดพระธาตุเขาน้อย ตามมาชมความงามอัตลักษณ์เมืองน่านกับสาวเชอรี่ไปพร้อมๆ กันจ้า

เชอรี่ เข็มอัปสร นุ่งผ้าซิ่นคำเคิบ จังหวัดน่าน

เชอรี่ เข็มอัปสร
เชอรี่ เข็มอัปสร
เชอรี่ เข็มอัปสร

รู้จัก ผ้าซิ่นคำเคิบ หัตถศิลป์ เมืองน่าน

ผ้าซิ่นคำเคิบ เป็นผ้าซิ่นสำหรับเจ้านายสตรีชั้นสูงในราชสำนัก เป็นซิ่นที่ทอด้วยเทคนิคการเก็บขิดของชาวไทยวนจังหวัดน่าน โดยใช้ดิ้นทองเป็นเส้นพุ้งตลอดทั้งผืน ลวดลายซิ่นจะเป็นลวดลายขนาดเล็กนิยมต่อตีนที่เป็นจกด้วยดิ้นทองเช่นกัน แต่บางผืนอาจจะไม่ต่อตีนจกแต่ทอด้วยผ้าฝ้ายสีพื้นธรรมดา ด้วยศิลปะการทอที่ใช้ในราชสำนัก การประกอบลวดลายอย่างละเอียด เป็นผ้าซิ่นทอมือ 1 ตะเข็บ ต่อจกราชสำนัก จึงเป็นซิ่นที่หายากและมีราคาสูง ต้องใช้ทั้งความพยายามและความอดทนด้วยการทอมือเป็นเวลาหนึ่งเดือนขึ้นไป

นอกจากนั้นแล้ว ลวดลายการทอของผ้าซิ่นเมืองน่านยังมี 3 ลวดลายพิเศษอันมีพุทธคุณความเชื่อของคนโบราณว่า ผ้าซิ่นที่มีลวดลายของ 1.ลายอุ้งตีนหมี 2.ลายเกล็ดพญานาค และ 3.ลายเขาวัวชน ทั้ง 3 ลายนี้จะช่วยคุ้มครองภยันอันตรายแก่ผู้สวมใส่ได้อีกด้วย

ผ้าซิ่นคำเคิบ
ผ้าซิ่นคำเคิบ
ผ้าซิ่นคำเคิบ
ผ้าซิ่นคำเคิบ

ทั้งนี้ผ้าทอเมืองน่านเป็นผ้าที่ทอจากฝ้าย โดยในยุคโบราณจะใช้ฝ้ายที่มีในท้องถิ่น โดยเริ่มจากการปลูกฝ้าย จากนั้นนำไปผลิตเป็นเส้นด้ายด้วยกรรมวิธีภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งหมด รวมไปถึงวิธีย้อมสีธรรมชาติ เช่น สีดำจากผลมะเกลือ สีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากขมิ้น แก่นขนุน และสีน้ำตาลได้จากเปลือกต้นสุน เป็นต้น ปัจจุบันพบว่า ผู้ที่มีอาชีพทอผ้าส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวไทยลื้อโบราณ

ภาพจาก cherrykhemupsorn

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ชื่นชม! นักเรียนเมืองระยอง นุ่งซิ่น-ผ้าขาวม้าคาดเอว หิ้วปิ่นโต ร่วมกิจกรรมกับโรงเรียน