อุบัติเหตุจากไฟไหม้มักพบได้อยู่เสมอ ซึ่งบาดแผลที่เกิดจากไฟไหม้อาจทำให้เกิดความพิการหรือมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นการการปฐมพยาบาลที่ทันท่วงทีจะบรรเทาความรุนแรงของอาการเจ็บปวดลงได้
การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
1. เฉพาะชั้นผิวหนัง มีลักษณะแดงเท่านั้นไม่มีตุ่มพอง อาจบวมเล็กน้อย ปวดแสบปวดร้อน
- ประคบบริเวณบาดแผล ควรระบายความร้อนออกจากแผล โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นแล้วนำมาวางบนแผล โดยผ้าต้องมีความเย็นอยู่ตลอดเวลา
- แช่ลงในน้ำเย็นหรือเปิดให้น้ำไหลผ่าน บริเวณบาดแผลตลอดเวลานานประมาณ 10 นาที จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้
- ทาด้วยยาที่ใช้สำหรับทาแผลไหม้
- ปิดคลุมแผลด้วยผ้าสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และต้องเป็นผ้าที่ไม่มีขน
- ถ้าแผลไหม้บริเวณกว้าง หรืออวัยวะที่สําคัญต้องรีบนําส่งโรงพยาบาล
2. ลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง เป็นบาดแผลที่อยู่ในระดับรุนแรง แผลจะลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
- ไม่ควรระบายความร้อนออกจากบาดแผล ห้ามใช้น้ำเย็นราดหรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นนำมาวางบนแผล เพราะจะทําให้แผลติดเชื้อมากขึ้นและอาจทำให้ผู้ป่วยช็อกได้
- ถอดเครื่องประดับออกให้หมด กำไล แหวน สร้อยคอ นาฬิกา เพราะบริเวณนั้นอาจจะบวมขึ้นจนถอดลำบาก
- ถอดหรือตัดเสื้อผ้า ที่เกิดแผลไหม้ไฟออกด้วยเพราะจะติดแผล ควรถอดหลังจากที่อุณหภูมิแผลลดลงแล้ว
- ควรสังเกตหากผู้ป่วยชีพจรเต้นเบา เป็นตะคริว ควรให้นอนราบ ยกขาสูง แล้วใช้ผ้าสะอาดห่อตัวผู้บาดเจ็บเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและเพื่อให้ความอบอุ่น
- ถ้ามีตุ่มพอง ห้ามเจาะหรือตัดหนังส่วนที่พองออก เพราะจะทำให้แผลเปิดและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- ห้ามใส่ยาใดๆลงบนบาดแผล
- รีบนําส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
- ห้ามใช้น้ำแข็ง น้ำเย็นจัดประคบ วางลงบนบาดแผลไฟไหม้เพราะน้ำแข็งมีเหลี่ยม มีความคม และอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อตายได้
- ห้ามใช้สิ่งต่างๆปิดแผล ยกเว้นผ้าสะอาด และไม่ควรใช้ผ้าที่มีขน
- ห้ามดึงชิ้นส่วนต่างๆ ของเสื้อผ้าที่ไหม้ติดหนังออก
- ห้ามระบายความร้อน แผลไหม้ที่ลึกกว่าชั้นผิวหนัง
- ห้ามเจาะหนังที่พอง เพราะจะทำให้แผลเปิดและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- ห้ามใช้ขี้ผึ้ง ครีม ที่ก่อให้เกิดความร้อนทาบริเวณบาดแผลไฟไหม้