ประวัติวัดไผ่เหลือง
วัดไผ่เหลือง มีเนื้อที่ 30 ไร่ 82 ตาราง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านบางแพรก ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เดิมชื่อ “วัดป่าไผ่เหลือง “เป็นวัดร้างมานานกว่า 150 ปี ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง และไม่มีหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด ไม่มีพระภิกษุอยู่พำนัก ศาสนสถานคงมีฐานเจดีย์ อันประกอบด้วยเนินดินและอิฐเก่าเพียง 1 แห่งเท่านั้น ตามหนังสือทำเนียบคณะสงฆ์ของกระทรวงธรรมาการ ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2448) ไม่ปรากฎมีชื่อวัดป่าไผ่เหลือง เล่ากันมาว่าแต่เดิมนั้นชื่อเรียกกันว่า “วัดป่าไผ่เหลือง” เพราะชาวบ้านไปอาศัยเก็บหน่อไผ่เหลืองหรือไม้ไผ่เหลืองมาทำประโยชน์ ต่อมาได้ลบคำนำหน้าชื่อวัด คำว่า “ป่า” ออกเสีย
หลังจาก พ.ศ. 2448 นายดำรงค์ อยู่สุข ผู้ใหญ่บ้านในตำบลบางรักใหญ่ในขณะนั้น ได้ชักชวนชาวบ้านช่วยกันพัฒนาวัดป่าไผ่เหลืองให้เป็นวัดขึ้นใหม่ เนื่องจากตำบลบางรักพัฒนาซึ่งได้จัดแยกพื้นที่จากตำบลบางรักใหญ่จัดตั้งเป็นตำบลนั้นมีวัดอยู่ในตำบลเพียงวัดเดียว คือ วัดบางไผ่
ชาวบ้านได้ร่วมใจจัดสร้างเป็นที่พักสงฆ์ขึ้นก่อน โดยสร้างกุฏิด้วยไม้ไผ่มุงจากจำนวน 6 หลัง ราคาหลังละ 600 บาท และศาลาไม้ไผ่มุงจากอีก 1 หลัง ต่อมามีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเรือนไม้ จึงได้นำมาสร้างเป็นหอสวดมนต์และหอฉัน จากนั้นมีพระสงฆ์จากวัดโมลีมาอยู่จำพรรษาที่วัดจำนวน 5 รูป โดยมีพระสง่า เกาฎีระ เป็นประธานพระสงฆ์ชุดแรก และได้ใช้ชื่อวัดว่า “วัดไผ่เหลือง”
ปัจจุบัน พระครูศรีสมณวัตร ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดไผ่เหลือง ได้จัดทำ” โครงการบ้านไปถึงวัด วัดไปถึงบ้าน “อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จัดถุงยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่มและผ้าอ้อมผู้สูงอายุ ที่ผู้มีจิตศรัทธาได้นำมาทำบุญถวายวัด โดยนำไปบริจาคและช่วยเหลือชาวบ้านตำบลบางรักพัฒนาต่อ โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง รวมทั้งยังร่วมอนุเคราะห์ในการจัดพิธีเผาศพผู้ป่วยโควิดอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือญาติโยมที่ได้รับความลำบาก นับเป็นโครงการที่เกื้อหนุนชุมชนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับบ้านเป็นอย่างดี
อุโบสถวัดไผ่เหลือง
เป็นอุโบสถขนาด 5 ห้อง หลังคาลดซ้อน 3 ชั้น มีตับหลังคา 3 ตับ ด้านหน้าและด้านหลังชักออกมาเป็นมุข หลังคามุงกระเบื้องเกล็ดเต่า สีส้มออกแดง เครื่องลำยองเป็นปูน หน้าบันด้านหน้า ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานพรประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว องค์พระพุทธรูปปั้นแบบพระพุทธรูปมอญ สังฆาฏิทับกันเป็นชั้น ปลายสังฆาฏิวางทับซ้อนเป็นริ้วสวยงาม มีเทวดา 2 องค์ อยู่ทางขวาและซ้ายของพระพุทธรูป องค์หนึ่งถือพัดโบก อีกองค์หนึ่งถือแส้จามรีคอยปรนนิบัติพระพุทธเจ้า เหนือซุ้มเรือนแก้วเป็นลายกระหนกก้านขดออกลายหัวโต หน้าบันด้านหลัง ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง ท้าวมหาชมพูปางประทานพรประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ด้านขวาและด้านซ้ายมีพระพรหมและเทวดาด้านละองค์ นั่งถวายอภิวาทแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว เหนือซุ้มเรือนแก้วมีลายกระหนกออกลายช่อหัวโต
ศาลาการเปรียญ
เป็นหลังคาทรงไทยไม่มีลดชั้น มีเครื่องลำยองประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ แต่ทำรวยระกาแบบมอญ ไม่มีนาคสะดุ้ง หน้าบันด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยล้อมด้วยลายกระหนกก้านขด หน้าบันด้านหลังเป็นรูปพระสีวลีล้อมด้วยลายพรรณพฤกษา
นอกจากนี้ทางวัดยังได้จัดทำพิธีพุทธาภิเษก ประดิษฐาน ท้าวเวสสุวรรณ บริเวณหน้าองค์เจดีย์ไปเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 ที่เพิ่งผ่านมา ให้ศาสนิกชนได้เข้ามากราบไหว้บูชาท้าวเวสสุวรรณ และยังเป็นที่ประดิษฐาน องค์ท้าวพยายม ที่เลื่องลือพุทธคุณด้านแคล้วคลาดอีกด้วย
MTHAI บริการใส่บาตรออนไลน์ ทุกวันพระ
นอกจากจะมากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นี่กันแล้ว MTHAI ขอเชิญชวนร่วมทำบุญทุกวันพระ โดยทาง MThai เปิดบริการฝากใส่บาตรออนไลน์ ชุดละ 149 บาท ด้วยอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ณ วัดไผ่เหลือง ต.บางรักพัฒนา จ.นนทบุรี ในวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2566
ติดตาม! การถ่ายทอดสดผ่าน MThai Facebook Live ในวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป
รับฟังเคล็ดลับการทำบุญเสริมดวงกับ “อ.ปอนด์ โหรามหาเวทย์” นักพยากรณ์มากความสามารถ ที่มาร่วมใส่บาตรออนไลน์ด้วยในครั้งนี้
สนใจฝากใส่บาตรออนไลน์ ทัก inbox แจ้งชุดทำบุญกับแอดมินได้ที่ https://m.me/18079440675
อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
ช่องทางการชำระเงิน
ธนาคารกรุงเทพบริษัท โมโน ไซเบ้อร์ จำกัด
เลขที่บัญชี : 233-0-21741-1
เปิดทุกวัน
พิกัด : https://goo.gl/maps/pQNGyu9gh3mfPNL7A
ภาพโดย อ.ณัฐ
เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง