วัดราชนัดดารามวรวิหาร โบราณสถาน โลหะปราสาท

โลหะปราสาท แห่งเดียวของโลกที่ยังเหลืออยู่ ณ วัดราชนัดดารามวรวิหาร

โลหะปราสาทมีอยู่ทั้งหมด 3 แห่งบนโลก โดยแห่งแรกตั้งอยู่ที่ประเทศอินเดีย แห่งที่สองตั้งอยู่ที่ประเทศศรีลังกา และแห่งที่สามคือ โลหะปราสาทของไทย แต่น่าเสียดายที่โลหะปราสาททั้ง 2 แห่งแรกได้พังทลายลงแล้ว

Home / กรุงเทพมหานครฯ / โลหะปราสาท แห่งเดียวของโลกที่ยังเหลืออยู่ ณ วัดราชนัดดารามวรวิหาร

วัดราชนัดดารามสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่ที่ชื่อว่า “ราชนัดดาราม” ที่แปลว่า “หลาน” ก็เพราะเป็นวัดที่สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาทไว้ภายในวัดแทนการสร้างเจดีย์ เพื่อให้เป็นสถาปัตยกรรมที่งดงาม และให้ชาวพุทธเกิดความศรัทธาในพุทธศาสนา

โลหะปราสาท

โลหะปราสาทแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งอยู่ในพื้นที่วัดราชนัดดารามวรวิหาร เพื่อเป็นสถานปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ โดยกรมศิลปากรฯ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็น โบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2492

โลหะปราสาท

โลหะปราสาทมีอยู่ทั้งหมด 3 แห่งบนโลก โดยแห่งแรกตั้งอยู่ที่ประเทศอินเดีย แห่งที่สองตั้งอยู่ที่ประเทศศรีลังกา และแห่งที่สามคือ โลหะปราสาทของไทย แต่น่าเสียดายที่โลหะปราสาททั้ง 2 แห่งแรกได้พังทลายลงแล้ว ทำให้โลหะปราสาทในไทยเป็นแห่งเดียวที่เหลืออยู่เท่านั้นเอง

ภายใน
อินเดีย

ในประวัติศาสตร์ก็เคยมีการสร้างโลหะปราสาทมาแล้ว 2 หลังด้วยกัน หลังแรกก็คือปราสาทของนางวิสาขา บุตรีของธนัญชัย เศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี ประเทศอินเดีย โดยได้สร้างโลหะปราสาทที่มีชื่อว่า “มิคารมาตุปราสาท” เพื่อถวายเป็นที่อยู่ให้แก่พระสงฆ์ มีลักษณะเป็นปราสาท 2 ชั้น มี 1,000 ห้อง ปัจจุบันโลหะปราสาทหลังนี้หักพังจนไม่เหลือร่องรอยให้เห็นแล้ว

ศรีลังกา

ส่วนโลหะปราสาทหลังที่ 2 ผู้สร้างคือพระเจ้าทุฏฐคามณี กษัตริย์แห่งกรุงอนุราชปุระ ประเทศลังกา ทรงสร้างเมื่อประมาณปี 382 โลหะปราสาทหลังนี้มี 9 ชั้น 1,000 ห้อง หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ผนังเป็นไม้ประดับด้วยหินมีค่าและงาช้าง สร้างให้พระภิกษุสงฆ์อยู่อาศัยเช่นกัน ภายหลังโลหะปราสาทนี้ได้ถูกไฟไหม้และถูกทำลาย จนตอนนี้เหลือเพียงซากปราสาท แต่ก็ยังเห็นความยิ่งใหญ่ของเสาหินถึงประมาณ 1,600 ต้นด้วยกัน

มณฑป
มณฑป

สำหรับโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร ตั้งอยู่ข้างพระอุโบสถ ถัดไปทางทิศตะวันตก ตรงส่วนที่เป็นศูนย์กลางของพื้นที่ทั้งหมด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ช่างออกแบบก่อสร้างเมื่อปี 2389 ตามลักษณะของโลหะปราสาทที่พรรณนาไว้ในหนังสือมหาวงศ์ พงศาวดารลังกา ซึ่งพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย กษัตริย์ลังกาสร้างไว้เมื่อปี 387 โดยมอบหมายให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) ขณะยังเป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ดำรงตำแหน่งอธิบดีก่อสร้าง ว่าช่างสิบหมู่และช่างศิลา เป็นแม่กองดำเนินการก่อสร้าง การออกแบบก่อนก่อสร้างได้เล่าขานกันว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ช่างเดินทางไปดูแบบโลหะปราสาท ณ ลังการประเทศด้วย โดยนำเค้าเดิมมาเป็นแบบ แล้วปรับปรุงให้เป็นสถาปัตยกรรมตามลักษณะศิลปกรรมไทย

โพธิปักขิยธรรม

โลหะปราสาทมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบไทย รูปทรงปราสาท 3 ชั้น ฐานกว้างด้านละ 23 วา ประกอบด้วยยอดทั้งหมด 37 ยอด ลดหลั่นระดับกัน ซึ่งมีนัยยะถึง โพธิปักขิยธรรมในพระพุทธศาสนา 37 ประการ (โพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่นำไปสู่การนิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า)

โบราณสถาน
พระบรมสารีริกธาตุ

ภายในโลหะปราสาท ประกอบด้วยส่วนจัดแสดงนิทรรศการที่ชั้นล่าง ชั้นที่ 3 และชั้นที่ 5 จะเป็นคูหาและระเบียงรอบ ในชั้นที่ 2 ชั้นที่ 4 ชั้นที่ 6 ทำเป็นคูหาจตุรมุขมียอดเป็นบุษบกชั้นละ 12 ยอด ส่วนชั้นที่ 7 เป็นยอดปราสาทจตุรมุขสำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุ สามารถชมวิวกรุงเทพมหานครในโซนพระนครเมืองเก่าได้อย่างทั่วถึง 360 องศา

มณฑปสีดำ

ในอดีตหลังคาของโลหะปราสาทเคยเป็นโลหะและทองแดงรมดำมาก่อน ก่อนจะมีการปิดทองเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสครบ 84 พระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2560

เปิดทุกวัน 09.00 น. – 17.00 น.
แผนที่การเดินทาง :https://goo.gl/maps/z9vws7WBiY2KanXx7

แหล่งอ้างอิง

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

www.museumthailand.com

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

งานนมัสการสักการะรอยพระพุทธบาท เขาวงพระจันทร์ 2566 เริ่ม 22 ม.ค.

9 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ไหว้ขอลูก พร้อมเคล็ดลับการขอลูกให้สมหวัง

11 วัดสายมู ขอพรสุขภาพ แจกเคล็ดลับไม่เจ็บ ไม่ไข้ต้องขอแบบนี้