ใบกระท่อม

สรรพคุณใบกระท่อม มีประโยชน์และโทษ

กระท่อม ในประเทศไทยมีการนำมาใช้เป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง ปวดมวนท้อง และชาวมลายูใช้ใบกระท่อมตำพอกแผล

Home / HEALTH / สรรพคุณใบกระท่อม มีประโยชน์และโทษ

สำหรับกระท่อม เป็นไม้ยืนยัน มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย แหลมมลายู ไปจนถึงบริเวณเกาะนิวกินี ซึ่งในสายพันธุ์ไทย มีอยู่ 3 พันธุ์ คือ แตงกวา (ก้านเขียว) ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) และก้านแดง

กระท่อม ในประเทศไทยมีการนำมาใช้เป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง ปวดมวนท้อง และชาวมลายูใช้ใบกระท่อมตำพอกแผล และใช้ ทั้งใบเผาให้ร้อนวางบนท้องรักษาโรคม้ามโต

สรรพคุณทางยา

กระท่อมเป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยา โดยเฉพาะในยาแผนโบราณของไทย ซึ่งในทางยาใบกระท่อมมีสาร ไมทราไจนีน ที่ช่วยลดอาการปวดได้ โดยเมื่อกินใบกระท่อม 200 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะมีฤทธิ์ใกล้เคียงกับมอร์ฟีนขนาด 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จึงมักจะมีการนำใบกระท่อมมาใช้เป็นทางเลือกในการบำบัดผู้ติดยา เนื่องจากผลข้างเคียงที่น้อยกว่าสารเสพติดชนิดอื่น

  • ยาแก้ท้องเสีย ปวดเบ่ง ปวดเมื่อย ตามร่างกาย ปวดเบ่ง ปวดเมื่อย ตามร่างกาย ท้องเสีย ท้องเฟ้อ
  • สูตรยาของหมอพื้นบ้านมักจะใช้กระท่อมเป็นยารักษาโรคแก้ท้องร่วง
  • ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท
  • แก้พยาธิในเด็ก
  • ในต่างประเทศมีรายงานว่า ช่วยลดความดันโลหิต บรรเทาเบาหวาน แก้ไอ
  • มีบางรายงานระบุว่า ใบกระท่อมช่วยลดอาการซึมเศร้า โรควิตกกังวลอีกด้วย

แม้ใบกระท่อมให้ผลการออกฤทธิ์ที่อาจมีประโยชน์ทางยาได้ แต่ทำให้เสพติดและมีผลเสียต่อสุขภาพ หากใช้ติดต่อกันนานๆ

ผลกระทบจากการกินใบกระท่อมเป็นเวลานาน

  • ทำให้เม็ดสีที่ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ-เข้มขึ้น
  • อาจจะเกิดตะกอนตกค้างในลำไส้ได้จากกากใบกระท่อม
  • อาจจะมีอาการอาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหารได้
  • หากกินติดต่อเป็นเวลานาน และในปริมาณมาก ทำให้อาจเกิดภาวะทางจิตได้

กระท่อมที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ

  • แตงกวา (ก้านเขียว)
  • ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่)
  • ก้านแดง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคกันมากที่สุด
สรรพคุณใบกระท่อม มีประโยชน์และโทษ

มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละที่

  • ภาคเหนือ เรียก อีด่าง อีแดง กระอ่วม
  • ภาคใต้ เรียก ท่อม หรือ ท่ม
  • มลายู เรียก คูทุม (Kutum) หรือ คีทุมเบีย (Ketum Bia) หรือ เบียก (Biak)
  • ลาว เรียก ไนทุม (Neithum)
  • อินโดจีน เรียก โคดาม (Kodam)

สารสำคัญที่พบในใบกระท่อม

ใบกระท่อมประกอบด้วยแอลคะลอยด์ทั้งหมดประมาณ 0.5% ในจำนวนนี้เป็นมิตราไจนีน (Mitragynine) 0.25% ที่เหลือเป็น สเปโอไจนีน (Speciogynine) ไพแนนทีน (Paynanthine)
สเปซิโอซีเลียทีน (Speciociliatine) ตามลำดับ ซึ่งชนิดและปริมาณแอลคะลอยด์ที่พบแตกต่างกัน ตามสถานที่ และเวลาที่เก็บเกี่ยว ซึ่งแบ่งตามสูตรโครงสร้างได้สารประกอบ ๔ ประเภท คือ

  1. อินโดลแอลคะลอยด์ (Indole Alkaloids)
  2. ออกอินโดลแอลคะลอยด์ (Oxindole Alkaloids)
  3. ฟลาวานอยด์ (Elavanoids)
  4. กลุ่มอื่น ๆ เช่น ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol), แทนนิน (Tannins)

ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม