ประเด็นน่าสนใจ
- ปลาดิบ ซาซิมิ หนึ่งในเมนูยอดฮิตของญี่ปุ่นที่คนไทยหลงใหล และคนญี่ปุ่นเองก็ถือว่าเมนูนี้เป็นยาอายุวัฒนะกันเลยล่ะ!! ดังนั้นแล้วทุกขั้นตอนการทำเมนูนี้ออกมาจึงพิถีพิถันแบบขั้นสุดตั้งแต่การเลี้ยงปลา การเลือกวัตถุดิบ การปรุงรส รวมไปจนถึงการตกแต่งหน้าตาอาหาร
- ผักรองจาน คือหนึ่งในไฮไลท์เด่น ของเมนูซาซึมิ เช่น หัวไชเท้าฝอย ใบโอบะ ฯลฯ แน่นอนว่าไม่ใช่แค่เพิ่มสีสันให้สวยงามเพียงเท่านั้น! อีกนัยยะของผักรองจานที่เชฟญี่ปุ่นเลือกใส่มานั้นมันคือเคล็ดลับที่ดีและมีประโยชน์ อยากรู้ว่าดียังไงไปติดตามกัน
ทั้งนี้ ผักรองจานหรือเรียกว่าเครื่องเคียงของปลาดิบนั้นมีชื่อเรียกญี่ปุ่นว่า “สึมะ” นอกจากหัวไชเท้าฝอยแล้วยังมีสมุนไพรอื่นๆ ที่สามารถเป็นสึมะได้ เช่น แครอทขูด หรือ โอบะ (ใบสีเขียวที่มีลักษณะใบหยักๆ) ฯลฯ
–“สึมะ” เครื่องเคียงของปลาดิบ มีดีมากกว่าตกแต่งจาน–
ประโยชน์ของสึมะเหล่านี้ นอกจากจะช่วยเสริมให้ปลาดิบจานนั้นดูน่ากินแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการปกปิดกลิ่นคาวของปลาและคงสภาพของปลาไม่ให้เน่าเสีย ช่วยฆ่าเชื้อโรคที่มากับปลาดิบ
หากทานไปพร้อมๆ กับปลาดิบ จะช่วยปรับการรับรู้รสชาติและสัมผัสได้หลากหลาย และให้รู้สึกสดชื่น ดับความเลี่ยนได้ดี แถมยังป้องกันอาการท้องเสียได้อีกด้วย
– มารยาทในการทานปลาดิบ –
การที่จะได้สัมผัสรสชาติ การทานปลาดิบตามแบบฉบับญี่ปุ่น ทั้งในเรื่องของการได้กลิ่น การรับรสชาติ เท็กซ์เจอร์ของเนื้อปลาดิบ
ขอแนะนำการทานปลาดิบด้วยวิธีดังต่อไปนี้
วิธีที่1 ใช้วาซาบิแตะปลาดิบ แล้วจึงตามด้วยแตะที่โชยุ
วิธี่2 วางก้อนวาซิบิด้านในขอบถ้วยโชยุ แล้วนำปลาดิบแตะวาซาบิจากบนลงล่างเพื่อแตะโชยุ ถ้วยใส่โชยุสามารถใช้มือถือขึ้นมาได้ แต่ให้ระวังท่าทางในการทาน
โดยในขณะยกถ้วยขึ้นมาอย่าก้มหัวเข้าหาถ้วย และจะยกถ้วยโชยุสูงระดับอก เพื่อจะได้ไม่หยด หรือใช้กระดาษรองกันน้ำโชยุหกใส่โต๊ะได้
ทริคเพิ่มเติม : ในการทานนั้น ตามมารยาทแล้วไม่ควรแกว่งปลาดิบไปมาในถ้วยโชยุ หรือจุ่มจนท่วมปลาดิบ ส่วนผักเคียงในจานปลาดิบนั้นจะทานหรือไม่ก็ได้ ไม่ถือเป็นการผิดมารยาท (อ้างอิงจาก : หนังสืออาหารญี่ปุ่น ทำเองได้ ง่ายจัง)
ข้อมูลบางส่วนจาก : japantimes.co.jp, หนังสืออาหารญี่ปุ่น ทำเองได้ ง่ายจัง