นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2564 เติบโตทะลุ 90% ทุกตลาด โดยมียอดขายรวมทั้งสิ้น 58,132 คัน เพิ่มขึ้น 93.1% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 16,988 คัน เพิ่มขึ้น 92.4% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 41,144 คัน เพิ่มขึ้น 93.1% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 32,605 คัน เพิ่มขึ้น 94.9%
ตลาดรถยนต์เดือนเมษายน 2564 เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มีปริมาณการขาย 58,132 คัน เพิ่มขึ้น 93.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 92.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 93.1% โดยได้รับปัจจัยบวกจากข้อเสนอพิเศษ และกิจกรรมส่งเสริมการขายที่มีการแข่งขันกันกันอย่างรุนแรงในช่วงงาน บางกอกอินเตอร์เนชั่นแนลมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 42 ที่ผ่านมา ส่งผลดีต่อลูกค้าในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์รุ่นที่อยู่ในความสนใจ และมีความต้องการในการใช้งาน โดยยอดจองในงานดังกล่าว รวมทั้งที่โชว์รูมผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ทั่วประเทศกำลังทยอยส่งมอบถึงมือลูกค้า
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2564
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 58,132 คัน เพิ่มขึ้น 93.1%
อันดับที่ 1 Toyota 19,150 คัน เพิ่มขึ้น 72.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 2 Isuzu 14,953 คัน เพิ่มขึ้น 117.8% ส่วนแบ่งตลาด 25.7%
อันดับที่ 3 Honda 5,419 คัน เพิ่มขึ้น 104.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 16,988 คัน เพิ่มขึ้น 92.4%
อันดับที่ 1 Toyota 4,956 คัน เพิ่มขึ้น 70.5% ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 Honda 4,437 คัน เพิ่มขึ้น 99.1% ส่วนแบ่งตลาด 26.1%
อันดับที่ 3 Mazda 2,296 คัน เพิ่มขึ้น 114.2% ส่วนแบ่งตลาด 13.5%
3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 41,144 คัน เพิ่มขึ้น 93.1%
อันดับที่ 1 Isuzu 14,953 คัน เพิ่มขึ้น 117.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 2 Toyota 14,194 คัน เพิ่มขึ้น 73.6% ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 3 Ford 2,777 คัน เพิ่มขึ้น 130.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.7%
4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 32,605 คัน เพิ่มขึ้น 94.9%
อันดับที่ 1 Isuzu 13,655 คัน เพิ่มขึ้น 117.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.9%
อันดับที่ 2 Toyota 12,432 คัน เพิ่มขึ้น 77.1% ส่วนแบ่งตลาด 38.1%
อันดับที่ 3 Ford 2,777 คัน เพิ่มขึ้น 130.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 5,147 คัน
- Toyota 2,015 คัน
- Isuzu 1,930 คัน
- Mitsubishi 661 คัน
- Ford 506 คัน
- Nissan 35 คัน
5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,458 คัน เพิ่มขึ้น 81.1%
อันดับที่ 1 Isuzu 11,725 คัน เพิ่มขึ้น 97.2% ส่วนแบ่งตลาด 42.7%
อันดับที่ 2 Toyota 10,417 คัน เพิ่มขึ้น 66.2% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 3 Ford 2,271 คัน เพิ่มขึ้น 128.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.3%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – เมษายน 2564
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 252,269 คัน เพิ่มขึ้น 9.6%
อันดับที่ 1 Toyota 75,081 คัน เพิ่มขึ้น 11.7% ส่วนแบ่งตลาด 29.8%
อันดับที่ 2 Isuzu 64,201 คัน เพิ่มขึ้น 30.3% ส่วนแบ่งตลาด 25.4%
อันดับที่ 3 Honda 30,378 คัน ลดลง 3.0% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 82,244 คัน ลดลง 5.7%
อันดับที่ 1 Honda 25,784 คัน ลดลง 1.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
อันดับที่ 2 Toyota 19,465 คัน ลดลง 9.7% ส่วนแบ่งตลาด 23.7%
อันดับที่ 3 Nissan 8,292 คัน ลดลง 15.1% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%
3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 170,025 คัน เพิ่มขึ้น 18.6%
อันดับที่ 1 Isuzu 64,201 คัน เพิ่มขึ้น 30.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.8%
อันดับที่ 2 Toyota 55,616 คัน เพิ่มขึ้น 21.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.7%
อันดับที่ 3 Ford 10,873 คัน เพิ่มขึ้น 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 131,987 คัน เพิ่มขึ้น 16.1%
อันดับที่ 1 Isuzu 59,054 คัน เพิ่มขึ้น 28.7% ส่วนแบ่งตลาด 44.7%
อันดับที่ 2 Toyota 47,150 คัน เพิ่มขึ้น 18.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 3 Ford 10,873 คัน เพิ่มขึ้น 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 20,091 คัน
- Toyota 8,517 คัน
- Isuzu 7,107 คัน
- Mitsubishi 2,628 คัน
- Ford ฟอร์ด 1,755 คัน
- Nissan 84 คัน
5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 111,896 คัน เพิ่มขึ้น 9.4%
อันดับที่ 1 Isuzu 51,947 คัน เพิ่มขึ้น 18.6% ส่วนแบ่งตลาด 46.4%
อันดับที่ 2 Toyota 38,633 คัน เพิ่มขึ้น 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 3 Ford 9,118 คัน เพิ่มขึ้น 32.2% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
ตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมมีแนวโน้มชะลอตัว สืบเนื่องจากความกังวลต่อการระบาดของไวรัส COVID 19 ในรอบที่ 3 มีความรุนแรงกว่าที่คาดการไว้ ส่งผลด้านลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีจากความพยายามของภาครัฐ โดยกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้การสนับสนุนเป็นอย่างดีจากองค์กรเอกชนทุกภาคส่วน ผนึกกำลังในการร่วมคลี่คลายสถานการณ์ ทำให้ยังพอมองเห็นทางออกในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ รวมทั้งกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีโอกาสกลับมาได้ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หลังจากการดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้รับการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ