พระพิฆเนศ พระแม่ลักษมี วันลักษมีปัญจมี​

ประวัติ พระแม่ลักษมี และ วันบูชาพระแม่ลักษมี

วันลักษมีปัญจมี​ เป็นวันบูชาพระแม่ลักษมี ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 25 มีนาคม 66 คล้ายๆ เทศกาลดิวาลี เพื่อต้อนรับพระองค์ลงเสด็จสู่บ้าน​ของเรา หน้าหิ้งของเรา เพื่อขอพรความมั่งคั่ง​ ร่ำรวย​และชีวิตที่สมบูรณ์​พูนสุข​ หรือพรใดใดที่ปรารถนา ให้บังเกิด ให้แก่เราและครอบครัว

Home / ดูดวง / ประวัติ พระแม่ลักษมี และ วันบูชาพระแม่ลักษมี

วันลักษมีปัญจมี​ เป็นวันบูชาพระแม่ลักษมี ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 25 มีนาคม 66 คล้ายๆ เทศกาลดิวาลี เพื่อต้อนรับพระองค์ลงเสด็จสู่บ้าน​ของเรา หน้าหิ้งของเรา เพื่อขอพรความมั่งคั่ง​ ร่ำรวย​และชีวิตที่อุดมสมบูรณ์​พูนสุข​ หรือพรใดใดที่ปรารถนาให้บังเกิดแก่เราและครอบครัว ด้วยการเตรียมของถวาย เช่น น้ำกุหลาบ ขนมดอกบัว ขนมดอกไม้ เครื่องหอม ดอกบัว ชุดปัญจอัมฤทธิ์ ชุดปัญจเมวา แอปเปิ้ลแดง ผ้าสไบ เครื่องประดับ​ นกฮูกบริวาร ที่จัดหาถวายได้ การจุดเทียน ประทีป กำยาน ภายในวันนี้ผู้บูชาควรถือศีล รับประทานมังสวิรัติ และสวดมันตราถวายพระแม่ และขอพรต่อพระองค์ ในวันมงคลพิเศษนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลสูงสุด ต่อตัวผู้บูชาและครอบครัวนั่นเอง ทั้งนี้ในปีนี้ วันที่ 25 มีนาคม ตรงกับวันวินายักจตุรถี ขึ้น 4 ค่ำ เพื่อสวดบูชาไหว้ขอพรองค์พระพิฆเนศด้วยเช่นกัน สามารถบูชาได้ในวันเดียวกันได้เลย

วันลักษมีปัญจมี

คาถาบูชาพระแม่ลักษมี

ตั้งนะโม 3 จบ
โอม ชยะศรี ลักษมี มาตา (3 จบ)
โอม ศรี ลักษมี นะมะ (3จบ)
โอม มหาลักษะ มิไย นะโม นะมะหะ โอม วิษณุ ปรียาไย นะโม นะมะหะ
ข้าพเจ้า …. (ชื่อ-นามสกุล) ขอกราบบูชา ถวายเครื่องสักการะ
และขอถวายกุศลผลบุญที่ข้าพเจ้าสร้างมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แด่พระแม่ลักษมีและเทพบริวาร
ข้าพเจ้า ขอตั้งจิตอธิษฐาน…..

คาถาบูชาพระพิฆเนศ

โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
( 3 จบ )

ประวัติพระแม่ลักษมี

พระแม่ลักษมี กำเนิดมาจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร ทำน้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (ลูกสาวแห่งทะเลน้ำนม) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤาษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วยพระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

หนุ่มสาวฟังไว้! มูความรัก “พระแม่ลักษมี” อย่างไรให้สมหวังกลับไป โดย อ.คฑา ชินบัญชร

พระแม่ลักษมีประทานพร แพรวา มูจนได้ผู้

คนอินเดียไม่กิน กะเพรา พืชศักดิ์สิทธิ์ ของชาวฮินดูที่ต้องบูชาทุกวัน