ตะขาบ

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตะขาบกัด ทำอย่างไรให้หายปวด??

เมื่อถูกตะขาบกัดจะมีรอยเขี้ยว 2 รอย มีอาการปวด คัน ปวดแสบปวดร้อน บวมแดงร้อน ชา อักเสบบริเวณที่ถูกกัด อาจมีไข้ต่ำๆ ตะขาบกัด ทำอย่างไรให้หายปวด?? วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Home / HEALTH / วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตะขาบกัด ทำอย่างไรให้หายปวด??

ตะขาบ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Centipede มีลักษณะลำตัวเป็นปล้อง มีขนาดความยาวลำตัวตั้งแต่ 3 – 8 เซนติเมตร มีจำนวนปล้องถึง 50-150 ปล้อง และมีขามากถึง 30-300 ขา โดยมีเขี้ยวพิษ 1 คู่ ที่ปล้องแรกของลำตัว ตะขาบเป็นสัตว์มีพิษที่อาศัยอยู่ในที่ชื้นแฉะ เช่น ใต้เปลือกไม้ ขุดรูในดิน ใต้ก้อนหิน เมื่อน้ำท่วมตะขาบก็จะหนีออกมาจากแหล่งที่อยู่

ตะขาบกัด ทำอย่างไรให้หายปวด?? วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ตะขาบกัด โดยใช้เขี้ยวคู่หน้าและฉีดน้ำพิษเข้าไปในแผลที่กัดจึงทำให้เจ็บปวดทรมาน น้ำพิษของตะขาบประกอบด้วยเอนไซม์ proteinases และ esterases โดยปกติพิษจะไม่รุนแรงถึงแก่ชีวิต แต่ทั้งนี้ความรุนแรงของพิษขึ้นอยู่กับขนาดของตะขาบที่กัดด้วย

อาการเมื่อโดน ตะขาบกัด

เมื่อถูกตะขาบกัดจะมีรอยเขี้ยว 2 รอย มีอาการปวด คัน ปวดแสบปวดร้อน บวมแดงร้อน ชา อักเสบบริเวณที่ถูกกัด อาจมีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ใจสั่น บางรายอาจเกิดอัมพาตตรงบริเวณที่ถูกกัด ในรายที่มีอาการแพ้รุนแรง เช่น มีแผลพุพองหรือน้ำเหลืองบนบริเวณที่เกิดแผล ช็อคหมดสติ ให้รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. ทำความสะอาดแผลบริเวณที่ถูกกัดด้วยการล้างน้ำสะอาด
  2. ห้ามแกะเกาบริเวณที่ถูกกัด เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อน
  3. ห้ามขยับบริเวณที่ถูก ตะขาบกัด
  4. หากมีอาการปวด สามารถกินยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวด
  5. ใช้ยาหม่องหรือยาสามัญประจำบ้านทาบางๆ บริเวณที่ถูกกัด
  6. หากมีอาการรุนแรงหรือแพ้มาก ควรไปรักษาที่โรงพยาบาลทันที

สูตรยาตามตำราภูมิปัญญาไทย

โดยใช้สมุนไพรใกล้ตัวเพื่อปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากตะขาบ เพียงใช้ยางมะละกอสดๆ มาทาบริเวณที่ โดนตะขาบกัด จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ หรือ น้ำมะนาวผสมผงชูรส นำมาทาบริเวณรอยแผลที่ถูกตะขาบกัด จะช่วยให้อาการปวดทุเลาลงได้ผลชะงัดนัก