ข้อยกเว้นการจำพรรษา เข้าพรรษา เข้าพรรษา พระ ออกจากวัดได้ ไหม

เข้าพรรษา พระ ออกจากวัดได้ ไหม : ข้อยกเว้นการจำพรรษาของพระสงฆ์

เมื่อถึงเทศกาลวันเข้าพรรษา ตามพุทธบัญญัติให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา เป็นเวลา ๓ เดือนในฤดูฝนเพื่องดเว้นการเที่ยวจาริกธุดงค์ไปค้างอ้างแรมที่อื่นของพระภิกษุสงฆ์อันจะไปเหยียบข้าวกล้าในนาเสียหาย เมื่อเป็นเช่นนี้ พุทธศาสนิกชนอาจจะยังมีคำถามว่าแล้ว เข้าพรรษา พระ ออกจากวัดได้ ไหม พระบิณฑบาตได้ไหม ถือว่าผิดวินัยสงฆ์หรือไม่ ?

Home / ธรรมะ / เข้าพรรษา พระ ออกจากวัดได้ ไหม : ข้อยกเว้นการจำพรรษาของพระสงฆ์

เข้าพรรษา พระ ออกจากวัดได้ ไหม

เข้าพรรษา พระ ออกจากวัดได้ ไหม

เมื่อถึงเทศกาลวันเข้าพรรษา ตามพุทธบัญญัติให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา เป็นเวลา ๓ เดือนในฤดูฝนเพื่องดเว้นการเที่ยวจาริกธุดงค์ไปค้างอ้างแรมที่อื่นของพระภิกษุสงฆ์อันจะไปเหยียบข้าวกล้าในนาเสียหาย เมื่อเป็นเช่นนี้ พุทธศาสนิกชนอาจจะยังมีคำถามว่าแล้ว เข้าพรรษา พระ ออกจากวัดได้ ไหม พระบิณฑบาตได้ไหม ถือว่าผิดวินัยสงฆ์หรือไม่ ? หากพิจารณาตามจริงแล้ว พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเพียงว่า ในช่วงเข้าพรรษาในระยะเวลา 3 เดือนนี้ เพียงห้ามพระภิกษุสงฆ์ไม่ให้ไปค้างอ้างแรมที่อื่น นอกจากมีเหตุอันจำเป็น อีกทั้งวินัยสงฆ์คือ ห้ามพระภิกษุสงฆ์ประกอบอาหารเอง การบิณฑบาตในบริเวณใกล้ๆ หรือเดินทางรับกิจนิมนต์ใกล้ๆ โดยไม่ค้างอ้างแรมได้ ไม่ถือเป็นอาบัติ ไม่เข้าข่ายผิดวินัยสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติข้อยกเว้นการจำพรรษาของพระสงฆ์ไว้ดังนี้

ข้อยกเว้นการจำพรรษาของพระสงฆ์

      1. การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
      2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
      3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
      4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้ กรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์ ก็จะไปค้างไม่ได้

ซึ่งหากพระสงฆ์ออกจากอาวาสแม้โดยสัตตาหกรณียะล่วงกำหนด 7 วันตามพระวินัย ก็ถือว่า ขาดพรรษา และเป็นอาบัติทุกกฎเพราะรับคำ (รับคำอธิษฐานเข้าพรรษาแต่ทำไม่ได้)

อานิสงส์การจำพรรษาของพระสงฆ์ที่จำครบพรรษา

เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบไตรมาสได้ปวารณาออกพรรษาและได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ หรือข้อยกเว้นพระวินัย 5 ข้อ

  1. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา (ออกจากวัดไปโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นก่อนได้)
  2. เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบสำรับ 3 ผืน
  3. ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงฉันได้)
  4. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ยกเว้นสิกขาบทข้อนิสสัคคิยปาจิตตีย์บางข้อ)
  5. จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ (เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่าไตรครองสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง)

โดยในช่วงเวลาระหว่างเทศกาลเข้าพรรษานี้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษานั่นเอง

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

งานประเพณี วันเข้าพรรษา 4 ภาคที่ไม่ควรพลาด ต้องไปชมสักครั้ง
อานิสงส์ของการถวายเทียนเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา คือวันอะไร? เหตุใดจึงต้องหล่อเทียนพรรษา จะได้อานิสงส์อย่างไรบ้าง มาดูกัน