ภาพเขียนสีถ้ำ ภาพเขียนสีถ้ำวัดบางเตย วัดบางเตย

ภาพเขียนสีถ้ำวัดบางเตย เเหล่งภาพเขียนสีใหม่ในจังหวัดพังงา

เมื่อวันที่ 3 - 7 เมษายนที่ผ่านมา ทีมสำรวจได้พบแหล่งภาพเขียนสีแห่งใหม่ โดยพบ “ภาพเขียนสีถ้ำวัดบางเตย” ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 บ้านบางเตยเหนือ ตำบลบางเตย อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา

Home / พังงา / ภาพเขียนสีถ้ำวัดบางเตย เเหล่งภาพเขียนสีใหม่ในจังหวัดพังงา

เมื่อวันที่ 3 – 7 เมษายนที่ผ่านมา ทีมสำรวจได้พบแหล่งภาพเขียนสีแห่งใหม่ โดยพบ “ภาพเขียนสีถ้ำวัดบางเตย” ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 บ้านบางเตยเหนือ ตำบลบางเตย อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา บริเวณที่พบภาพเขียนสีมีลักษณะเป็นเพิงผาตั้งอยู่บนภูเขาหินปูน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดบางเตย จากหลักฐานภาพเขียนสีที่พบ ปรากฏเป็นภาพเขียนด้วยสีแดง ลักษณะภาพมีรูปร่างคล้ายคน และร่องรอยสัญลักษณ์บางอย่าง กำหนดอายุสมัยของแหล่งเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์

ภาพเขียนสีถ้ำวัดบางเตย

ภาพเขียนสีถ้ำ คือ ?

ภาพเขียนสีและภาพสลักเป็นงานศิลปะที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ศิลปะถ้ำ” (Cave art) หรือ “ศิลปะบนหิน” (Rock art) เนื่องจากภาพเหล่านั้นปรากฎให้เห็นบนผนังภายในถ้ำ หน้าถ้ำ หรือตามผนังของก้อนหินใหญ่ หรือเพิงหิน และเพิงผาใหญ่ โดยภาพเขียนสี คือรูปภาพที่สร้างขึ้นด้วย “การลงสี” (pictograph) ที่ได้จากสีธรรมชาติบนพื้นหินโดยการวาดด้วยสีแห้ง (drawing) เขียนหรือระบายสี (painting) พ่นสี (stenciling) ทาบหรือประทับ (imprinting) และการสะบัดสี (paint splattering)

ภาพเขียนด้วยสีแดง สีดำ สีขาว หรือสีเหลือง ได้มาจากการนำเลือด เมล็ดพืชบางชนิด เช่น เม็ดในของดอกคำแสด ดินเผาไฟบด หรือแร่ตามธรรมชาติ เช่น ดินเทศ (ochre) ฮีมาไทต์ (hematite) ที่ให้สีแดง ดินขาว (kaolin) ชอล์กให้สีขาว ถ่าน แกรไฟต์ (graphite) ให้สีดำ ลิโมไนต์ (limonite) ให้สีเหลือง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง บดผสมกับกาวจำพวกน้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง ยางไม้ ไขมันสัตว์ น้ำมันพืช ไข่ขาว น้ำคั้นจากผัก/ดอกไม้ เพื่อให้สีติดทนทาน โดยใช้นิ้วมือ มือ พู่กันจากเปลือกไม้ทุบ เส้นผมหรือขนสัตว์มัดรวมกัน จุ่มสีวาดหรือเขียนลงบนพื้นหิน หรืออาจใช้ก้อนแร่สีเขียนลงไป

ภาพที่เกิดจากการเขียนสีและการสลักมักแสดงให้เห็นเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปคน รูปสัตว์ รูปต้นไม้ ใบไม้และดอกไม้ รูปวัตถุและสิ่งของ รูปสัญลักษณ์ต่างๆ รวมทั้งรูปมือและเท้าด้วย ภาพเหล่านี้อาจแสดงโดดๆ มีเนื้อความเล่าเรื่องในตัวเองหรือภาพประกอบกันเป็นเรื่องราว โดยแสดงให้เห็นถึงการเล่าเรื่องการล่าสัตว์ การทำเกษตรกรรม การละเล่นงานรื่นเริง การประกอบพิธีกรรม ตลอดจนภาพการร่วมเพศ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเชื่อและพิธีกรรม

ในประเทศไทยพบภาพเขียนสีและภาพสลักจะเขียนบนผนังเพิงหินหรือเพิงผาและในถ้ำ

ลักษณะของภาพเขียนสีถ้ำ
เทคนิคการเขียนภาพ
เทคนิคการเขียนภาพ
ภาพเขียนสีถ้ำวัดบางเตย
วัดบางเตย
ภาพเขียนสี
ภาพเขียนสี

ขอขอบคุณเนื้อหาและภาพประกอบจาก กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

เรียบเรียง/กราฟิก: นางสาวอมลธิรา เหล่าศักดิ์ศรี ผู้ช่วยนักโบราณคดี
ตรวจทาน: นางสาวศิริวรรณ ทองขำ นักโบราณคดีชำนาญการ
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช

อ้างอิง

  • พัชรี สาริกบุตร. ภาพเขียนสีและภาพสลัก ศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก http://www.era.su.ac.th/Rockpainting/main.html

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน ชวนเยี่ยมชมภาพเขียนสีโบราณ “เขาปลาร้า” อายุ 3,000-5,000 ปี

เจ้าหน้าที่ร่วมสำรวจภาพเขียนสีโบราณ “ผาเสียวโว้ย”