ภาพเขียนสีโบราณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน เขาปลาร้า

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน ชวนเยี่ยมชมภาพเขียนสีโบราณ “เขาปลาร้า” อายุ 3,000-5,000 ปี

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน เชิญชวนเยี่ยมชมภาพเขียนสีโบราณ ล้ำค่า ก่อนประวัติศาสตร์ “เขาปลาร้า” อายุ 3,000-5,000 ปี นายธนิตย์ หนูยิ้ม ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (นครสวรรค์) เปิดเผยว่า ภาพเขียนสีโบราณ…

Home / NEWS / เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน ชวนเยี่ยมชมภาพเขียนสีโบราณ “เขาปลาร้า” อายุ 3,000-5,000 ปี

ประเด็นน่าสนใจ

  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุนชวนเยี่ยมชมภาพเขียนสีโบราณ อายุ 3,000-5,000 ปี ตั้งอยู่บนยอดเขาปลาร้า บ้านชายเขา หมู่ 3 ตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
  • แนะนำให้นักท่องเที่ยวมาเข้าชมในช่วงเวลาเช้า เพราะต้องใช้เวลาเดินทางเดินขึ้น-ลง ประมาณ 3 ชั่วโมง

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน เชิญชวนเยี่ยมชมภาพเขียนสีโบราณ ล้ำค่า ก่อนประวัติศาสตร์ “เขาปลาร้า” อายุ 3,000-5,000 ปี

นายธนิตย์ หนูยิ้ม ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (นครสวรรค์) เปิดเผยว่า ภาพเขียนสีโบราณ ล้ำค่า ก่อนประวัติศาสตร์ “เขาปลาร้า” ตั้งอยู่บนยอดเขาปลาร้า บ้านชายเขา หมู่ 3 ตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน หน่วยงานในสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

เขาปลาร้า เป็นภูเขาหินปูน มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน บนยอดเขาทางด้านทิศใต้มีถ้ำที่มีลักษณะเป็นเวิ้งสูง พื้นที่ไม่กว้างนัก ชาวบ้านเรียกถ้ำนี้กันว่า “ถ้ำประทุน”

เมื่อประมาณปี พ.ศ.2522 นายเล้ง วิทยา และนายปัน อินทรประเทศ ชาวบ้านทุ่งโพ อ.หนองฉาง ได้ขึ้นไปที่ถ้ำประทุน และพบภาพเขียนสีบนผนังของถ้ำ จนความทราบถึงคุณพลาดิสัย สิทธิธัญกิจ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของจังหวัดอุทัยธานี

และคุณวิทยา อินทโกศัย นักโบราณคดีจากกรมศิลปากร ทั้ง 2 จึงได้ขึ้นไปสำรวจ พบว่าภาพเขียนสีบนผนังของถ้า อยู่ที่ระดับความสูงของพื้นถ้ำระหว่าง 5-7 เมตร เป็นแนวยาวประมาณ 9 เมตร

มีทั้งเป็นรูปคนและรูปสัตว์ ได้แก่ ภาพสุนัข ไก่ เต่า กบ กวาง วัว กระทิง เป็นต้น คาดว่าน่าจะมีอายุประมาณ 3,000-5,000 ปี ภาพถูกเขียน เขียนด้วยสีดำ สีแดง และสีแดงเข้ม บางภาพใช้ทั้ง 3 สี เขียนซ้อนทับกัน

แต่ละภาพมีเทคนิคการเขียนที่แตกต่างกัน เช่น แบบเงาทึบ (Silhovette) แบบเงาทึบบางส่วน (Pantial silhouette) แบบโครงร่างภายนอก (Outline) แบบกิ่งไม้ (Stick Fiqure) และแบบเส้นร่าง (Sketch) รวมภาพที่ปรากฏตามผนัง พบว่ามีกว่า 40 ภาพ แต่ที่เขียนเสร็จค่อนข้างสมบูรณ์ มี 30 ภาพ

ภาพที่เขียน ส่วนใหญ่อยู่ในท่ากระโดดโลดเต้นและร่ายรำ เมื่อพิจารณาในองค์ประกอบต่างๆ ผู้เขียนมีความประสงค์จะบันทึกเพื่อสื่อถึงการประกอบพิธีกรรมทางการเกษตรกรรม คล้ายๆ ภาพงานพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

นอกจากนี้มีภาพของการต่อสู้กับวัวกระทิง น่าจะตีความได้ว่าในสมัยนั้นในชุมชนถิ่นนี้ ยังมีการเข้าป่าล่าสัตว์อยู่และยังมีการค้นพบขวานหิน จำนวน 2 ชิ้น และเศษภาชนะดินเผาในบริเวณดังกล่าว โดยในปัจจุบันได้มีการเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานี

ผู้สนใจสามารถเข้าชมภาพเขียนได้ โดย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน แนะนำให้นักท่องเที่ยวมาเข้าชมในช่วงเวลาเช้า เนื่องจากต้องเดินเท้าขึ้นไปเป็นระยะทางประมาณ 1,300 เมตร ใช้เวลาเดินขึ้น-ลง ประมาณ 3 ชั่วโมง

โดยนักท่องเที่ยวจะต้องแจ้งติดต่อเจ้าหน้าที่ที่แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติหุบป่าตาดก่อน เนื่องจากเส้นทางขึ้นมีความลาดชันและลื่น เพื่อความปลอดภัยเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จะจัดเจ้าหน้าที่นำทางขึ้นไปกับท่าน และแนะนำให้สวมใส่รองเท้าผ้าใบและเตรียมน้ำดื่มไปให้พร้อม

การเดินทาง จากตัวเมืองจังหวัดอุทัยธานี ใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 333 ผ่านอำเภอหนองฉาง จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทางหลวงหมายเลข 3438 ไปทางอำเภอลานสัก ระยะทางประมาณ 21.5 กิโลเมตร

จากนั้นเลี้ยวซ้ายบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 21 เข้าสู่ถนนลาดยางสายบ้านดินแดง-วังบ่าง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติหุบป่าตาด และเดินทางต่ออีก 800 เมตร ก็จะถึงทางขึ้นชมภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์เขาปลาร้า

ขอบคุณข้อมูลจาก นายจรัส คำแพง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน