วัดมงคลจินดาราม วัดไร่ขิง หลวงพ่อวัดไร่ขิง

กราบหลวงพ่อวัดไร่ขิง 1 ในตำนานพระพุทธรูป 5 พี่น้อง วัดไร่ขิง นครปฐม

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสพระราชทานนามให้ว่า วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง) แต่ชาวบ้านเรียกกันเต็มๆ ว่า วัดมงคลจินดารามไร่ขิง จนกระทั่งเหลือแต่ชื่อ วัดไร่ขิง ไปในที่สุด

Home / นครปฐม / กราบหลวงพ่อวัดไร่ขิง 1 ในตำนานพระพุทธรูป 5 พี่น้อง วัดไร่ขิง นครปฐม

วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีน หรือเรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรีสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายสร้างโดยสมเด็จพระพุทธฒาจารย์ (พุก) มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นประธาน เป็นพระประธานที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ

วัดไร่ขิง จ.นครปฐม

หลวงพ่อวัดไร่ขิง

หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง หรือวัดมงคลจินดาราม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของจังหวัดนครปฐม และยังเป็นพระพุทธรูป 1 ใน 5 องค์ที่มีตำนานเล่ากันต่อมาว่าเป็นพระพุทธรูป 5 องค์พี่น้องที่ลอยน้ำลงมาตามลำน้ำทั้ง 5 สาย (พระเบญจภาคี วารีปาฏิหาริย์) เมื่อซาวบ้านตามเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำเห็นเข้าจึงได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ตามวัดต่างๆ ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้คนทั้งซาวไทยและต่างประเทศ หลั่งไหลมาเคารพสักการะมิได้ขาด พระพุทธรูปทั้ง 5 คือ พระพุทธรูปองค์ที่ 1 ลอยไปตาม แม่น้ำบางปะกง และประดิษฐานที่วัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกกันว่า “หลวงพ่อโสธร” พระพุทธรูปองค์ที่ 2 ลอยไปตามแม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน) ประดิษฐานที่วัดไร่ขิง เมืองนครขัยศรี เรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” พระพุทธรูปองค์ที่ 3 ลอยไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาประดิษฐานที่วัดบางพลีใหญ่ในจังหวัดสมุทรปราการ เรียกกันว่า “หลวงพ่อโตวัดบางพลี” พระพุทธรูปองค์ ที่ 4 ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง ประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่า “หลวงพ่อวัดบ้านแหลม” และพระพุทธรูปองค์ที่ 5 ลอยไปตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี เรียกว่า “หลวงพ่อวัดเขาตะเครา”

หลวงพ่อวัดไร่ขิง

หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิขัย หล่อด้วยสำริด จะเป็นเพราะมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเนื่องมาเป็นลำดับ ทำให้มีศิลปะผสมโดยการนำพุทธศิลปะของสกุลช่าง 3 สมัยมาผสมกัน คือ พระรูปผึ่งผายแบบ ศิลปะล้านนา พระหัตถ์เรียวงามตามแบบศิลปะสุโขทัย และพระพักตร์งดงามในแบบศิลปะรัตนโกสินทร์ ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้ว สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี 5 ขั้น หลวงพ่อวัดไร่ขิง หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ซึ่งมีแม่น้ำนครขัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน

หลวงพ่อวัดไร่ขิง

นอกจากตำนานที่เล่าต่อกันมาถึงพระพุทธรูป 5 พี่น้องแล้ว ประวัติหลวงพ่อวัดไร่ขิงยังมีเล่ากันอีกหลายกระแส เรื่องที่นำจะเป็นไปได้คือ ใน พ.ศ.2394 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เมื่อครั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่ กรุงเก่า วัดศาลาปูน วรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันหนึ่งท่านได้ลงไปที่วัดไร่ขิง เมื่อท่านเข้าไปในพระอุโบสถกราบพระประธานแล้ว ท่านก็ได้สนทนากับเจ้าอาวาสวัดไร่ขิงว่า “โบสถ์ใหญ่โต แต่พระประธาน เล็กไปหน่อย” เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงกราบเรียนท่านว่า “วัดไร่ขิงเป็นวัดจนๆ ไม่สามารถสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ ได้” เมื่อทราบดังนั้นท่านจึงบอกว่า ที่วัดของท่านมีอยู่องค์หนึ่งให้เจ้าอาวาสไปอัญเชิญมาได้

หลวงพ่อวัดไร่ขิง

เมื่อสมเด็จฯ กลับไปแล้วไม่นาน เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงพร้อมทั้งกรรมการวัด ได้เดินทางไปยังวัดศาลาปูน และอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวลงแพที่ใช้ไม้ไผ่ มัดล่องลงมาตามสำน้ำเจ้าพระยา เข้าแม่น้ำนครขัยศรี จนกระทั่งถึงวัดไร่ขิง ขาวบ้านจึงพร้อมใจกันทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถแทนพระประธานองค์เดิมตั้งแต่นั้นมา และขนานนามพระพุทธรูปองค์ใหม่นี้ตามนามของวัดว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง”

คาถาบูชาหลวงพ่อวัดไร่ขิง

(ตั้งนะโม 3 จบ)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
มะเหสักขายะ เทวะตายะ อะภิปาลิตัง อิทธิปาฏิหาริกัง
มังคะละจินดตารามะ พุทธะปาฏิมากะรัง ปูชามิหัง
ยาวะชีวัญจะ สุกัมมิโก สุขะปัตถิตายะ

สถานที่สำคัญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

พระอุโบสถ

วัดไร่ขิง มีศาสนวัตถุและศาสนสถานสำคัญที่ประชาชนให้ความเคารพศรัทธา เดินทางมาสักการะบูชาและเยี่ยมชม คือ หลวงพ่อวัดไร่ขิง พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธลักษณะเป็นสมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนาและล้านช้างตามตำนานเล่าว่า ลอยน้ำมา และอัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดศาลาปูน วัดไร่ขิงนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสพระราชทานนามให้ว่า วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง) แต่ชาวบ้านเรียกกันเต็มๆ ว่า วัดมงคลจินดารามไร่ขิง จนกระทั่งเหลือแต่ชื่อวัดไร่ขิงไปในที่สุด โดยจะมีประเพณีนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิงในประวัติของวัดไร่ขิงได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)ได้อัญเชิญหลวงพ่อวัดไร่ขิงมาจากวัดศาลาปูน โดยนำล่องมาทางน้ำด้วยการทำแพไม้ไผ่หรือที่เรียกกันว่า แพลูกบวบรองรับองค์พระปฏิมากร เมื่อถึงหน้าวัดไร่ขิงจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ภายในอุโบสถ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันสงกรานต์พอดีทางวัดจึงได้ถือเป็นวันสำคัญ และได้จัดให้มีงานนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิงจัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 12 ค่ำถึงแรม 5 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

พระอุโบสถ

พระอุโบสถวัดไร่ขิง มีกำแพงแก้วล้อมรอบตัวอาคารหันหน้าไปทางแม่น้ำท่าจีน เหนือกรอบประตูหน้าต่างตกแต่งด้วยลายปูนปั้นลงรักปิดทอง ประดับกระจกลายผสมไทย-จีนและฝรั่งลายกระเช้าดอกไม้แห่งความอุดมสมบูรณ์ซึ่งนิยมมากในสมัยปลายรัชกาลที่ 3 ฝาผนังด้านในพระอุโบสถเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติตำนานองค์พระปฐมเจดีย์และประวัติอำเภอสามพราน

จิตรกรรมฝาผนัง

พระวิหารประจำทิศ เป็นอาคารทรงไทยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่ด้านในทั้ง 4 ด้านของพระอุโบสถ

พระปรางค์ ยอดพระปรางค์มีจำนวน 7 ชั้น ยอดบนสุดปักด้วยฉัตรโดยมียอดนพศูลรองรับ ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

 ทางเดินวัดไร่ขิง

มณฑป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถ สร้างอยู่กลางสระน้ำ เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง

พระปรางค์

พิพิธภัณฑ์วัดไร่ขิง เป็นอาคารทรงไทยแบบก่ออิฐถือปูนเครื่องบนประดับตกแต่งด้วยช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังตกแต่งไว้สวยงาม เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่เก่าแก่ของวัด

บ้านดิน ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างจากวัสดุธรรมชาติที่มีตามท้องถิ่น บ้านดิน 3 หลัง มีสระน้ำล้อมรอบเลี้ยงปลาคาร์ฟดูดนมเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน มีสวนหย่อม ภายในบ้านแต่ละหลังประกอบด้วยงานปูนปั้นลงสีเรื่องราวตามพุทธประวัติมีชื่อว่า “บ้านดินอินทณัฐ”

ท้าวเวสสุวรรณ
วัดไร่ขิง
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)

ที่ตั้ง : 51 หมู่ 2 ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73120

เวลาทำการ : เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 07.00 น. – 18.00 น.

Google Map : https://goo.gl/maps/bRWMKuAywJ2JwBKi9

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก กรมการศาสนา (2560: 106)

ภาพโดย SUTEE

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทสวดพุทธคุณ สุดยอดพระคาถา สวด 109 จบ ชีวิตดีวันดีคืน

ตามรอยนาคา วัดศรีดาราม จ.อุดรธานี

เกิดขึ้นแล้ว! แบงค์สหรัฐฯปิดตัว ตามคำทำนายดวงเมือง ปี 66 อ.ตงฟาง