พระพุทธชินสีห์ พระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

9 จุดมู วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวง 2 รัชกาล

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกที่มีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2367-2375 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ในอดีตวัดนี้เคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ขณะทรงผนวช

Home / กรุงเทพมหานครฯ / 9 จุดมู วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวง 2 รัชกาล

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร หรือที่เรียกกันติดปากว่า วัดบวร เป็นวัดเก่าแก่ใจกลางกรุงที่เต็มไปด้วยความสวยงาม และความศักดิ์สิทธิ์ที่พร้อมให้สายมูทุกท่าน มาเพิ่มแต้มบุญกันได้แบบจัดเต็ม

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
วัดบวร
วัดบวร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกที่มีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2367-2375 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ในอดีตวัดนี้เคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ขณะทรงผนวช ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7 รวมถึงเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงผนวชด้วยเช่นกัน ซึ่งวัดบวรนิเวศเป็นวัดประจำของรัชกาลที่ 6 และ 9 แห่งราชวงศ์จักรี จึงได้ชื่อว่าเป็นวัดประจำ 2 รัชกาล

อุโบสถ
วัดบวร

พระอุโบสถ สร้างตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 มีมุขหน้ายื่นออกมาเป็นพระอุโบสถ และมีปีกยื่นออกซ้ายขวา เป็นวิหารมุขหน้า ที่พระอุโบสถมีเสาเหลี่ยม พาไลรอบซุ้มประตูและหน้าต่าง หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น ด้านในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ ซึ่งเป็นพระประธาน คือ พระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และพระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก 

หลวงพ่อโต

9 จุดมู ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

เมื่อมาถึงวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ศาสนวัตถุที่ควรเข้ามากราบไหว้ เพื่อความเป็นสิริมงคลมีอยู่ด้วยกัน 9 สิ่งดังต่อไปนี้ 

พระพุทธชินสีห์
  • ไหว้พระคู่บวร ณ พระอุโบสถ
    เพราะภายในพระอุโบสถมีพระประธานศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วยกัน 2 องค์ นั่นก็คือ พระสุวรรณเขต หรือที่เรียกว่า “หลวงพ่อโต” (องค์หลัง) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ได้อัญเชิญจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี มาประดิษฐานเป็นพระประธานองค์แรกของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร และ พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า) เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ที่มีมาตั้งแต่พ.ศ. 1500
พระเจดีย์

พระเจดีย์

พระเจดีย์
วัดบวร
พระไพรีพินาศ

พระไพรีพินาศ

  • พระบรมสารีริกธาตุ บูชาพระไพรีพินาศ ณ พระเจดีย์
    ด้วยในคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2386 ในรัชกาลที่ 3 ที่ฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองเป็นแท่นศิลาสลักภาพพุทธประวัติ ปางประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน และพระไพรีพินาศ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลา ที่มีตำนานเล่าต่อกันมาว่า เมื่อได้พระพุทธรูปองค์นี้มาอริราชศัตรูที่คิดปองร้ายพระองค์ มีอันพ่ายแพ้พินาศไป รัชกาลที่ 5 จึงได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระไพรีพินาศ”
  • พระศรีศาสดา ณ พระวิหารพระศาสดา
    พระศรีศาสดา เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย สร้างขึ้นในคราวเดียวกับพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ มีความศักดิ์สิทธิ์ที่เหล่าศาสนิกชนให้ความนับถือเป็นอย่างมาก
  • พระพุทธรูปคู่พระบารมีฯ ณ พระวิหารเก๋ง
    ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ผู้ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร คือ พระพุทธวชิรญาณ พระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ปางห้ามสมุทร ประดิษฐานตรงกลางหันพระพักตร์ไปทิศใต้ 
  • พระพุทธรูปศิลา ณ โพธิฆระ
    พระพุทธรูปศิลาแลง ไม่ปรากฏหลักฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยใด เดิมแตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยกระจายอยู่ในที่ต่างๆ มีผู้เก็บมาถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ทีละชิ้น จึงโปรดให้ประกอบกันเข้า ก็ปรากฏเป็นองค์พระพุทธรูปสมบูรณ์และงดงาม จึงโปรดให้สร้างซุ้มที่ประดิษฐานไว้ ณ โพธิฆระแห่งนี้
  • พระพุทธรูปปางลีลา ณ ศาลาการเปรียญ
    ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา สมัยสุโขทัย 3 องค์ ข้างหน้ามีธรรมาสน์สำหรับแสดงธรรม ฐานก่ออิฐถือปูน ตัวธรรมาสน์เป็นไม้สลักปิดทอง ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลาแต่ละองค์จะมีลักษณะที่ต่างกันคือ องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่ายกพระหัตถ์ซ้าย องค์ขนาบข้างมีขนาดย่อมลงมา องค์ทางขวายกพระหัตถ์ซ้าย องค์ทางซ้ายยกพระหัตถ์ขวา แปลกกว่าที่อื่น ซึ่งสร้างเข้าชุดกันทั้ง 3 องค์
พระพุทธบาท
พระพุทธบาท
  • รอยพระพุทธบาทโบราณ ณ ศาลาพระพุทธบาท
    รอยพระพุทธยุคลบาท สมัยสุโขทัย ประดิษฐานภายในศาลาพระพุทธบาท ด้านติดกำแพงวัดทางด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถ โดยรอยพระพุทธบาทนี้สลักอยู่ตรงกลางแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่ ยาว 3.60 เมตร กว้าง 2.17 เมตร หนา 20 เซนติเมตร รอบรอยพระพุทธบาท สลักภาพพระอสีติมหาสาวก มีตัวอักษรบอกนามพระมหาเถรกำกับไว้อีกด้วย
ซุ้มปรางค์
  • พระพุทธรูปโบราณที่ซุ้มปรางค์ (ด้านซ้าย)
    ซุ้มปรางค์พระพุทธรูป ตั้งอยู่ด้านข้างพระอุโบสถนอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เดิมเป็นหอระฆังน้อย ดัดแปลงเป็นซุ้มพระพุทธรูปในรัชกาลที่ 6 พระไวโรจนะ พระพุทธรูปศิลา สมัยศรีวิชัย 
  • พระพุทธรูปโบราณที่ซุ้มปรางค์ (ด้านขวา)
    เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปศิลาประทับยืน สมัยทวารวดี ที่ได้อัญเชิญมาจากวัดตองปุ เมืองลพบุรี 
วัดบวร
อับเฉา
อับเฉา

อับเฉา ตุ๊กตาหินจีนภายในวัด

เจดีย์
วิหาร

กราบพระกริ่ง วัดบวร

ตำหนักเพ็ชร

ตำหนักเพ็ชร

ตำหนักเพ็ชร
ตำหนักเพ็ชร

เรียกได้ว่ามาวัดเดียวก็ได้เต็มอิ่มไปกับความศักดิ์สิทธิ์ เสริมสิริมงคลอย่างเต็มที่ หากใครมีเวลาว่างอยากหาที่มูแบบจัดหนักจัดเต็ม ต้องแวะมาที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

ภาพโดย MTHAI TEAM

ที่ตั้ง : 248 ถนนพระสุเมรุ แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
Google map : https://goo.gl/maps/CpzEyBTPzAU6WVuy5
เวลาเปิด – ปิด : 06.00 น. – 17.30 น.

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

12 ช่วง เวลาเกิดบอกนิสัย จากตำราพรหมชาติ

เปิดวาร์ป! ไหว้ 8 องค์เทพย่านราชประสงค์ ออนไลน์แบบ VR ได้แล้ววันนี้ !

มูความรัก แก้คุณไสย รักอกหักกับ พระแม่ตารา วัดอมราวราราม