Talk – EP. 7 : ปมขัดแย้งระลอกใหม่ เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้

เล่าเหตุการณ์ ที่มาที่ไป ปมระลอกประทุระลอกใหม่ของเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ จนนำไปสู่สาเหตุการระเบิดอาคารสำนักงานร่วมฯ

Home / TELL / Talk – EP. 7 : ปมขัดแย้งระลอกใหม่ เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้

ประเด็นน่าสนใจ

  • สถานการณ์ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้กลับมาระอุอีกครั้งหนึ่ง
  • ต้นเหตุเกาหลีเหนืออ้างว่า เป็นเพราะมีผู้แปรพักตร์ และนักเคลื่อนไหวในฝั่งเกาหลีใต้ ส่งบอลลูนพร้อมใบปลิว ดูหมิ่นเกาหลีเหนือและผู้นำ
  • ผลการตอบโต้จึงทำให้ เกาหลีเหนือสั่งระเบิดอาคารประสานงานระหว่างเกาหลีเหนือและใต้ ในเขตอุตสาหกรรมแกซองทิ้งทันที
  • ทำให้สถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงมากที่สุดในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา

ฟัง MThai ลอง Talk EP.7

https://www.facebook.com/mthaidotcom/videos/1450651471948924/?v=1450651471948924

ย้อนรอยก่อนเกิดเหตุการณ์การระเบิด

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาสถานการระหว่างเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ ถือเป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างดีอย่างมากทีเดียว เราได้เห็นภาพของผู้นำทั้งสองเกาหลีจับมือกัน ที่พรมแดนระหว่างเกาหลีเหนือ-ใต้ ในพท.เขตปลอดทหาร ซึ่งเป็นภาพที่สร้างความหวังอย่างมาก ที่จะเห็นคาบสมุทรเกาหลีกลับมาสงบสุขอีกครั้งหนึ่ง

ภาพการจับมือที่สร้างความหวังเกาหลีเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง

ผลจากการพูดคุยในครั้งนั้น ร่วมถึงท่าทีอันดีระหว่างกัน นำมาสู่ความร่วมมือครั้งใหม่ของเกาหลีเหนือ-ใต้ ในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน นำมาสูงการสร้างอาคารสำนักงานขนาด 4 ชั้น ในเขตอุตสาหกรรมแกซอง ของเกาหลีเหนือ

โดยอาคารดังกล่าวเป็นอาคารที่สำนักงานที่ใช้สำหรับติดต่อประสานงานต่างๆ ระหว่างเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ทำงานประจำอยู่ในอาคารดังกล่าว

ภาพอาคารสำนักงานประสานงานร่วม เกาหลีเหนือ-ใต้ เมื่อครั้งทำพิธีเปิดใช้งาน ซึ่งจะเห็นภาพแผนที่ “เกาหลี” ที่ไม่มีการแบ่งแยกอยู่ด้านหลัง

หากมีเหตุการณ์ หรือปัญหาอะไร ก็จะมีการต่อสายตรงถึงกันเป็นระยะๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

2 จุดหลักทางตอนเหนือ-ใต้ ที่ตึงเครียดเคยเป็นจุดเชื่อมระหว่างเกาหลี คือ นิคมอุตสาหกรรมแกซอง และเขตท่องเที่ยวภูเขากึมกัง

บอลลูน – ใบปลิว – ผู้แปรพักตร์

ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา ท่าทีของเกาหลีเหนือได้เป็นข่าวไปทั่วโลก ท่ามกลางข่าวลือ การเสียชีวิตของคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ไปทั่วโลก และปรากฎชื่อของ คิม ยอ จอง น้องสาวคิม จอง อึน ที่จะมีบทบาทมากขึ้น

ก่อนในช่วงต้นเดือน พฤษภาคม 2563 เกาหลีเหนือเริ่มส่งข้อความแสดงความไม่พอใจต่อการซ้อมรบระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐฯ โดยระบุว่า เป็นการยั่วยุให้เกิดเหตุความรุนแรงในคาบสมุทรเกาหลี

4 มิถุนายน 2563 คิม ยอ จอง ได้ประกาศจะเปิดสำนักงานประสานงานร่วมเกาหลีเหนือ-ใต้, ถอนตัวจากข้อตกลง หากเกาหลีใต้ ยังไม่จัดการกลุ่มนักเคลื่อนไหว และผู้แปรพักตร์ ที่มีส่งใบปลิวต่อต้านเกาหลีเหนือ ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563

มีใบปลิวต่อต้านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีถูกโปรยข้ามมาอย่างเปิดเผยจากทางใต้อย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งบั่นทอนกำลังใจ สร้างความไม่พอใจและความโกรธแค้นให้แก่ประชาชนของเรา

มากพอที่จะทำให้เราตระหนักได้อย่างชัดเจนว่า ศัตรูก็ยังคงเป็นศัตรู

ก่อนที่ วันที่ 5 มิถุนายน 2563 เกาหลีเหนือจะได้ส่งสัญญาณความไม่พอใจมากยิ่งขึ้น โดยให้เกาหลีใต้ จัดการกับผู้แปรพักตร์ และกลุ่มนักเคลื่อนไหว ที่ได้ทำการส่งใบปลิวชวนเชื่อต่างๆ ข้ามฝั่งไปยังเกาหลีเหนือ ไม่ให้มีขึ้นอีก พร้อมทั้งขู่ว่า จะตัดความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้

ก่อนทิ้งท้ายว่า

“เราไม่ปิดบังว่า เรามีแผนการใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดเพื่อจัดการปัญหาการยั่วยุจากทางใต้ พร้อมทั้งปิดช่องทางการติดต่อกับทางใต้โดยสมบูรณ์”

คิม ยอ จอง ประกาศผ่านแถลงการณ์อย่างชัดเจน

แต่ใครจะคิดว่า “นี่ไม่ใช่แค่คำขู่”

หลังจากการส่งสัญญาณหลายครั้ง รวมไปถึงการ “ตัดช่องทางการสื่อสาร” ระหว่างเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมิ.ย. 2563 ทำให้สถานการณ์เริ่มตึงเครียดมากขึ้น ก่อนในช่วงเย็นวันที่ 13 มิ.ย. 2563 จะมีแถลงการณ์ออกมาอีกครั้งถึงการสั่งปฏิบัติการขั้นเด็ดขาด

ด้วยท่าทีที่แข็งกร้าว ของคิม ยอ จอง ผ่านแถลงการณ์ ทำให้มีความพยายามในการเจรจาพูดคุย โดย ประธานาธิบดี มุน แจ อิน ของเกาหลีใต้ ได้เสนอให้มีการจัดการประชุมหารือร่วมกันในการแก้ไขปัญหา

ซึ่งในช่วงวันที่ 14 – 15 มิ.ย. มีรายงานถึงการเคลื่อนไหวของทหารทางฝั่งของเกาหลีเหนือตามแนวพรมแดนระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้

16 มิ.ย. 63 – ดีเดย์

หลังจากมีความเคลื่อนไหวของกองกำลังทหารของเกาหลีเหนือในช่วงวันที่ 15 มิ.ย. นำไปสู่เหตุการณ์ในช่วงสายของวันที่ 16 มิ.ย. 2563 นั่นคือ ปฏิบัติการ “ระเบิดอาคารประสานงานร่วมระหว่างเกาหลีเหนือ-ใต้

โดยในช่วงสายของวันที่ 16 มิ.ย. มีรายงานเสียงระเบิดดังขึ้นในเขตอุตสาหกรรมแกซอง ซึ่งในรายงานแรกระบุเพียงว่า เป็นเสียงดังคล้ายระเบิด ก่อนตามมากลุ่มควัน ก่อนที่จะมีรายงานที่ชัดเจนขึ้นว่า “เกาหลีเหนือระเบิดอาคารประสานงานร่วมเกาหลีเหนือ-ใต้”

สร้างความตื่นตะลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลกเลยทีเดียว

ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน สื่อของเกาหลีเหนือไม่ว่าจะเป็น เปียงยางไทม์, KCNA รายงานตรงกันว่า อาคารดังกล่าวถูกระเบิดไม่เหลือซาก ก่อนในวันที่ 17 มิ.ย. จึงได้มีการเปิดภาพเหตุการณ์ รวมถึงคลิปการระเบิดอาคารประสานงานร่วมฯ ดังกล่าว

คิม ยอ จอง กลายเป็นบุคคลที่ทั้งโลกกล่าวถึง

หลังการระเบิดอาคารที่เกิดขึ้น ทำให้ชื่อของ คิม ยอ จอง น้องสาวแท้ๆ ของคิม จอง อึน ถูกกล่าวถึงไปทั่วโลก ว่าเป็นผู้ที่สั่งปฏิบัติการในครั้งนี้ ถึงขนาดมีข่าวลือกันไปว่า อาจจะมีความต้องการถ่ายโอนอำนาจในเกาหลีเหนือก็เป็นได้

โดย คิม ยอ จอง นอกจากเป็นน้องสาวแล้ว ยังคงมีตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (WPK) ดูแลด้านการข่าว และการประชาสัมพันธ์ ต่างๆ ให้กับพรรคแรงงานเกาหลี นอกจากนี้เธอยังเป็นสมาชิกสำรองของโปลิตบูโรของพรรคของพรรคอีกด้วย

ในระยะหลัง จะพบบทบาทของเธอเพิ่มมากขึ้น ทั้งในและนอกประเทศ อยู่ข้างๆ ตัวของคิม จอง อึน อยู่บ่อยๆ แม้ว่า ยังไม่ได้อยู่ในภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการทหารก็ตาม

แล้วความระอุนี้จะจบลงเมื่อใด?

ยังคงไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้ชัดเจนว่า ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีนั้นจะจบลงอย่างไร แต่หลายฝ่ายก็ตั้งข้อสังเกตต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปต่างๆ นานา แต่จากข้อสรุปที่ทางเอ็มไทยรวบรวมได้ก็มีความเป็นไปได้ว่า

หลังจากข่าวปัญหาด้านสุขภาพของคิม จอง อึน ในช่วงเดือนเมษายน ที่มีข่าวลือไปถึงการเสียชีวิตนั้น สร้างความอึมครึม ความไม่ชัดเจน และความสับสนหลายอย่างเกิดขึ้น ทำให้การที่เกาหลีเหนือจะต้องมี “มือรอง” สำหรับสั่งการหรือเป็นศูนย์กลางในความอึมครึมนั้น และคนที่ คิม จอง อึน ไว้ใจมากที่สุด ก็คงเป็น “น้องสาวคนสนิท” นั่นเอง

แต่ต้องเข้าใจว่า ด้วยความเป็นเพศหญิงในเกาหลีเหนือนั้น ไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเป็นเหตุการณ์เพื่อแสดงถึง “อำนาจ” ในการสั่งการของ คิม ยอ จอง ที่ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้อีกด้วยว่า การระเบิดอาคารดังกล่าว อาจจะยังคงมีประเด็นเรื่องของการกลบข่าวด้านลบ/ความสับสนอะไรบางอย่างในเกาหลีเหนือ รวมถึงการสร้างเงื่อนไขเพื่อเรียกร้อง-ต่อร้องกับเกาหลีใต้ ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่งในท้ายที่สุด

แต่ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นนั้น คงไม่จบลงได้โดยง่ายนัก เนื่องจากทางเกาหลีใต้เอง ก็มีท่าทีที่แสดงถึงความไม่พอใจกับการระเบิดอาคารประสานงานร่วมฯ แห่งนี้อยู่ไม่น้อย เนื่องจากอาคารดังกล่าว เป็นเงินของทางเกาหลีใตั และความก้าวร้าวจากแถลงการณ์ ในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. ของเกาหลีเหนือ

ดังนั้นสถานการณ์ความตึงเครียดนี้ คงเกิดขึ้นอยู่อีกพักใหญ่ และต้องรอดูต่อไปว่า เกาหลีเหนือ จะมีปฏิบัติการใดๆ เพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ความหวังของการรวมเกาหลีเป็นหนึ่งอีกครั้งคงห่างไกลไปอีกหลายก้าวด้วยกัน


ภาพ : Xinhua, KCNA