วิกฤตเศรษฐกิจ ‘ต้มยำกุ้ง’ ร้านบะหมี่ป้าแหม่มจึงเปิดตัวอีกครั้ง คุณธนากร จำนงค์รักษ์ ซึ่งเป็นเจ้าของร้านบะหมี่ป้าแหม่มได้เล่าให้ทาง NEXT PEOPLE ฟังว่า เราคิดว่าเราเคยทำร้านอาหารมาอยู่แล้ว เราก็มาลองเปิดร้านในซอยดูใหม่ว่าจะมีคนอุดหนุนเราไหม พอเราเปิดได้แล้ว ก็ดูพอที่ว่าธุรกิจอันนี้ก็ยังช่วยเราในช่วงวิกฤต ปัจจุบันก็จะมีร้านที่เกิดวิกฤตของโควิด ไม่ได้ทำงานหรือทำงานอยู่ที่บ้านก็มารับอาหารจากทางร้านคุณธนากรไปขายต่ออีกทีนึง ซึ่งช่วยให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทางร้านก็จะให้คำแนะนำเรื่องของการขาย การดูแลลูกค้าด้วย
“เมื่อก่อนทำอสังหาฯ ทำบริษัทเกี่ยวกับหมู่บ้านจัดสรรก็อยู่ในระดับหนึ่ง พอเราทำงานสักอายุใกล้เกษียณ เราก็หาอาชีพอะไรที่มาทำใหม่หลังจากเกษียณ เราก็คิดว่าอาหารที่เราเคยทำอยู่แล้วคือ บะหมี่หมูแดง ก็มี มีสูตรของญาติๆ กัน ที่เคยขายเป็ดอยู่แล้ว เขาก็เคยแนะนำไว้ให้ตอนช่วงที่เรายังทำงานอยู่ ก็มาดูว่าเราอาจจะเพิ่มเป็ดย่างเข้าไป เราก็มาหัดทำเอง แล้วก็มาจำจากสูตรที่เขาเคยสอนไว้ให้ เราก็มาดูตามรายการ และดูในยูทูปบ้างอะไรอย่างนี้เพื่อที่ว่าจะให้รสชาติดีขึ้น เราก็ทำระยะนึงก็มาถามลูกค้าว่าอร่อยบ้างไหม แล้วก็ปรับปรุงสูตรมาจนปัจจุบันนี้ก็น่าจะอยู่ตัวแล้ว”
“ใหม่ๆ นี่ เราจะฝึกทานกันเอง ฝึกย่างก่อนแล้วก็ทานกันเอง หรือว่าบ้านข้างเคียงก็ให้เขาลองชิมว่าใช้ได้ไหม”
วิกฤตเศรษฐกิจ ‘ต้มยำกุ้ง’ ร้านบะหมี่ป้าแหม่ม เปิดตัวอีกครั้ง!
“มาเจอวิกฤตในช่วงเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 40 ซึ่งมีภาระเยอะ ต้องผ่อนบ้าน ต้องดูแลลูกและครอบครัว รายรับไม่พอกับรายจ่าย เราคิดว่าเราเคยทำร้านอาหารมาอยู่แล้ว เราก็มาลองเปิดร้านในซอยดูใหม่ว่าจะมีคนอุดหนุนเราหรือไม่ พอเราเปิดได้แล้ว ก็ดูพอที่ว่าธุรกิจอันนี้ก็ยังช่วยเราในช่วงวิกฤต สามารถดูแลลูกได้ ผ่อนบ้านได้ ก็ถือว่ามีการตอบรับจากลูกค้าได้ดี โดนต้มยำกุ้งก็ต้องโดนลดเงินเดือนไปครึ่งนึง โดยที่ว่าพนักงานคนอื่นก็ต้องโดน Layoff ออก แต่เราก็ยังอยู่ได้ในบริษัท ก็ต้องหาทางช่วย ต้องมาเปิดร้านเพื่อช่วยกัน”
กับคำว่า ‘หัวหน้าครอบครัว’ จึงต้องหาทางออก
“ก็ต้องคุยกันในครอบครัวเพราะว่าเราไม่ไหวแล้ว เงินที่เราโดน Layoff จากต้มยำกุ้งเนี่ยมันไม่พอที่จะส่ง ถ้าเกิดเราไม่หาอะไรทำมันก็จะช่วยกันไม่ได้ เราก็จะแย่ตามกันไป เราก็ต้องเตือนเราเสมอว่า เราเป็นหัวหน้าครอบครัวยังไงเราก็ต้องดูแลครอบครัวให้ได้ เพราะว่าไม่รู้จักทำอย่างอื่นก็ต้องมาค้นหาอาชีพที่เราเคยทำที่ว่ามันเป็นอาชีพที่เราถนัด เพื่อจะเกื้อกูลให้เราผ่านวิกฤตนี้ไปได้”
ราคา ปริมาณและคุณภาพ เข้าถึงทุกคน
“หนึ่งเราตั้งเป้าว่า เราจะขายในราคาที่ไม่สูงมากแล้วเราอยู่ได้ รสชาติก็ดั้งเดิมที่เราทำอยู่แล้ว ก็พัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้น ให้มันออกมาได้ดี”
เปิดโอกาสส่งเสริมรายได้ ในช่วง โควิด ให้กับคนอื่น
“ทุกวันนี้ก็จะมีร้านที่เขาเกิดวิกฤตของโควิด ไม่ได้ทำงาน ทำงานอยู่ที่บ้าน เขาก็มารับอาหารจากเราเอาไปขายต่ออีกทีนึง ซึ่งรับไปทำเขาก็ประสบความสำเร็จ รายได้เขาก็ช่วยเหลือ จุนเจือได้ในบางส่วนที่เขารับจากเราไป ซึ่งเราปล่อยราคาไม่แพง มาปรึกษาเรา เราก็จะแนะนำให้ มารับก็จะมีรายได้เสริมจากอย่างอื่นได้ เราจะสอนให้ว่าต้องทำอะไรยังไงกระทั่งการดูแลลูกค้า รสชาติเรานี่เราถือว่าของเรานี่ใช้ได้นะครับ”
เรียกได้ว่าไม่หวงสูตรใช่ไหมคะ?
“ไม่หวงครับ”