คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณมือถือ อันตรายจริงหรือไม่ หาคำตอบได้ที่นี่

จริงหรือไม่ เสาสัญญาณโทรศัพท์มือถืออันตรายเป็นเรื่องที่ทุกๆคนกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่วันนี้เราจะมาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

Home / TELL / คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณมือถือ อันตรายจริงหรือไม่ หาคำตอบได้ที่นี่

ในวันที่โลกหมุนเร็วขึ้น เทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่ยังมีคำถามว่าเสาสัญญาณมือถือที่ถูกติดตั้งเพิ่มขึ้นนั้น เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรืออาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงจริงหรือไม่ วันนี้จะมาหาคำตอบไปพร้อมกัน

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณมือถือ อันตรายจริงหรือไม่

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมการติดตั้งสถานีฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือ พบว่าในปี 2560 มีสถานีฐานระบบโทรศัพท์มือถือ จำนวน 115,684 สถานี และในปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 170,577 สถานี เพื่อรองรับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีความกังวลถึงความปลอดภัยได้สอบถามไปที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่มีจำนวนเพิ่มขี้นอย่างมากจะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณมือถือ อันตรายจริงหรือไม่

ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานขององค์การอนามัยโลกที่เป็นหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง หรือ International Agency for Research on Cancer : IARC ได้จัดให้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ในตัวกระทำที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งกลุ่ม 2B ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับพวก ผักดอง น้ำมันเบนซิน และไอระเหยของน้ำมันเบนซินที่มีผลอาจเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดโรงมะเร็ง

โดยประเด็นนี้มีการศึกษาวิจัยกันมากในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้โทรศัพท์มือถือ แต่ยังไม่พบหลักฐานที่เพียงพอจะสรุปได้ว่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานระบบโทรศัพท์มือถือมีผลร้ายหรืออันตรายต่อสุขภาพ จนกระทั่งในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 องค์การอนามัยโลกได้ออกมายืนยันว่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานระบบโทรศัพท์มือถือปลอดภัยต่อประชาชน แต่อย่างไรก็ตามประชาชนยังมีความกังวลถึงความปลอดภัยจากการสัมผัสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ทำไมเสาสัญญาณมือถือต้องอยู่ใกล้ชุมชน

ทั้งนี้ นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์ของประเทศ มีภารกิจในการประเมินความเสี่ยงจากภัยสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคด้วยผลทางห้องปฏิบัติการ ในปีงบประมาณ 2562-2563 ได้สำรวจค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานระบบโทรศัพท์มือถือ เพื่อวัดค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและตรวจสอบว่าเกินกว่าค่าที่มาตรฐานสากลกำหนดหรือไม่ (International Commission on Non-ionizing Radiation Protection : ICNIRP) โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ที่ 950 MHz มีค่าไม่เกิน 4.5 W/m2 ความถี่ 1800 MHz มีค่าไม่เกิน 9 W/m2 และความถี่ 2100 MHz มีค่าไม่เกิน 10 W/m2 เพื่อเป็นการประเมินความเสี่ยงและ คุ้มครองผู้บริโภค ผลสำรวจวัดค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานระบบโทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพมหานคร 50 เขต อำเภอเมืองในเขตปริมณฑล 5 จังหวัด และอำเภอเมืองในจังหวัดภาคกลาง 16 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 2,217 สถานี โดยตรวจวัดในช่วงความถี่ 950-2100 MHz พบว่า ค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่วัดได้มีอยู่ในช่วงระหว่าง 0.000255 – 0.01776 (W/m2) ซึ่งค่าที่วัดได้นี้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ก่อให้เกิดอันตราย โดยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานประมาณ 500-1,000 เท่า จึงมีความปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานีฐานระบบโทรศัพท์มือถือ

ได้ยินแบบนี้แล้วก็ยิ่งทำให้มั่นใจได้ลยว่าเสาสัญญาณมือถือ มีความปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เพราะความจำเป็นของการตั้งเสาสัญญาณมือถือใกล้ที่อยู่อาศัยและชุม ชน เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถรับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือได้อย่างชัดเจน ช่วยให้เรามีความสะดวกในการตติดต่อสื่อสารกันมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง: