“พวกอยู่หอคอยงาช้างจะเข้าใจปัญหาคนยากจนได้อย่างไร”
ตัวอย่างการใช้งานสำนวนจากเว็บไซต์สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ที่เป็นหนึ่งในตัวอย่างของคำว่า “หอคอยงาช้าง” ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี ซึ่งคำว่า “หอคอยงาช้าง” นั้นมีที่มาจากในภาษาอังกฤษ ว่า Ivory Tower หรือ
คำว่า หอคอย หมายถึง เรือนสูงที่ทำไว้สำหรับดูสิ่งที่อยู่สูง หรือสำหรับคอยระวังสังเกตการณ์ เช่น หอคอยดูดาว. ในสมัยโบราณ เมืองต่าง ๆ จะมีหอคอยสำหรับดูข้าศึก ส่วนคำว่า งาช้าง เมื่อใช้ในความเปรียบจะหมายถึง สิ่งที่มีค่า มีราคา ของดีเป็นพิเศษ เพราะงาช้างเป็นของหายากและมีราคาแพงเมื่อเทียบกับเขาหรือกระดูกของสัตว์อื่น
ดังนั้นสำนวน หอคอยงาช้าง มักจะใช้เมื่อพูดถึงผู้ที่ไม่สนใจสภาพปัญหาหรือความต้องการของคนทั่วไป ไม่รับรู้หรือไม่ได้นึกถึงสภาพที่แท้จริงของสังคม เป็นตัวแทนของคนที่ไม่เข้าใจ หรืออยู่ห่างไกลจากปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้สัมผัสปัญหาเหล่านั้นอย่างแท้จริง มักใช้เป็นความหมายในแง่ลบ
คำว่า “หอคอยงาช้าง” ในประเทศไทยมักใช้บ่อยในความหมายของการพูดถึงนักวิชาการ ปัญญาชน หรือผู้มีบทบาทในความเป็นผู้นำ ที่ไม่เข้าใจถึงปัญหา หรือชิ้นงานวิจัย-งานวิชาการต่าง ๆ ที่ออกมาแต่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ความเป็นจริง ซึ่งในความหมายนี้ จึงไม่ค่อยมีใครอยากถูกเอ่ยด้วยสำนวนนี้เท่าใดนัก
ตามพระคัมภีร์ ไม่ได้หมายถึงในแง่ลบ
ตามไบเบิล มีปรากฏถ้อยคำที่เอ่ยถึง Ivory Tower เช่นกัน แต่ความหมายกลับไม่ได้เป็นเรื่องราวในแง่ลบเท่าใดนัก โดยระบุว่า
“Your neck is like an ivory tower. Your eyes are pools in Heshbon, by the gate of Bath-rabbim. Your nose is like a tower of Lebanon, overlooking Damascus.”
หอคอยงาช้าง ในยุคใหม่
ในยุคใหม่ต่อมาที่ปรากฎการใช้งาน พบในงานเขียนต่าง ๆ ในประเทศฝรั่งเศส เช่น บทกวี “Pensées d’Aoıt, à M. Villemain” ของ Charles Augustin Sainte-Beuve ในปี 1837 โดยใช้คำว่า “tour d’ivoire” หรือมีความหมายเดียวกับ Ivory Tower หรือ หอคอยงาช้างนั่นเอง
ต่อมาพบในนวนิยายที่ใช้ชื่อว่า The Ivory Tower ของ James Henry ในช่วงปี ค.ศ. 1914 ซึ่งนวนิยายเล่มนี้ ยังไม่จบ แต่ James Henry ผู้เขียนก็เสียชีวิตไปเสียก่อน ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เปรียบเปรย – เยาะเย้ย และมีความหมายในเชิงลบ ที่เปรียบได้ว่า งาช้างเป็นวัสดุก่อสร้างที่สูงส่ง แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถนำมาทำได้จริง
หลังจากนั้น การใช้สำนวน “หอคอยงาช้าง” จึงเริ่มค่อยกลายมาเป็นความหมายในแง่ลบ และมีการใช้งานกันแพร่หลาย โดยเฉพาะในแวดวงวิชาการ ในกลุ่มสถาบันการศึกษา และมีใช้งานแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ
…
ที่มา