สำนวนไทย

สัพเพเหระ – สำนวนไทยวันนี้ โยนกลอง

เรียนรู้สำนวนไทย - โยนกลอง ว่าคำนี้มีที่มาอย่างไร

Home / TELL / สัพเพเหระ – สำนวนไทยวันนี้ โยนกลอง

ประเด็นน่าสนใจ

  • โยนกลอง เป็นสำนวนไทยที่พบได้บ่อยครั้งในข่าว-หน้าหนังสือพิมพ์
  • มีที่มาจากการตีกลองร้องทุกข์ในสมัยก่อน ที่ประชาชนผู้มีเรื่องเดือดร้อนจะมาตีกลองวินิจฉัยเภรี เพื่อถวายฏีกา
  • เมื่อมีเรื่องร้องทุกข์เข้ามาจะมีการไต่สวน ซึ่งผู้ถูกไต่สวนก็จะมีการโยน หรือปัดความรับผิดชอบไปให้ผู้อื่น / หน่วยอื่น
  • จึงเป็นที่มาของคำว่า โยนกลองในที่สุด

หนึ่งในสำนวนที่มีการใช้งานบ่อย และพบเห็นได้บนหน้าหนังสือพิมพ์หรือข่าวต่าง ๆ มักจะมีคำหนึ่งที่พบบ่อย นั่นคือคำว่า “โยนกลอง” แต่คำนี้ ไม่ได้หมายถึงการเอากลองมาโยนใส่กัน หรือโยนรับกันไปมา แต่เป็นการเปรียบเปรย-เปรียบเทียบ มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า “โบ้ย” ที่วัยรุ่นในวันนี้ ยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

ความหมายของคำว่า “โยนกลอง”

สำนวนไทยคำว่า “โยนกลอง” หมายถึง การปัดหรือผลักภาระ หน้าที่ หรือความรับผิดชอบต่าง ๆ ไปให้ผู้อื่น เป็นผู้รับแทน เพื่อให้หน้าที่-ความรับผิดชอบนั้น พ้นไปจากตัวเอง ตัวอย่างประโยคที่ใช้ในข่าว ที่เราเห็นได้ เช่น

“ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นต่างฝ่ายต่าง โยนกลอง กันไปว่า ไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบ”

ที่มาของคำว่า “โยนกลอง”

ที่มาของคำนี้ แม้จะมีที่มาไม่ชัดเจน แต่จากข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เชื่อว่า สำนวนนี้ มาจากในสมัยโบราณ ประเทศไทยมีการตั้งกลอง กระดิ่ง หรือฆ้อง ไว้ที่หน้าวัง เพื่อให้ประชาชนที่มีปัญหา หรือมีเรื่องที่ต้องการร้องทุกข์ ได้มาตีกลอง-ฆ้อง ได้ถวายฏีกา ร้องทุกข์ ต่างๆ ถึงความเดือดเนื้อร้อนใจที่เกิดขึ้นใน

การใช้กลองในการตีเพื่อร้องทุกข์นั้นตามที่บันทึกไว้หนังสือสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีการใช้งานในช่วงรัชกาลที่ 3 เรียกว่า กลองวินิจฉัยเภรี โดยจะเป็นกลองที่เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปบูรณปฎิสังขรณ์เมืองจันทบุรี เป็นผู้สร้างและส่งเข้ามาถวายเมื่อ ค.ศ. ๒๓๘๐ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริว่า ความทุกข์ร้อนของราษฎรที่จะร้องถวายฎีกาได้ก็ต่อเมื่อเวลาเสด็จออก แต่ถ้าให้ตีกลองร้องฎีกาได้ทุกวัน ก็จะสามารถบรรเทาทุกข์ของราษฎรได้ และได้พระราชทานนามกลองนี้ว่า วินิจฉัยเภรี

ซึ่งเมื่อมีการร้องทุกข์ หรือยื่นฏีกา ก็จะมีการเรียกผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ถูกร้องมาทำการไต่สวนว่า เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกระทรวง หน่วยงานใด เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาการปล้นสะดมภ์, โจรอาละวาด

และในการไต่สวนนี้เอง ก็มักพบว่า มีการปัดความรับผิดชอบ ไม่รับเรื่อง หรือโยนเรื่องดังกล่าวไปยังผู้อื่นไปมา

จากการปัดความรับผิดชอบ – โยนคำร้อง และฏีกาเหล่านั้นไปมา จึงกลายเป็นที่มาของคำว่า “โยนกลอง” นั่นเอง

ภายหลังเมื่อมีประชาชนมากขึ้น การตีกลองวินิจฉัยเภรี เพื่อร้องทุกข์ต่างๆ มากขึ้น ควบคู่กับธรรมเนียมปฏิบัติแบบตะวันตกเข้ามาสู่ประเทศไทย จึงได้มีการยกเลิกการตีกล้องร้องทุกข์ ไปเป็นระบบศาลในช่วงสมัยนิยม


ที่มา – https://www.ombudsman.go.th/ombstudies/download/Journals/2561/p195-205.pdf