รายงานพิเศษ อังกฤษ

อังกฤษ รับมือโควิด-19 อย่างไร จากวันละ 7.7 หมื่นกว่าราย สู่ 2 กว่าพันราย

จากยอดการพบผู้ป่วยสูงที่สุดกว่า 7.7 หมื่นคนต่อวัน เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ในขณะนี้อังกฤษ เหลือผู้ป่วยเพิ่มราววันละ 2 พันกว่ารายเท่านั้น

Home / TELL / อังกฤษ รับมือโควิด-19 อย่างไร จากวันละ 7.7 หมื่นกว่าราย สู่ 2 กว่าพันราย

ประเด็นน่าสนใจ

  • อังกฤษเป็นหนึ่งในประเทศที่มียอดผู้ป่วยมากที่สุด อยู่ใน TOP10 ของโลกมาต่อเนื่อง
  • ยอดผู้ป่วยรายใหม่ต่อวันที่สูงที่สุดของอังกฤษคือ กว่า 7.7 หมื่นรายต่อวัน, ผู้ป่วยสะสมมากกว่า 4.4 ล้านราย และเสียชีวิตสะสมกว่า 1.27 แสนราย
  • แต่ในวันนี้อังกฤษเหลือผู้ป่วยรายงานเพียงราววันละ 2 กว่ารายเท่านั้น
  • อังกฤษมีแนวทางการแก้ไขปัญหาในหลายเรื่องที่ต่างไปจากประเทศอื่น เช่น การส่งชุดตรวจโควิด-19 ถึงบ้านให้ประชาชนเก็บตัวอย่างและส่งกลับ, การปูพรมฉีดวัคซีนโดยเน้นเข้มแรกเข็มเดียวเป็นหลัก ฯลฯ
  • และอังกฤษเป็นประเทศแรกในโลก ที่มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งตั้งแต่เมื่ออนุมัติ ตรวจรับวัคซีน และเริ่มต้นการฉีดนั้น เกิดขึ้นในระยะเวลา 7 วัน และหลังจากอนุมัติตัวแรกไม่ถึง 30 วันก็มีการอนุมัติวัคซีนตัวที่ 2 ตามมา
  • ขณะนี้อังกฤษสั่งซื้อวัคซีนแล้วกว่า 500 ล้านโดสจาก 8 บริษัท เพื่อใช้งานทั้งในปีนี้ และปีหน้า ซึ่งแน่นอนว่า ด้วยสภาพเศรษฐกิจของประเทศทำให้ อังกฤษอยู่ในสถานะที่ “พร้อมจ่ายได้”

อังกฤษ เป็นหนึ่งใน 10 อันดับแรกของโลกที่มีรายงานการพบผู้ป่วยโควิด-19 เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการระบาดในช่วงระลอกที่ 3 ของอังกฤษ ส่งท้ายปี 2563-2564 โดยมียอดการพบผู้ป่วยต่อวันสูงกว่า 8.1 หมื่นราย เฉพาะสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2564 ค่าเฉลี่ยการพบผู้ป่วยรายใหม่ต่อวันอยู่ที่ราว 57,000 รายต่อวัน

แต่หลังจากผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในอังกฤษลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จนในขณะนี้ เหลือรายงานพบผู้ป่วยเพียงเฉลี่ยวันละ 2 พันรายเท่านั้น (อ้างอิงค่าเฉลี่ยในวันที่ 3 พ.ค. 64) ถือว่าเป็นหนึ่งในการจัดการโควิด-19 ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เมื่อเทียบกับหลาย ๆ ประเทศที่อยู่ใน 10 อันดับแรกของตารางที่มีผู้ป่วยสะสมมากที่สุดในโลก

กราฟการพบผู้ป่วยโควิด-19 รายวันของอังกฤษ
( ที่มา – https://coronavirus.data.gov.uk/)

เกิดอะไรขึ้น? อังกฤษวางแผนจัดการและรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ได้อย่างไร จึงสามารถจัดการได้อย่างรวดเร็ว และกำลังก้าวผ่านการระบาดในระลอกล่าสุดนี้ไปได้

ลำดับเหตุการณ์ระบาด

ก่อนระลอกแรก ( มกราคม – กุมภาพันธ์ 2563)

KEY : เป็นการทำงานเชิงรับ ซึ่งมีการติดเชื้อจากภายนอกอังกฤษ และผู้ป่วยเดินทางกลับมายังอังกฤษ ดังนั้นมาตรการในระยะนี้จึงเป็นมาตรการทั่วไป ที่พบได้เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิ เป็นต้น

ซึ่งก็ไม่ต่างจากประเทศอื่น ๆ เท่าไหร่นัก เนื่องจากยังคงเป็นโรคใหม่ และไม่มีใครรู้จักมาก่อนนั่นเอง

ผู้ป่วยสะสม
47 ราย
(ผู้ป่วยเพิ่มเฉลี่ยไม่ถึง 10 ราย/วัน)

ผู้เสียชีวิตสะสม

สถานการณ์

  • มีการระบาดในอู่ฮั่น
  • พบนอกจีนครั้งแรก ในไทย
  • พบผู้ป่วยรายแรกในอังฤษ

ในช่วงแรกหลังจากที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศการพบโรคโควิด-19 ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และมีการค่อยๆ พบในประเทศอื่นๆ เพิ่มเติมในฝั่งเอเชีย

มาตรการที่อังกฤษนำมาใช้ในช่วงแรกจึงเป็นแนวทางการใช้มาตรการตรวจคัดกรองที่สนามบิน เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อเป็นหลัก โดยมีการพบผู้ป่วยในอังกฤษเป็นครั้งแรก โดยเป็นการติดเชื้อจากภายนอกประเทศอังกฤษ และนำเชื้อเข้ามาเป็นหลัก

หลังจากนั้นก็มีการพบผู้ป่วยต่อเนื่องเรื่อยๆ แต่ไม่มากนัก จากการติดเชื้อจากพื้นที่เสี่ยง แต่จำนวนเริ่มมากขึ้น และประเทศรอบข้างอังกฤษก็เริ่มมีรายงานพบผู้ป่วยมากขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอังกฤษได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเริ่มการเตรียมพร้อมรับมือ


ระลอกแรก ( มีนาคม – มิถุนายน 2563)

KEY : เป็นการระบาดอย่างจริงจังในอังกฤษ เนื่องจากเป็นการติดเชื้อภายในประเทศแล้ว ร่วมถึงมีการรับเชื้อจากทางฝั่งอิตาลี ที่มีการระบาดเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม อังกฤษมีการจัดทำแผนการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ปี 2011 และมีการปรับปรุงต่อเนื่องมา ทำให้นำแผนดังกล่าวมาประยุกต์ใช้งานในการรับมือ ทำให้มีการประกาศระดับสี ระดับมาตรการรับมือที่ชัดเจน เป็นแบบเดียวกันโดยตลอด

แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดเป็นมาตรการเชิงรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้อังกฤษเผชิญปัญหาเป็นหลัก ดังนั้น จึงเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชุด PPE, หน้ากากอนามัย, ระบบการจัดนับเวชภัณฑ์ แต่ทั้งหมดก็สามารถจัดการได้ในหลายเรื่องด้วยการทุ่มเงินหลายส่วนเพื่อจัดซื้อสิ่งของที่ขาดหายไป เปิดโครงการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ สำหรับรับมืออย่างมาก

ผู้ป่วยสะสม
ราว 285,000 ราย
(เพิ่ม 2.85 แสนราย)

ผู้เสียชีวิตสะสม
ราว 4 หมื่นราย
(เพิ่ม 4 หมื่นราย)

สถานการณ์

  • ต้นเดือน มี.ค. 63 พบการระบาดในประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก
  • จำนวนผู้ติดเชื้อพบเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
  • สิ้นเดือน มี.ค. 63 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกว่า 2 หมื่นราย เสียชีวิตกว่า 4 พันราย
  • เม.ย. 63 เป็นช่วงพีคของการระบาดระลอกแรก ยอดผู้ป่วยสูงกว่า 3-4 รายต่อวัน
  • อันตราการเสียชีวิตเฉลี่ยราว 6-700 รายต่อวัน สูงสุด 1,075 ราย
  • มีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน
  • พบการเชื้อส่วนใหญ่เป็นเชื้อที่คาดว่ามาจากทางอิตาลีที่มีการระบาดหนักกว่า
  • อันตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงชึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ

มี.ค. 63 เดือนแห่งปัญหา – ต้นเดือน มีนาคม 2563 การระบาดในอังกฤษที่พบการติดเชื้อภายในประเทศ ครั้งแรกในเมืองแมนเชสเตอร์ โดยผู้ป่วยรายแรกไม่มีประวัติการเดินทางท่องเที่ยวออกนอกประเทศ จากนั้นยอดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการสำรวจความพร้อมรับมือพบว่า

  • สถานพยาบาลในอังกฤษยังไม่พร้อมเท่าที่ควร
  • มีรายงานว่า ชุด PPE ที่สั่งซื้อมาไม่มีคุณภาพดีพอ และมีไม่เพียงพอ
  • จนท.ด้านสาธารณสุขร้องขอให้รัฐบาลจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ดี และเพียงพอต่อการรับมือ

อุปกรณ์ไม่พอ – สถานการณ์ในช่วงเดือนเมษายน 2563 ท่ามกลางการระบาดหนักขึ้นเรื่อยๆ ทางการอังกฤษได้จัดหาชุด PPE กว่า 300 ล้านชิ้น ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลน โดยเร่งผู้ผลิตให้เร่งดำเนินการจัดทำและนำส่ง ท่ามกลางรายงานปัญหาชุดไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังมีการดำเนินการเร่งจัดหาเครื่องช่วยหายใจ อุปกรณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก รวมถึงชุดตรวจหาเชื้อด้วย ทั้งหมดนี้ ในระลอกแรก อังกฤษประสบปัญหาความไม่พร้อมค่อนข้างมาก และเร่งดำเนินการจัดหาซื้ออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน

คนทำงานไม่พอ – ทำให้มีการประกาศขออาสาสมัครแพทย์ – พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ที่เกษียนอายุไปแล้ว เข้าร่วมรับมือกับสถานการณ์การระบาดในระลอกนี้ รวมถึงนำนักศึกษาแพทย์ – พยาบาลที่อยู่ในชั้นปีสุดท้าย เข้ามาร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วย

กระตุ้นความร่วมมือป้องกันโรค – ในแง่การให้ข้อมูลประชาชน ได้มีการปรับเปลี่ยนมาตรเน้นย้ำมาตรการต่าง ๆ มากขึ้น มีการกำหนดระดับแจ้งเตือน 1-5 ระดับที่ชัดเจน และเมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้นก็มีการยกระดับมาตรการขึ้นตามลำดับ มีการประกาศรับอาสาสมัครเพิ่มเติมเพื่อช่วยรับมือกับสถานการณ์การระบาด ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 750,000 คน

ในการประชาสัมพันธุ์และให้ข้อมูลต่าง ๆ มีการส่งจดหมายแจ้งเตือน ประชาสัมพันธ์ และข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 ที่ถูกต้อง จำนวนกว่า 30 ล้านฉบับไปยังบ้านเรือนที่อยู่ในอังกฤษ พร้อมมาตรการ “Stay Home, Save Lives” มีการส่ง SMS แจ้งกับประชาชนเกี่ยวกับคำแนะนำ – มาตรการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

แนวมทางของระดับการแจ้งเตือนในอังกฤษ

ใช้ไม้แข็งยับยั้งการระบาด – มีการยกระดับมาตรการป้องกันจากระดับปานกลางไปสู่ระดับสูงมากขึ้น โดยให้ผู้ที่มีอาการไอ หรือมีไข้ แยกตัว, มีการขอให้ยกเลิกการเดินทาง การเรียนการสอน, เลื่อนการเลือกตั้งออกไป 1 ปี มีการสั่งปิดสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ร้านอาหารที่มีความเสี่ยง โรงยิม ผับ บาร์ โรงหนัง โรงละครต่าง ๆ รวมทั้งมีมาตรการที่เข้มงวดต่อเนื่อง จนกระทั่งมีคำสั่ง Lockdown และมาตรการ Stay-at-home อนุญาตให้มีการเดินทางออกจากบ้านในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น

จนกระทั่งจำนวนผู้ป่วยเริ่มลดลงต่อเนื่องในช่วงเดือน พ.ค. 2563 และเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการมากขึ้น แต่เป็นไปอย่างช้า ๆ และค่อยเป็นค่อยไป และได้เปลี่ยนสโลแกนรณรงค์จาก “Stay Home” เป็น “Stay alert” เพื่อป้องกันการ์ดตก มีการเปิดตัวแอพฯ ที่ใช้สำหรับติดตามการเดินทาง และแจ้งเตือนต่าง ๆ สำหรับป้องกันโควิด-19 แต่สุดท้ายก็จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบอื่นของ Google, Apple แทน

มองระยะยาว – ท่ามกลางปัญหาความไม่พร้อม อังกฤษเดินหน้าข้ามประเด็นไปมุ่งเป้าการลงทุน ค้นคว้า ทั้งในส่วนของการวิจัยวัคซีน ยารักษา และอุปกรณ์อื่น ๆ หลายอย่าง เช่นเครื่องช่วยหายใจ แบบฉุกเฉินอื่น ๆ


ผ่านพ้นระลอกแรก ( กรกฏาคม – สิงหาคม 63)

KEY : ท่ามกลางสถานการณ์ที่เงียบสงบ อัตราการระบาดต่ำ แต่มีความพยายามในการค้นคว้า วิจัยต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจำนวนหลายโครงการ เพื่อเตรียมรับมือหากเกิดการระบาดในรอบใหม่

มีการทดสอบ ทดลองหลายอย่างเกิดขึ้น เช่นการใช้สุนัขดมกลิ่นหาผู้ป่วย การทำเครื่องช่วยหายใจ การทดสอบชุดตรวจแบบ Rapid Test ต่าง ๆ รวมถึงเรื่องของวัคซีนด้วย

ผู้ป่วยสะสม
ราว 3.4 แสนราย
(เพิ่มราว 5 หมื่นราย)

ผู้เสียชีวิตสะสม
ราว 4.16 หมื่นราย
(เพิ่มราว 1600 ราย)

สถานการณ์

  • อัตราการพบผู้ป่วยเพิ่มราว 300 – 1,200 รายต่อวัน
  • อัตราการเสียชีวิตลดต่ำลงอยู่ราววันละ 10-20 ราย
  • มีการผ่อนคลายมาตรการหลายอย่างมากขึ้น เช่น การเปิดการเรียนการสอนตามปรกติ, เปิดร้านค้าได้
  • มีการชุมนุมประท้วง Black live matter ที่ทำให้หลายฝ่ายกังวลกับการระบาด
  • สภาพเศรษฐกิจบางส่วนเริ่มฟื้นกลับมา แต่ยังคงไม่มากเท่าเดิม

มิ.ย. 63 – นับเป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลายหลังการระบาดในระลอกแรกของอังกฤษ เนื่องจากยอดผู้ป่วยรายใหม่ต่อวันลดลงอย่างมาก อัตราการพบผู้ป่วยรายใหม่ต่อวันไม่ถึง 1 พันราย

ผ่อนคลายมาตรการ – มีการผ่อนคลายมาตรการมากขึ้นตามลำดับ เช่นการเปิดการเรียนการสอนตามปรกติ ร้านค้าต่าง ๆ ที่เคยถูกสั่งปิดก็สามารถเปิดกลับมาให้บริการได้อีกครั้ง

สถานการณ์น่ากังวล – มีการชุมนุมประท้วง Black Live Matter จากกรณีการเสียชีวิตของจอร์จ ฟอยด์ และมีผู้ร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องมีการประกาศให้ผู้ร่วมชุมนุม รักษามาตรการการป้องกันโควิด-19

ปรับมาตรการบางอย่าง – มีการปรับให้ผู้ที่เดินทางเข้าอังกฤษต้องกักตัวเอง 14 วัน มีการออกกฎให้ประชาชนสวมหน้ากาก เมื่อขึ้นรถสาธารณะ, ใช้บริการร้านค้า หรือพื้นที่ในร่ม รวมถึงสวนสาธารณะ หากฝ่าฝืนมีการปรับสูงถึง 100 ปอนด์

ล็อกดาวน์เป็นรายจุด – แม้มีการผ่อนคลายแล้ว เมื่อมีการพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ มีการสั่งล็อกดาวน์เป็นรายพื้นที่ ห้ามการรวมกลุ่มกัน งดการพบปะเยี่ยมเยียนกัน


การระบาดระลอกที่ 2 ( กันยายน – พฤศจิกายน 2563)

KEY : มีการตัดสินใจใช้มาตรการเดิมที่ได้ผลเช่น การล็อกดาวน์ จำกัดกรเดินทาง สิ่งหนึ่งที่ต่างไปจากหลาย ๆ ประเด็นคือ “การระดมตรวจหาเชื้อ” ด้วยชุดตรวจที่จัดส่งให้ถึงบ้าน ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากนักวิชาการจำนวนมาก ถึงการแปรผลที่อาจจะผิดพลาด การเก็บตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง ฯลฯ และอาจจะทำให้เกิดปัญหามากกว่า แก้ปัญหา แต่รัฐบาลอังกฤษเลือกเดินหน้าต่อ

นอกจากนี้มีแผนการจัดหา จัดซื้อวัคซีนอย่างต่อเนื่อง โดยอังกฤษ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีแนวทางการจัดหาวัคซีนที่ตรงไปตรงมาอย่างมาก ทั้งในแง่ของจำนวนที่ล็อตแรกกว่า 300 ล้านโดส จากผู้ผลิตที่มีศักยภาพหลายราย ร่วมกับการค้นคว้า-วิจัยระหว่าง Oxford และ AstraZeneca

ผู้ป่วยสะสม
ราว 1.6 ล้านราย
(เพิ่ม 1.55 ล้านราย)

ผู้เสียชีวิตสะสม
ราว 6 หมื่นราย
(เพิ่มราว 2 หมื่นราย)

สถานการณ์

  • อัตราการพบผู้ป่วยเฉลี่ยตั้งแต่ 1-3 หมื่นรายต่อวัน
  • อัตราการเสียชีวิตลดต่ำลงอยู่ราววันละ 100-400 กว่าราย
  • จำนวนผู้ป่วยพุ่งสูงขึ้นอยากมาก และต่อเนื่อง
  • รายงานการค้นพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ เป็นครั้งแรก
  • ก.ย. 63 ถือเป็นช่วงเริ่มต้นของการระบาดหนัก
  • ต.ค. -ต้นเดือน พ.ย. 63 เป็นช่วงพีคของระลอกที่ 2 นี้ การพบผู้ป่วยรายใหม่อยู่ในระดับ 2-3 หมื่นรายต่อเนื่อง
  • ก่อนลดลงในช่วงปลายเดือน พ.ย. แต่ไม่มากนัก

ก.ย. เริ่มหนัก รวดเร็ว รุนแรง – หลังจากที่สถานการณ์ดีขึ้นมาระยะหนึ่ง ก็เกิดการระบาดพุ่งสูงขึ้นอย่างมากอีกครั้ง

ยกมาตรการเข้มงวด – หลังจากที่แนวโน้มการระบาดหนักขึ้น รัฐบาลอังกฤษมีการยกระดับมาตรการเข้มงวดมากขึ้นในการรักษาระยะห่าง โดยจำกัดการรวมกลุ่มไม่เกิน 6 คน ยกเว้นกรณีทำงาน-การเรียน

มีการให้ใช้แอพฯ ในการติดตามการเดินทาง-ใกล้ชิดกันระหว่างบุคคล, มีการบันทึกข้อมูลผู้ใช้บริการสถานที่ต่าง ๆ คล้ายคลึงกับระบบไทยชนะ, หมอชนะในไทย

ช่วงเดือน ต.ค. ที่มีการระบาดหนักขึ้น มีการสั่งปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ ห้ามการรวมกลุ่ม หรือพบปะกันเป็นกลุ่มก้อน, ล็อกดาวน์ครั้งที่ 2 ปิดการเรียนการสอนและในเดือน พ.ย. มีการสั่งล็อกดาวน์อีกครั้ง หลังจากการระบาดยังคงสูงต่อเนื่อง มีการสั่งปิดกิจการที่ไม่จำเป็น จำกัดการเดินทางระหว่างเขตต่างๆ

Operation Moonshot – เป็นโครงการเปิดตัวการตรวจทดสอบหาเชื้อโควิด-19 ครั้งใหญ่ในอังกฤษ โดยมีเป้าหมายตรวจให้ได้ 10 ล้านตัวอย่างต่อวัน เพื่อค้นหาผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด และนำเข้าสู่กระบวนการรักษา โดยไม่ให้ไปปะปนกับประชาชนทั่วไป และเปิดทางให้ผู้ที่ไม่ป่วยได้ออกมาใช้ชีวิตตามปรกติ โดย

  • ชุด Rapid test โดยการตรวจทางน้ำลายเพื่อหาเชื้อ โดยมีการส่งชุดตรวจไปให้ประชาชนถึงบ้าน
  • ตรวจค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในพื้นที่เสี่ยงสูง

โดยผู้ที่ได้รับชุดตรวจด้วยต้นเองจะเก็บตัวอย่างน้ำลาย และแพ็กใส่กล่องนำไปหย่อนไว้ที่ตู้ไปรษณีย์ที่กำหนดไว้ โดยมีเจ้าหน้าที่จะเก็บตัวอย่างนั้นไปตรวจ และแจ้งผลให้ทราบ

ชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ให้ประชาชนเก็บตัวอย่าง และส่งกลับไปให้รัฐตรวจหาเชื้อ
ตู้ไปรษณีที่ถูกใช้เป็น Priority Postbox
(ภาพ – Andy Mabbett)

ผลทดสอบวัคซีนได้ผลดี – หลังจากที่อังกฤษได้ลงทุนในการค้นคว้า-วิจัยวัคซีนในช่วงต้น ผลการทดสอบวัคซีน Oxford/Astrazeneca มีประสิทธิภาพดี ถือเป็นหนึ่งในแสงสว่างปลายอุโมงค์


การระบาดระลอกที่ 3 ( ธันวาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 )

KEY : เมื่อมีวัคซีน จงรีบใช้มัน ทำให้อังกฤษเป็นประเทศแรกในโลกที่ฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยง มีการอนุมัติวัคซีนของ Pfizer เป็นประเทศแรกในโลก ตามด้วยการอนุมัติวัคซีน AstraZeneca

นอกจากนี้ อังกฤษแสดงถึงความเด็ดขาดในการตัดสินใจอีกครั้งโดยการเลือกที่จะกระจายวัคซีนโดสแรกให้ได้มากที่สุด และยืดระยะเวลาการรับวัคซีนโดส 2 ออกไปให้นานที่สุดท้ายที่จะทำได้ เพื่อเน้นกระจายวัคซีนให้คนหมู่มากก่อน เพราะวัคซีนโดสแรกประสิทธิภาพดีเพียงพอที่จะลดการระบาดแล้ว

ผู้ป่วยสะสม
ราว 4.3 ล้านราย
(เพิ่ม 2.5 ล้านราย)

ผู้เสียชีวิตสะสม
ราว 1.26 แสนราย
(เพิ่มราว 6 หมื่นราย)

สถานการณ์

  • อัตราการพบผู้ป่วยเฉลี่ยตั้งแต่ 3.5 หมื่นรายต่อวัน (สูงสุด 7.7 หมื่นราย/วัน)
  • อัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยราว 700 ราย/วัน
  • เมื่อเช้าสู่ช่วงเดือนธ.ค. 63 แนวโน้มการพบผู้ป่วยรายใหม่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องแบบก้าวกระโดด จากที่ 1.5 หมื่นราย ไปสู่จุดสูงสุดคือ7.7 หมื่นรายในวันเดียว
  • ก่อนจะเริ่มลดลงในช่วงต้นเดินม.ค. 64
  • แนวโน้มการลดลงต่อเนื่องเรื่อยๆ และรวดเร็วกว่าในระลอกอื่น ๆ
  • ปลายเดือน ธ.ค. อังกฤษถูกขึ้นบัญชีห้ามเดินทาง จากหลายประเทศ จากรายงานการค้นพบเชื้อสายพันธุ์กลายพันธุ์อังกฤษและพบว่า สามารถระบาดได้เร็วแล้ว

ระบาดหนักสุด – สถานการณ์การระบาดหนักมากขึ้น และมีรายงานยืนยันการพบเชื้อสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ซึ่งมีความสามารถนการระบาดได้รวดเร็วกว่าปรกติ

อังกฤษประกาศอนุมัติวัคซีนประเทศแรกในโลก – อังกฤษได้ประกาศอนุมัติการใช้งานวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ Pfizer/BioNTech เป็นประเทศแรกในโลก และมีการส่งมอบวัคซีนล็อตแรก และตามตัวการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครั้งแรกของโลก ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ท่านั้น

ก่อนในช่วงปลายเดือน ธ.ค. มีการประกาศอนุมัติการใช้งานวัคซีนตัวที่สองคือ Oxford/AstraZeneca และถือว่ากลายเป็นหนึ่งจุดเปลี่ยนของการระบาดในอังกฤษ

กราฟการฉีดวัคซีนต่อวันของอังกฤษ จะเห็นการกระจายวัคเซีนเข็มแรกอย่างสม่ำเสมอ ยืดเข็มสองให้นานขึ้น

อังกฤษเลือกแนวทางในการฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด โดยตั้งเป้าการกระจายวัคซีนโดสแรกในกลุ่มเป้าหมายให้ได้ 15 ล้านโดสในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือน ก.พ. จากนั้นจึงค่อยกระจายในกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

ซึ่งเป็นการเน้นการได้รับวัคซีนโดสแรกให้ได้มากที่สุด เนื่องจากผลการทดสอบว่า วัคซีนเพียงโดสแรกก็มีประสิทธิภาพป้องกันโควิด-19 ลดการป่วยและการแพร่กระจายได้เพียงพอ

ยังต้องใช้มาตรการเดิม – แม้ว่าวัคซีนจะมาแล้วแต่ด้วยปริมาณจำกัดในช่วงเริ่มต้น ทำให้ต้องมีการประกาศยกระดับมาตรการอื่นๆ เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ รวมถึงการประกาศการล็อกดาวน์ครั้งที่ 3 ในช่วงวันที่ 5 ม.ค.


สถานการณ์ปัจจุบัน ( มีนาคม 2564 – ปัจจุบัน )

KEY : อังกฤษยังเดินหน้าในการจัดซื้อจัดหาวัคซีนอย่างต่อเนื่อง โดยในขณะนี้ มียอดสั่งวัคซีนแล้วกว่า 500 ล้านโดส ใน 8 บริษัทด้วยกัน การผ่อนคลายมาตรการเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเหมือนระลอกก่อนหน้านี้

ผู้ป่วยสะสม
ราว 4.45 ล้านราย
(เพิ่ม 2.2 แสนราย)

ผู้เสียชีวิตสะสม
ราว 1.26 แสนราย
(เพิ่มขึ้นราว 1 พันราย)

สถานการณ์

  • อัตราการพบผู้ป่วยเฉลี่ยราว 2500 ราย / วัน
  • อัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยราว 15 ราย/วัน
  • แนวโน้มการพบผู้ป่วยรายใหม่ลดลงต่อเนื่อง

กลับมาอีกครั้ง – สถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มดีขึ้น ทำให้มีการเปิดการเรียนการสอน โดยการผ่อนคลายมาตรการนั้น เป็นไปอย่างค่อย ๆ เป็นค่อยๆ ไป ในแต่ละธุรกิจ กิจการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ จนกระทั่งในช่วงเมษายน เริ่มกลับมาเปิดร้านอาหารให้สามารถบริการได้อีกครั้ง แม้ว่าในช่วงแรกจะเป็นการอนุญาตเฉพาะการนั่งทานบริเวณภายนอกร้านเท่านั้นก็ตาม

มีการผ่อนคลายให้มีการรวมกลุ่มขนาดเล็ก ไม่เกิน 6 คนได้

รวมถึงในเมืองอย่างลิเวอร์พูลมีการจัดงาน The First Dance เป็นเทศกาลดนตรีของเมือง ท่ามกลางมาตรการด้านสาธารณสุข และมีการติดตามผลผู้ที่มาร่วมงานเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการต่อไปในอนาคต หากจะผ่อนคลายมากขึ้นและให้ทุกคนใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปรกติมากที่สุด