ข่าวต่างประเทศ เพลงประท้วง เมียนมา

“กะบามะเจบู” บทเพลงแห่งการเรียกร้องประชาธิปไตย ของชาวเมียนมา

บทเพลงในอดีตกลับมากึกก้องในการเรียกร้องประชาธิบไตยในเมียนมาอีกครั้ง

Home / TELL / “กะบามะเจบู” บทเพลงแห่งการเรียกร้องประชาธิปไตย ของชาวเมียนมา

เพลง ကမ္ဘာမကြေဘူး หรือ “กะบามะเจบู” กลับมาเป็นกระแสในเมียนมาอีกครั้ง หลังรัฐบาลเมียนมาทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ที่ผ่านมา โดยเมื่อคืนวันที่ 3 ก.พ. ชาวเมียนมานอกจากนัดรวมตัวกันเคาะหม้อ-กะละมัง ส่งเสียงดังแล้ว ยังได้นัดกันร้องเพลง กะบามะเจบู นี้อีกครั้ง

และในวันนี้ ในการรวมตัวแสดงออกถึงการไม่เห็นด้วยในการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา ทำให้เพลง กะบามะเจบู เริ่มกลับมาให้ชาวเมียนมาได้ยินอีกครั้ง ท่ามกลางรอยแผลแห่งประชาธิปไตยในเมียนมา

ก่อนเกิดเหตุการณ์ประท้วง 8888 Uprising

เมียนมา หรือ พม่าในขณะนั้น เพิ่งได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อ 4 ม.ค. 2491 ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีก่อนหน้า พม่าตกตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ผ่านการผนวกเข้ากับอินเดีย ในปีพ.ศ. 2429 ก่อนที่จะเริ่มมีการเรียกร้องขอสิทธิในการปกครองตนเองในปีพ.ศ. 2473

และตามมาด้วยความวุ่นวายจากสถานการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงราวปี พ.ศ. 2485 โดยมีกลุ่มนักศึกษาที่มีแนวคิดชาตินิยม นำโดย นายอู อองซาน บิดาของนางอองซาน ซูจี) ที่เข้าร่วมกับญี่ปุ่นในต่อต้านกับรัฐบาลอังกฤษ โดยมุ่งหวังให้พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ผ่านการสนับสนุนของญี่ปุ่น

ภาพทหารญี่ปุ่น มีเมียนมา เมื่อปี ค.ศ. 1942
(ที่มา – Mainichi Newspaper Company – public domain in Japan)

แต่สถานการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อญี่ปุ่นกลับยึดครองพม่าไว้เสียเอง ทำให้นายอู อองซานต้องกลุ่มใหม่อีกครั้งเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น หลังจากญี่ปุ่นแพ้สงคราม อังกฤษกลับมาปกครองพม่าอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้สถานการณ์ไม่เป็นเหมือนเดิม เมื่อกระแสการเรียกร้องเอกราชของชาวเมียนมารุนแรงอย่างมาก และในเดือน มิ.ย. พ.ศ. 2490 นายอู อองซาน ถูกลอบสังหาร พร้อมกับสมาชิกสภาอีก 6 ราย ระหว่างการประชุมสภา โดยมีประเด็นในเรื่องของการ และพม่าได้รับเอกราชในวันที่ 4 ม.ค. 2491

8888 Uprising

หลังจากที่เมียนมา ได้รับเอกราชเป็นของตัวเอง กระแสของความเป็นชาตินิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มทหารได้รับการสนับสนุนมากขึ้น แม้ว่าพม่าในขณะนั้นจะพยายามเดินตามรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพรรค AFPFL ของนายอู อองซาน เป็นผู้นำพรรค มีนายอู นุ เป็นนายกฯ คนแรก แต่ปัญหาชาติพันธุ์และชนกลุ่มต่าง ๆ ในเมียนมาทำให้เกิดปัญหาหลาย ๆ อย่างจนกลายเป็นความอ่อนแอของรัฐบาลในขณะนั้น และนำไปสู่การที่ให้กองทัพเข้ามามีบทบาทในการจัดการปัญหาชนกลุ่มน้อย

กระแสความรักชาติ ชาตินิยม รวมถึงกองทัพ ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนปี พ.ศ. 2501 มีการจัดตั้งรัฐบาลทหารเพื่อรักษาการ โดยให้นายพลเน วิน เป็นนายกฯ และพยายามนำประชาธิปไตยกลับมา โดยมีการจัดการเลือกตั้ง และนายอู นุได้นั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ดูเหมือนประชาธิปไตยจะแก้ไขปัญหาได้ไม่ทันใจ นายพลเน วิน จึงเข้ายึดอำนาจ จัดตั้งสภาปฏิวัติ และเมียนมาตกอยู่ในการปกครองของเผด็จการทหาร

โดยแนวทางนโยบายของนายพลเน วิน นั้นทำให้ทหารได้เข้ามามีบทบาทต่าง ๆ มากขึ้นในกิจการใหญ่ ทั้งของรัฐ-เอกชน และมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังมีการใช้นโยบายโดดเดี่ยวประเทศ ไม่ติดต่อกับประเทศใด มีการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ อย่างเข้มงวด ตามแนวทางสังคมนิยม นำไปสู่วิกฤติของประเทศเมียนมาในหลายๆ ด้าน นำไปสู่ความไม่พอใจของประชาชน

และการประท้วงครั้งใหญ่ เมื่อ 8 ส.ค. 1988 หรือรู้จักกันในชื่อที่ชาวต่างชาติเรียกกันคือ 8888 Uprising โดยที่มาของ 8888 มาจาก วันที่ 8 เดือน 8 ปี 1988 นั่นเอง ส่วนชาวเมียนมา จะเรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า ၈ လေးလုံး หรือ ชิ เลโลน

ในเหตุการณ์ 8888 นั้นเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มนักศึกษา ประชาชน รวมถึงพระสงฆ์ ออกมารวมตัวกันประท้วง เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย จากนายพลเน วิน โดยมีนายอู นุ และ นางอองซาน ซูจี เข้าร่วมเป็นแกนนำในครั้งนีด้วย

กระแสกดดันที่เกิดขึ้น ทำให้นายพลเน วิน และคณะยอมลงจากอำนาจ แต่สถานการณ์กลับไม่ได้เป็นชัยชนะของฝ่ายผู้ประท้วง เมื่อนายพลซอ หม่องเข้ายึดอำนาจ และเดินหน้ามาตรการปราบปรามผู้ประท้วง ซึ่งการเข้ามาของนายพลซอ หม่องนั้น หลายฝ่ายคาดว่า นายพลเน วิน ยังคงอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์

เพลงกะบามะเจบู หรือ ကမ္ဘာမကြေဘူး

เพลง ကမ္ဘာမကြေဘူး (กะบามะเจบู) ถือกำเนิดขึ้นในช่วงของการประท้วง 8888 ในเมียนมา โดยหากแปลชื่อภาษาเมียนมา เป็นไทยมีความหมายว่า “โลกไม่ดับสูญ” ซึ่งชาวเมียนมาต้องการสื่อความหมายถึงการไม่ยอมแพ้จนกว่าโลกจะสิ้นสุดลง

โดยทำนองเพลงนั้น ใช้ทำนองเพลง Dust in The Wind ของวง Kansas ซึ่งกล่าวถึงชีวิตของคนเป็นเช่นเดียวกับฝุ่นในสายลมพัดมาแล้วผ่านไป

ชาวเมียนมาได้นำทำนองของ Dust In the wind มาใส่คำร้องใหม่ โดยแปลเนื้อร้องจาภาษาเมียนมาเป็น อังกฤษ / ไทย ได้ดังนี้

We shall not surrender until the end of the world
เราจะไม่ยอมจำนนจนกว่าโลกนี้จะดับสูญ

For the sake of history written with our blood
แต่ประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกด้วยเลือด

Revolution
การปฏิวัติ

For the sake of the fallen heroes who fought for democracy
แต่เหล่าวีรบุรุษนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ต้องล้มตายลงไป

Oh our dearest heroes
โอ้.. วีรบุรุษที่รักของเรา

The nation where martyrs reside
แผ่นดินที่ผู้เสียสละอาศัยอยู่

( ร้องซ้ำ )

Boldest people of Myanmar
ประชาชนผู้กล้าแห่งเมียนมา

Thakhin Ko TaW Mhine, The history has gone wildly wrong, Grandpa
กอ ตอว์ มาย, ประวัติศาสตร์ที่ผิดเพี้ยนอย่างมาก คุณปู่

(กอ ตอว์ มาย เป็นชื่อของหนึ่งในนักเคลื่อนไหว เรียกร้องสันติในเมียนมา จึงมีนัยยะเหมือต้องการเล่าให้คนที่จากไปฟังว่า ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงหลังคือสิ่งที่ไม่ดี)

Thakhin Aung San, The country has shed its blood, Father
ออง ซาน, ประเทศนี้ถูกละเลงไปด้วยเลือด, คุณพ่อ
(ออง ซาน ที่ชาวเมียนมาระบุว่าเป็นผู้นำประชาธิปไตยสู่เมียนมา, สื่อ/เล่าให้ผู้ล่วงลับได้ฟังว่า มีผู้เสียชีวิตจากการเรียกร้องไปอย่างมาก ถนนเต็มไปด้วยเลือด)

Oh why could they commit such malice
ทำไมพวกเขาถึงทำสิ่งที่เลวร้ายเช่นนี้

The corpse of our people on Pay Ta Ya Road prove it all
ศพของประชาชนเกลื่อนเต็มถนน Pay Ta Ya

( ร้องซ้ำ )

They are collapsing on the road
พวกเขาเหล่านั้นล้มลง (เสียชีวิต) บนถนน

ซึ่งเนื้อเพลงกล่าวถึงการปราบปรามนักศึกษา ประชาชน ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ประท้วงเมื่อปี 1988 ในมาตรการช่วยเหลือ ผู้ประกันตน ม.33เมียนมา เนื่องจากมีการห้ามชุมนุมโดยเด็ดขาด และทางรัฐบาลเมียนมาในขณะนั้นเลือกใช้วิธีการปราบปราม ในการควบคุมการประท้วง โดยไม่ได้ใช้วิธีทางกฎหมายแต่อย่างใด