3 ขั้นตอน เตรียมวัยแก่ ให้เป็นวัยเก๋ากับ กอช.

โควิด-19 ที่กลับมา ทำให้ว่าเราหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันไม่ได้เลย แต่ยังไม่สายเกินไปที่เราจะเริ่มวางแผนการทางการเงินเพื่อไว้ใช้ในอนาคต

Home / TELL / 3 ขั้นตอน เตรียมวัยแก่ ให้เป็นวัยเก๋ากับ กอช.

เมื่อพูดถึงคำว่า “วัยเกษียณ” น้องๆ หนูๆ อาจจะฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่หากพูดถึงการออมเงินเพื่อไว้ใช้ในวัยเกษียณ กลายเป็นเรื่องไกลที่ใกล้ตัวเราขึ้นมาทุกที โดยเฉพาะในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่กลับมาอีกครั้งปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าเราหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน และเหตุการณ์ฉุกเฉินไม่ได้เลย ยังไม่สายเกินไป ที่เราจะเริ่มวางแผนการทางการเงินเพื่อไว้ใช้ในอนาคต

ตระหนก…ถึงค่าใช้จ่ายยามเกษียณ

ก่อนจะเริ่มคำนวณเราต้องกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า เราจะทำงานอีกกี่ปีถึงจะเกษียณ เช่น ตอนนี้เราอายุ 30 ปี จะเกษียณอายุตอน 55 ปี เท่ากับว่าเราจะมีเวลาหาเงินอีก 25 ปี และสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือ เราต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ที่จะเพียงพอในแต่ละเดือนและในแต่ละปี โดยอันดับแรกเริ่มจากคิดว่าในแต่ละเดือนจะต้องมีเงินเท่าไหร่จึงจะเพียงพอต่อการกินใช้ ไปเที่ยว ไปทำบุญ ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ในแต่ละเดือนอีกด้วย เช่น ถ้าคิดว่า 30,000 บาท เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ดังนั้น 1 ปี เราจะต้องมีเงินออม 360,000 บาท และถ้าในแต่ละปีต้องจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพปีละ 30,000 บาท ประกันชีวิตปีละ 20,000 บาท เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายรายปีจะเท่ากับ 410,000 บาท

เมื่อได้ค่าใช้จ่ายรายปีแล้ว เรามาคำนวนเงินที่เราต้องเก็บให้ได้ใน 1 ปีกัน

https://lh6.googleusercontent.com/L3v178xBop5CPCJ4qSFqTGNtkleWtUAK7lfMDg3MOGVt5INuUU5bikOx0hH8FXr4Ui3jtTzEIOKluDfoXs4LJFLWslrOXpGyS3jFJEDT0tw2Qs1ZeDd3PYQBpfDkpx8lWjvtdfi0
(อ้างอิงสูตรคำนวณจากเว็บไซต์ธนาคารทหารไทย www.tmbbank.com/balance-by-tmb/money/balance-retirement-money.html )

จากตัวอย่างนี้ เท่ากับว่าเราต้องเก็บเงินตั้งแต่ตอนนี้ให้ได้ปีละ 328,000 บาทต่อปี หรือประมาณเดือนละ 27,333 บาทนั่นเอง

ตระหนัก…เงินออมที่ยังขาดอยู่

อ่านมาถึงข้อนี้แล้ว ทุกคนคงกำลังคิดว่าตัวเลขจำนวนเงินที่เราต้องออมมันสูงเหลือเกิน ถึงบอกว่าการออมเงินเพื่อนวัยเกษียณไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเราเลย สมมติว่าเราได้รับเงินเดือน 2 หมื่นบาท สิ่งแรกที่ควรทำให้เป็นนิสัย คือ “เก็บก่อนใช้” โดยแบ่งส่วนหนึ่งของรายได้มาออม อาจจะเริ่มที่ 10% หรือ 20% ของรายได้นั่นคือ 2,000 หรือ 4,000 บาท ขาดอีก 25,000 หรือ 23,000 บาท ต้องมาวางแผนการออมเพิ่ม ไปดูช่องทางการหารายได้เพิ่มในข้อต่อไปกันเลย

ตระหนี่…ใช้จ่ายอย่างระวังและวางแผนการออมเงิน

ปัจจุบัน สถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่กำลังจะกลับมาอีกครั้ง แสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ไม่คาดคิด เกิดขึ้นกับเราได้เสมอ เราควรมีการรัดเข็มขัดและตระหนี่ในการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นให้มากขึ้น  ฉะนั้นเราจึงต้องมีการวางแผนการเงินที่รัดกุม ควบคู่ไปกับการยึดหลักความพอเพียง นั่นคือ การลด ละ ใช้จ่ายสิ่งของที่ไม่จำเป็น มีการวางแผนการใช้เงินและการออมเงินอย่างพอประมาณ พอดี และ รวมถึงฝึกวินัยการออมให้เป็นนิสัย โดยอาจจะเริ่มออมง่ายๆ อย่างการออมเงินกับ กองทุนการออมเงินแห่งชาติ (กอช.) ออมขั้นต่ำ 50 บาท ได้รับเงินสมทบเพิ่มจากรัฐบาลสูงสุด 100% ตามช่วงอายุ เป็นการออมเงินที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่จำเป็นต้องส่งเงินออมสะสมในทุกๆ เดือน มีมากออมมาก มีน้อยออมน้อย เดือนไหนไม่มีก็หยุดออมได้ ไม่เสียสิทธิ์การเป็นสมาชิก ซึ่งเมื่อผู้สมัครอายุครบ 60 ปี ก็จะได้เงินออมกลับคืนมาในรูปแบบเงินบำนาญเป็นรายเดือนพร้อมกับเงินสมทบจากรัฐบาล ไว้ใช้ยามเกษียณได้อย่างสบายๆ

เพียงคุณมีอายุระหว่าง 15 – 60 ปี  ไม่ว่าจะเป็นแรงงานนอกระบบ ประกอบอาชีพอิสระ นักเรียน นิสิตและนักศึกษา สามารถสมัครสมาชิก และส่งเงินออมสะสมกับ กอช. พร้อมรับเงินสมทบจากรัฐบาลสูงสุด 100% ตามช่วงอายุ และยังได้รับสิทธิประโยชน์ 3 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 เงินบำนาญไว้ใช้ในยามเกษียณ ต่อที่ 2 รัฐค้ำประกันผลตอบแทนการลงทุน และต่อที่ 3 ใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีเต็มจำนวนเงินสะสมต่อปี

สนใจรีบเช็กสิทธิ์และสมัครเป็นสมาชิกได้ที่แอปพลิเคชัน กอช. ด่วน !! สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนเงินออม 02-049-9000 ในวันและเวลาทำการ